"โคมลอย" ภัยร้ายสายการบิน? (คลิป)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Big story ปัจจุบันการปล่อยโคมลอย กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว และประชาชนในภาคเหนือ และเริ่มแพร่หลายในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี จากสถิติในปี 2557 มีการปล่อยโคมลอยมากกว่า 12,000 โคม ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อการบิน และอากาศยาน รวมถึงการเกิดกระแสไฟฟ้าดับในวงกว้าง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยโคมลอยที่ไม่ได้มาตรฐาน

ตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เลขที่ 808/2552 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการผลิตโคมลอย คือตัวโคมต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 90 เซนติเมตร ความสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตรใช้กระดาษว่าวชนิดบาง หากต้องใช้ลวดโลหะสำหรับผูกติดเชื้อเพลิงให้ใช้ลวดอ่อนที่มีความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตรต่อเส้น และต้องพิมพ์คำเตือนในฉลากด้วยข้อความว่า "ห้ามพ่วงหรือผูกติดพลุ ดอกไม้ไฟ หรือสิ่งอื่นใดไปกับโคมขณะปล่อย" รวมถึงกำหนดเชื้อเพลิงที่ใช้ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมไม่เหลือการลุกไหม้เมื่อตกค้างลงสู่พื้นดิน และต้องไม่ลอยสูงเกินไปจนอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการบินของอากาศยานต่าง ๆ

แต่ปัจจุบัน โคมลอย มักมีขนาดใหญ่ เกินมาตรฐานที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กำหนด เนื่องจากความเชื่อที่ว่า โคมลอยยิ่งลอยสูง ลอยนาน ยิ่งดี ยิ่งได้บุญ นอกจากขนาดที่เกินมาตรฐานแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ เชื้อเพลิงที่ใช้มากเกินความจำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบิน เสี่ยงต่อการก่อให้เกิดเพลิงไหม้และที่สำคัญ ยิ่งโคมลอยขนาดใหญ่ปล่อยพร้อมกันมากๆ ควันและกลิ่นจากเชื้อเพลิงที่ใช้ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนใกล้เคียงและสร้างความรำคาญได้ "ซึ่งถือเป็นเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติ สาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 25 วรรค 4การกระทำใดๆอันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ" ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุนั้นได้ทันที ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เพียง 2 รายเท่านั้น ซึ่งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

ผลกระทบโคมลอยต่อการบิน

ปัจจุบันผู้ผลิตโคมลอย ได้เพิ่มปริมาณเชื้อเพลิงที่ผูกติดกับตัวโคมลอย เพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้สูงและนานขึ้น แต่หารู้ไม่ ว่าผลกระทบที่ตามมา ของโคมลอย ในขณะที่ล่องลอยสู่ท้องฟ้าตามกระแสลมจะพัดพาไป อย่างไร้จุดหมาย อาจไปชนกับเครื่องบินที่บินอยู่บนท้องฟ้าตาม เส้นทางการบินและอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตคน ในเครื่องบินได้

โคมลอย ถือเป็น อันตรายที่คาดไม่ถึงต่อการเดินอากาศของประเทศ ระดับเพดานบินของเครื่องบิน ตั้งแต่ เฮลิคอปเตอร์ ไปจนถึงเครื่องบินสมรรถนะสูง จะเริ่มต้นที่ความสูง 200ฟุต ไปจนถึง60,000 ฟุต ซึ่งมีรายงานจากนักบินว่า เคยพบเห็น โคมลอย ขณะทำการบินในระดับ ความสูง 20,000 ฟุต (ประมาณ 6,000 เมตร) ซึ่งเป็นระดับที่สูงมาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงต่ออากาศยาน เนื่องจากเป็น ระดับเพดานบินของเครื่องบินโดยสารทั่วไป

เมื่อโคมลอย ลอยได้สูงถึงระดับเพดานบิน ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบิน ซึ่งได้รับการยืนยันจากนักบินและผู้เกี่ยวข้องว่า เครื่องบิน สามารถระเบิดได้ทันที หากโคมลอยเหล่านี้ เข้าไปติดที่ส่วนปีก ส่วนหาง และเครื่องยนต์ นี่คือภัยอันตรายที่หลายๆ คนมองข้าม

หากโคมลอยเข้าไปสร้างความเสียหายต่อการบิน ก็จะมีความผิดตาม // พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521  //พระราชบัญญัติดินอากาศ พ.ศ. 2497 //โดยโคมลอย ที่มีปริมามาตรเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร การปล่อยต้องได้รับอนุญาตตามที่รัฐมนตรีกำหนด นอกจากนี้หากก่อให้เกิดเพลิงไหม้ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ก็จะมีความผิด ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ด้วย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ