กรมสุขภาพจิต หวั่นคิดต่างการเมือง เพิ่มความรุนแรงในสังคม แนะแยกแยะ คุมอารมณ์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จิตแพทย์ ชี้ปัจจุบันสังคมไทย ค่อนข้างมีความเครียดสะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง หรือ เรื่องส่วนตัวในครอบครัว แต่สิ่งที่ทุกคนควรมี คือ สติ ในการแยกแยะ ควบคุมตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดอารมณ์ชั่ววูบ

32 ส.ส.รัฐบาล รอดถือหุ้นสื่อ ศาลรธน.ฟัน “ธัญญ์วาริน” พรรคก้าวไกล สิ้นสภาพ ต้องเรียกคืนเงินเดือน

ลอยกระทงวิถีใหม่ 1 ครอบครัว 1 หน่วยงาน 1กระทง ใช้วัสดุธรรมชาติ "บิ๊กตู่" ลอยคลองผดุงฯ ศุกร์นี้

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าประชาชนมีความเครียดกันมากขึ้น ซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่มีเรื่องการเมืองรุนแรง การเสพข่าว หรือ ดูสื่อที่มีความรุนแรง มากเกินไป จะทำให้เกิดความเครียดสะสมไม่รู้ตัว บางคน มีอารมณ์ร่วมด้วย ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง และแสดงออกไปแบบไม่รู้ตัว จากกรณีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ่งที่น่ากังวล คือ ความเชื่อส่วนตัว หรือ การที่เราคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้อง อาจทำให้เราไป ตัดสินคนอื่น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การเคารพสิทธิกันและกัน คือเรื่องที่ควรทำ แต่ขณะนั้นมองว่าผู้ก่อเหตุ อาจจะมีความเครียดในเรื่องใดเรื่องนึง เมื่อมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ก่อเหตุขึ้นได้ง่าย ส่วนเรื่องที่เด็กจะฝังใจหรือไม่นั้น เชื่อว่า เด็กจะแยกแยะได้ เพราะค่อนข้างโตแล้ว รับรู้สถานการณ์ แต่ครอบครัว ก็อาจยังคงต้องดูแลใกล้ชิดในช่วงแรก

สำหรับ การควบคุมอารมณ์ และ การแสดงออกที่ไม่ให้ขยายวงกว้างความรุนแรงออกไปมากกว่านี้ คือ เราทุกคนจะต้องมี สติ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม จะช่วยลดลงไปได้ดีขึ้น มีสติ ในการเสพสื่อ มีสติ ในการรับข้อมูลข่าวสาร ตัดสินใจ คิด วิเคราะห์ แยกแยะให้มากขึ้น

ทั้งนี้นอกเหนือจากการตัดสินใจเข้าไปทำร้ายผู้อื่น เพราะมีความเห็นที่แตกต่างกัน อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นานเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อการทำร้ายตัวเองด้วยเช่นกันโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากเริ่มมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้น ๆ อาจจะต้องหยุดพัก ทบทวนตัวเองก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เช่น ถ้ามีความเครียดจากข่าวการเมือง ก็ขอให้หยุดเสพข่าวชั่วคราว

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ