ทนายความแนะ ป้องกันตัวแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีวิศวกร ใช้ปืนยิงวัยรุ่นเสียชีวิตบริเวณสามแยกหน้าครกใหญ่ ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ล่าสุดอัยการจังหวัดชลบุรี สั่งฟ้องวิศวกรในข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” ส่วนคู่กรณีโดนข้อหา “ร่วมกันต่อสู้และทำร้ายร่างกาย” ซึ่งทางวิศวกรเองมองว่าสิ่งที่เขาทำนั้นทำไปเพื่อป้องกันครอบครัวของตนเอง จากกรณีนี้เรามาดูกันว่า ป้องกันตัวแบบไหนถึงไม่ผิดกฎหมาย? และการพกพาอาวุธปืนอย่างไรถือว่าผิดกฎหมาย

การพกปืนที่ถือว่าไม่ผิดกฎหมายมี 3 ลักษณะคือ

1. เป็นอาวุธปืนของตนเองและได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย

กรณีปืนเถื่อน คือ ปืนไม่มีทะเบียน มีโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท กรณีปืนผิดมือ คือ ปืนมีทะเบียน (ทะเบียนจะออกให้ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ) แต่อยู่ในความครอบครองของคนอื่น มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท

2. ต้องมีใบพกพาทั่วราชอาณาจักร หรือในเขตจังหวัด ซึ่งผู้ที่จะมีใบนี้ได้ต้อง

เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการตั้งแต่ หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือการปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย

3. พกได้โดยมีข้อยกเว้นตามกฎหมายที่กำหนด

ในกรณีที่มีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เช่น ถือปืนติดตามคนร้าย หรือไฟไหม้บ้านต้องขนของและปีนหนีออกจากบ้าน หรือต้องพกปืนเพื่อป้องกันตัว เพราะนำเงินจำนวนมากติดตัวไปต่างจังหวัด เป็นต้น

แต่ถึงแม้ว่าจะมีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม ยังมีข้อห้ามที่ต้องปฏิบัตินั่นก็คือ การพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยเป็นที่ปรากฏต่อสายตา โดยไม่จำกัดว่าเป็นเวลาและสถานที่ใดก็เป็นการผิดกฎหมาย รวมถึงการพาอาวุธปืนไปในที่ชุมนุมชนที่มีลักษณะพิเศษ อันได้แก่ พาไปในชุมชนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อมนัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด แม้จะพกมิดชิดก็ตาม ย่อมผิดกฎหมาย


ป้องกันตัวแบบไหนถึงไม่ผิดกฎหมาย?

ในทางของกฎหมายได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า หากจะต้องทำสิ่งใด เพื่อป้องกันสิทธิของตัวเอง หรือคนอื่น ให้รอดพ้นจากอันตรายจากการถูกคนอื่นทำร้ายโดยผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายที่ใกล้จะเกิดขึ้น ถ้าได้ทำโดยสมควรแก่เหตุการณ์นั้น สิ่งที่ทำไปนั้น เป็นการป้องกันตัวเองโดยชอบด้วยกฎหมาย  คนทำไม่มีความผิด

ในฐานะนักกฎหมายนายนิวัติ แก้วล้วน อดีตเลขาธิการสภาทนายความ ให้ความเห็นว่า เราทุกคนมีสิทธิ์ป้องกันตัวโดยไม่ผิดกฎหมาย ถ้ายึดตามหลักกฎหมายง่ายๆ ดังนี้ “หลักกฎหมายง่ายๆ โดยไม่ต้องอ้างมาตราคือ เมื่อมีภัยถึงตัว ภัยถึงทรัพย์สิน หรือภัยถึงบุคคลที่อยู่ในความดูแลของเรา หรือภัยต่อบุคคลใดก็ตาม ถ้าสามารถป้องกันได้ เราควรป้องกัน แต่การป้องกันนั้นต้องสมควรแก่เหตุ ซึ่งถ้าเป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ กฎหมายถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเกินกว่าเหตุ ศาลจะลงโทษตามสมควร หลักการง่ายๆ มีแค่นี้”

แบบไหนที่สมควรแก่เหตุ? หรือแบบไหนที่เกินกว่าเหตุ? ทนายนิวัติ ยกตัวอย่างว่าที่ให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า “ที่มีข่าวบ่อยๆ ที่เขาชอบเอาสายไฟไปล้อมรั้ว แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า พอมีขโมยเข้ามา แล้วโดนไฟช็อตตาย แบบนี้เกินกว่าเหตุแน่นอน หรือกรณีสมควรแก่เหตุ สมมติว่าเราถูกจี้ แล้วเขาทำร้ายร่างกายเรา เราไม่มีทางสู้ เราหยิบอาวุธอะไรขึ้นมาก็ตามเพื่อทำการป้องกันตัวไป ถ้าเป็นปืนก็ควรจะยิงแค่นัดเดียว ไม่เกิน 2 นัด หรือไม่ได้ยิงส่วนสำคัญของร่างกายเขา อย่างนี้ก็จะเป็นการป้องกันที่สมควรแก่เหตุ

AFP

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ