" ซื้อไม่ง่าย ขายไม่คล่อง " เศรษฐกิจทรุดสั่นคลอนครม. (คลิป)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




​ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ประชาชนสัมผัสได้ รู้สึกได้ในขณะนี้ แต่นอกเหนือไปจากความรู้สึก คือ "ตัวเลข" ซึ่งตัวเลขที่สำคัญคือ "การส่งออก" ซึ่งมีความสำคัญเป็นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งตลอด 2 ปี หลัง มีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทำให้สินค้าเกษตรปรับตัวลดลงไปด้วยรายได้จากการส่งออกจึงลดลง

ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ประชาชนสัมผัสได้ รู้สึกได้ในขณะนี้ แต่นอกเหนือไปจากความรู้สึก คือ "ตัวเลข" ซึ่งตัวเลขที่สำคัญคือ "การส่งออก" ซึ่งมีความสำคัญเป็นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งตลอด 2 ปี หลัง มีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทำให้สินค้าเกษตรปรับตัวลดลงไปด้วยรายได้จากการส่งออกจึงลดลง

เมื่อดูจากตัวเลข เราจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกของไทย มีตัวเลขที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปี 2555 จนมาลดลงตั้งแต่ ปี 2556 – 2557 ประมาณปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าคิดเป็นอัตราการเติบโตพบว่า มีอัตราลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนมาติดลบใน 2 ปีที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยวันนี้ว่า การส่งออกของไทย ช่วงครึ่งปีแรกตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน มีมูลค่า 106,856 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบร้อยละ 4.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกที่ลดลงเช่นนี้ เกิดจากการส่งออกรถยนต์ และส่วนประกอบรถยนต์ที่ลดลงจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ขณะเดียวกันสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน มีมูลค่าการส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน

ส่วนสินค้าการเกษตรมีมูลค่าส่งออกลดลงเช่นเดียวกัน ตามราคาในตลาดโลก โดยเฉพาะยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของไทย เดือนนี้ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ราคายาพารายังคงอยู่ในระดับต่ำ

จะเห็นว่า แม้ปริมาณการส่งออกไม่ลดลง แต่สินค้าเกษตรมีราคาต่ำ ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลง

ตั้งแต่ปี 2555 ถึง เดือน มิถุนายน ปีนี้ รายได้เกษตรกร ติดลบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาติดลบ 10.6% หมายความว่าถ้าในปีที่แล้วเกษตรกรมีรายได้ 10,000 บาท ปีนี้จะมีรายได้แค่ 8,940 บาท หรือลดลง 1,060 บาท

รายได้เกษตรกรที่ติดลบมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงโดยเฉพาะราคาข้าวและยางพารา รวมทั้งปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นก็ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ทำให้รายได้ของเกษตรกรที่ลดลง

คงต้องยอมรับว่าสถานการณ์รายได้เกษตรกรในขณะนี้อยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง และยังคงมีความไม่แน่นอน จากแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน และปริมาณผลผลิตที่ลดลงจากปัญหาแล้ง

ในขณะที่เกษตรกรมีรายได้ลดลง แต่ค่าครองชีพ และราคาปัจจัยการผลิต ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สูงขึ้น ทำให้รายได้และรายจ่ายไม่สัมพันธ์กัน จึงมีปัญหาหนี้ตามมา

จากกราฟฟิกนี้จะชัดเจนว่าหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 8.77 ล้านล้านบาทในปี 2555 เป็น 10.22 ล้านล้านบาท ในไตรมาส 3ปี 2557 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 1.45 ล้านล้านบาทในช่วง 2 ปี

หนี้ครัวเรือนทั้งประเทศ 10.22 ล้านล้านบาทในปี 2557 นั้น ถ้าแยกย่อยออกมาจะพบว่าเกษตรกรแต่ละครอบครัวจะมีหนี้สินเฉลี่ย 187,000 บาท ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2558 เกษตรกรจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกครอบครัวละละ 1 หมื่นบาท นั่นหมายความว่าหนี้สินเกษตรกรจะเพิ่มจาก187,000 บาท เป็น 197,000 บาท แต่ถ้าสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนภาคเกษตรเพิ่มสูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ มองว่าปัญหาเศรษฐกิจในขณะนี้ มีทั้งปัญหาระยะยาวและปัญหาระยะสั้น

ซึ่งปัญหาระยะยาวนั้นเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจากการที่ประเทศไม่ได้ลงทุนมานานทำให้สินค้าส่งออกของเราไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ส่วนปัญหาระยะสั้นเกิดจากกำลังซื้อที่ลดลจากการยกเลิกโครงการประชานิยม ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง ซึ่งคาดว่าในอีก 12 เดือนนับจากนี้เกษตรกรจะมีปัญหากำลังซื้อมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้า ด้วยการอัดฉีดเงินลงไปในระบบให้มากขึ้น แต่ที่ผ่านมาคนที่ดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความหวาดระแวงเกินไปว่าการอัดฉีดเงินลงไปในระบบรากหญ้านั้นจะเป็นนโยบายประชานิยม

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ