เรื่องราวของพ่อ “กษัตริย์นักพัฒนา” ในหลวงรัชกาลที่ 9


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันนี้ของปีที่แล้วหัวใจของคนไทยทุกคนต่างมีความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจไม่แพ้กัน แต่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเพียงใด พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ยังอยู่ในหัวใจของพสกนิกรไม่จากไปไหน และนี่คือเรื่องราวของพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย กับการทรงงานอย่างหนักตลอด 70 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ ที่เชื่อว่าคนไทยยังจำไม่เคยลืม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลา 08.45 น. ตรงกับเวลา 20.45 น.ในประเทศไทย ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระโอรสพระองค์เล็ก ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทานพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช มีความหมายว่า “พลังของแผ่นดิน” มีสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชและสมเด็จ พระโสทรเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8

สำหรับการศึกษาทรงศึกษาระดับอนุบาลกับครูมิสซิสเดวีส ซึ่งเปิดสอน ที่บ้าน เมื่อพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี ไปประทับ ณ เมือง โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรงเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน จากนั้นทรงย้ายมาศึกษา ต่อชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอลา สวิส โรม็องด์ เมองไชยี ซร์ โลซานน์ หลังทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากยิมนาส กลาซีค กังโตนาล เมืองโลซานน์ แล้ว ทรงเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในแขนง วิชาวิทยาศาสตร์

 

เสด็จขึ้นครองราชย์

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต ณ พระที่นงบรมพิมาน คณะรัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ขณะนั้นมีพระชนมายุ 18 พรรษาเศษ เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้ง คณะผู้สำเร็จราชการเพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรง พระเยาว์และยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ พระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ณ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์เช่นเดิม แต่ครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชา รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่

 ทรงหมั้น

ระหว่างประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้า นักขัตรมงคล กิติยากร และหม่อมหลวงบัว กิติยากร ในวันที่  12  สิงหาคม  พ.ศ.  2492  ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศข่าวทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ทรงอภิเษกสมรส

พ.ศ. 2493 เสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระ ราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ  พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ  ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครอง ราชอาณาจักรโดยทศพิธราชธรรม ขณะประทับเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ในโอกาสนี้ ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น “สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินี”

วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อม ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี กลับไป สวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อรักษาพระพลานนามัยตามที่ คณะแพทย์ถวายคำแนะนำ  และเสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นการถาวรเมื่อวันที่  2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน

พระราชโอรส พระราชธิดา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนา  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

ทรงพระผนวช

วันที่ 22 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร  และปฏิบัติพระศาสนกิจเป็นเวลา 15 วัน  ระหว่างนั้น  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจแทนพระองค์เป็นที่เรียบร้อยสมกับที่ ทรงไว้วางพระราชหฤทัย จึงทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นพระองค์ที่ 2 ในพระบรม ราชจักรีวงศ์

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ตลอดรัชสมัยของ พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกภูมิภาค ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบททุรกันดาร เพื่อทรง เยี่ยมเยียนและซักถามเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยน้ำพระราชหฤทัยมุ่งหวังให้ประชาชนของพระองค์พ้น จากความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิต จนกล่าวกันว่าไม่มีแห่ง หนตำบลใดในประเทศไทยที่พระองค์ไม่เคยย่างพระบาท ไปถึง การทรงงานในแต่ละพื้นที่ก่อให้เกิดโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ครอบคลุม การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทุกด้าน

ด้านการเกษตร การชลประทาน และการพัฒนา คุณภาพชีวิต

พ.ศ. 2496 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ในเขตที่ราบภาคกลางเป็นครั้งแรก และเสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการพัฒนา พื้นที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ การเกษตรถือเป็นรากฐานชีวิตของคนไทย น้ำคือชีวิต ของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  จึงทรงให้ความสนพระราชหฤหัยในโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ  เป็นพิเศษ ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529 ความตอนหนึ่งว่า

“หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น  ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีนา คนอยู่ไม่ได้”

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ แหล่งน้ำโครงการแรกเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2496 เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรหมู่บ้านเขาเต่า ตำบล หนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดเหตุการณ์ รถยนต์พระที่นั่งติดหล่ม ทรงเห็นชาวบ้านหาบน้ำด้วยความเหนื่อยยาก จึงพระราชทานพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เพื่อบรรเทาความแห้ง แล้ง และความเดือดร้อนของราษฎรจากการขาดแคลนน้ำ  อุปโภคบริโภค อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2506 ต่อมามีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย และเพื่อบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการ ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ไป จนถึงโครงการขนาดกลางและขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับสภาพ ภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจ และประโยชน์ที่ประชาชนจะ ได้รับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำยัง รวมถึงโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญทั้ง โครงการแก้มลิง และโครงการฝนหลวง

รวมทั้งทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพแวดล้อมในพื้นที่หลายส่วนของประเทศไทย ถูกทำลาย  เนื่องมาจากการตัดไม้ หรือการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำๆบนที่ดินเดิม ทำให้พื้นที่นับล้านไร่ในภูมิภาคต่าง ๆ มีปัญหา เรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ราษฎรเพาะปลูกได้ ผลผลิตต่ำจึงมีฐานะยากจน พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดาริขึ้นในพื้นที่ที่มีปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม เพื่อเผยแพร่ความรู้ ด้านการพัฒนาการเกษตร และเป็นศูนย์กลางส่งต่อเทคโนโลยี ด้านการเกษตรและฝึกอบรมอาชีพเพื่อเกษตรกร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา  ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกก่อนจะมีอีกหลายที่ตามมา เพื่อให้บทเรียนด้านการพัฒนาที่ประชาชนสามารถมา ศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตและงานของตนเองได้  รวมทั้งโครงการหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมและการพังทลายของหน้าดิน

เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ชาวไทยภูเขาบนดอยสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้ง แรกเมื่อพ.ศ. 2512 ได้ทอดพระเนตรเห็นคุณภาพชีวิต ของราษฎรชาวไทยภูเขาที่ลำบากยากจน ดำรงชีวิตด้วยการ ทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการหลวงเพื่อพัฒนาชีวิตชาวไทยภูเขา โดยให้หันมาปลูกพืชอื่นทดแทนฝิ่น ละทิ้งการทำไร่เลื่อนลอย และการถางป่า ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ในช่วง เริ่มแรกจะไม่บังคับให้ชาวไทยภูเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่จะนำพืช เมืองหนาวไปให้ทดลองปลูก หากเห็นว่าดี ก็ค่อยให้ขยาย พื้นที่ปลูกต่อ ๆ ไป ส่งผลให้ชาวไทยภูเขามีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ป่าที่เคยถูกบุกรุกกลับมาสมบูรณ์เขียวขจีอีกครั้ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิโครงการ หลวงเพื่อรวบรวมหน่วยงานต่าง ๆ กลายเป็นศูนย์พัฒนา โครงการหลวง
 

ขณะที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เกิดขึ้นใน บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งทรงใช้เป็นที่ทดลอง วิจัยโครงการตามพระราชดำริทางการเกษตร เพื่อนำผลการศึกษาพระราชทานแก่ประชาชน  บริเวณพระตำหนัก จะมีโครงการต่าง ๆ เช่น ป่าไม้สาธิต (พ.ศ. 2503-2504) นาข้าวทดลอง (พ.ศ.2504) โรงโคนมสวนจิตรลดา  (พ.ศ.2505) บ่อเพาะพันธุ์ปลานิล (พ.ศ.2508) โรงนมผง สวนดุสิต (พ.ศ.2512) โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา  (พ.ศ.2514) โรงบดแกลบ (พ.ศ. 2518) งานผลิตภัณฑ์ บรรจุกระป๋อง (พ.ศ.2535) โครงการไบโอดีเซล (พ.ศ.2546) การสาธิตการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (พ.ศ.2550) ฯลฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวทางรูปแบบการจัดการ ที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีกิน ตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมาก แต่ก็พอกิน ไม่อดอยาก ทฤษฎีนี้คือการแบ่งที่ดินออกเป็นอัตราส่วน 30, 60 และ10 โดยที่ดิน 30 เปอร์เซ็นต์แรกขุดสระเก็บกักน้ำไว้ใช้และ เลี้ยงปลา 60 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาแบ่งเป็นพื้นที่ทำนาข้าว และปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์อย่างละครึ่ง ที่เหลือ อีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่อยู่อาศัย ลานบ้านและถนน

ขณะที่ หลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงชี้แนะแนวทาง ในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด นานกว่า 25 ปี เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 พระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับความสนใจจาก ประชาชน ทรงเน้นย้ำว่า ว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นแนวทาง แก้ไขเพื่อให้ประเทศไทยรอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของโลก หลักใหญ่ของทฤษฎีนี้ อยู่ที่การให้เดินทางสายกลาง การคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ตลอดจนให้มี ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจาก ประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยหลายครั้ง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูต เข้าเฝ้าฯ ถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่ง ในประเทศไทย และกราบถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ รวมทั้ง มีพระราชสาส์นถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั้งแสดงความยินดี และแสดงความเสียพระราชหฤทัย  สำหรับการกราบบังคม ทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนต่างประเทศ หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสหรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์


ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร  เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงรับการถวายพระพรชัยมงคลจากพระราชอาคันตุกะ ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และผู้แทน พระองค์จาก 25 ประเทศ ที่เสด็จพระราชดำเนินมาร่วม พระราชพิธีเฉลิมฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม การที่พระราชวงศ์ทวโลกเสด็จพระราชพระราชดำเนินมารวมกัน ล้วนเป็นผลจากพระราชไมตรีที่มีต่อกันมาช้านาน

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรสนพระราชหฤทัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต้ังแต่ทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ และ ทรงนำความรู้นี้มาประยุกต์ใช้พัฒนาประเทศผ่านโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ เช่น โครงการฝนหลวง โครงการแก้มลิง สิ่งประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการ พัฒนาน้ำ มันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทรงตงสถานี วิทยุ อ.ส. เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร สู่ประชาชน ทรงศึกษาและทดลองรับ-ส่งวิทยุทางไกล พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับสายส่งสัญญาณและ สายอากาศวิทยุแบบต่าง ๆ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาศึกษา ส่งผลให้มีการปรับปรุงระบบการสื่อสารของทางราชการ จนได้สมรรถนะสูง

ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ทรงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรเทวนาครี ทรงประดิษฐ์รูปแบบ ตัวอักษรไทยหลายแบบ เช่น ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์ ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อทรงอวยพร ปวงชนชาวไทย และทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วน พระองค์ด้านดนตรี

ทรงเชี่ยวชาญการแปลความหมายของภาพถ่าย ทางอากาศ และใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาคาดคะเน แนวเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อนได้อย่างถูกต้องใกล้เคียง  ภายในห้องทรงงานจะมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ติดตั้ง ทั้ง เครื่องรับ-ส่งวิทยุแรงสูงทุกเครือข่าย โทรสาร โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อทรงใช้บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร

ประชาคมโลกยกย่อง

ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาโดยมีประชาชน เป็นศูนย์กลาง จึงทรงได้รับการยกย่องจากหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลต่าง  ๆ เป็นจำนวนมาก รางวัลที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระองค์แรก รางวัลเหรียญทอง International Rice Award เมื่อพ.ศ. 2439 จากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (The International Rice Research Institute) ซึ่งมี สำนักงานอยู่ที่ฟิลิปปินส์  เพื่อสดุดีการที่ทรงพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้วยการส่งเสริมการศึกษา และวิจัยการปลูกข้าว รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการ พัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เมื่อพ.ศ. 2549 จากการที่ได้ทรงพระวิริยะ อุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจกว่า 4,000 โครงการ เพื่อประโยชน์และความเจริญยั่งยืนของประเทศไทย เหรียญรางวัล Dr. Norman E. Borlaug Medallion จากมูลนิธิ World Food Prize เมื่อพ.ศ. 2549 ด้วย พระราชกรณียกิจอันโดดเด่นด้านมนุษยชนในการบรรเทา ความอดอยากของประชาชน รางวัลพระอัจฉริยภาพทาง การประดิษฐ์ (Glory to the Greatest Inventor Award) ซึ่งสมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (The International Federation of Inventors’ Associations: IFIA) ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อพ.ศ. 2551 ในฐานะทรงมีผลงานประดิษฐ์คิดค้น กว่า 1,000 ชิ้น ถือเป็นรางวัลแรกและรางวัลเดียวของโลก ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยชาติ (The Human Soil Scientist) จากสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ประเทศฝรงเศส เมื่อพ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีที่ทรงให้ความสำคัญกับการบริหาร จัดการทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์และ ยอมรับทั้งในประเทศและนานาประเทศ

และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สหประชาชาติได้มีมติให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก (World Soil Day) เพื่อ

เฉลิมพระเกียรติที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ การพัฒนาดินอยางต่อเนื่อง เช่น  ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกและทรงริเริ่มทฤษฎีแกล้งดิน โครงการหลวงได้รับรางวัลแมกไซไซเมื่อพ.ศ.2530 และรางวัลจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเมื่อพ.ศ. 2549 ขณะที่มูลนิธิโครงการหลวงได้รับรางวัล Colombo Plan Award เมื่อพ.ศ. 2546

เมื่อ พ.ศ. 2536 สมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดิน นานาชาติ (The International Erosion Control Association) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล International Merit Award เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการส่งเสริมการใช้หญ้าแฝก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ Agricola Medal เมื่อพ.ศ. 2538 เพื่อสดุดี พระเกียรติคุณที่ทรงเป็นผู้นำการพัฒนาการเกษตรและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเหรียญ Telefood Medal เมื่อ พ.ศ. 2542 จากพระราชกรณียกิจเพื่อต่อสู้กับความอดอยาก และความยากจน สมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ของ ราชอาณาจักรเบลเยียม ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Brussels Eureka สำหรับสิ่งประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา เมื่อพ.ศ. 2543  และ รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นรวม 5 รางวัลในงานนิทรรศการ Brussels Eureka 2001 ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2547 ทรงได้รับ การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Habitat Scroll of  HonourAward เพื่อสดุดีพระราชกรณียกิจด้านโครงการการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง  ๆ


วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์กได้จัดประชุมวาระพิเศษ เพื่อสดุดีถวายพระเกียรติ และยืนไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคต ซึ่งเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก


เสด็จสวรรคต

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนัก จิตรลดารโหฐานไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรักษา พระอาการประชวรอันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัด และ พระปัปผาสะ (ปอด) อักเสบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ได้เสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปลี่ยน พระอิริยาบถ ในระหว่างที่เสด็จประทับที่วังไกลกังวล ราว 1 ปี ระหว่างนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร โครงการต่าง ๆ เป็นครั้งคราว

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เสด็จพระราชดำเนิน มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชเนื่องจากมีพระอาการไข้ คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้น ตามลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับพระอาการ ประชวรให้ทราบเป็นระยะมาโดยตลอด

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สวรรคต ความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษา พระอาการประชวร ณ  โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่วันศุกร์ ที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตามที่สำนักพระราชวัง ได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด จนสุดความสามารถแต่พระอาการประชวรหาคลายไม่  ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราชด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษา ปีที่ 89 ทรงครองราชย์สมบัติได้ 70 ปี”


จากวันนั้นจนวันนี้ผ่านมาแล้ว 365 วันแห่งการจากลา แต่เชื่อว่าพสกนิกรชาวไทยทุกคนล้วนสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเหลือที่พระราชทานไว้แก่แผ่นดินไทย พระมหากษัตริย์ที่ถูกขนานนามว่า “กษัตริย์นักพัฒนา” ผู้ทรงเป็นที่รักของคนไทยทุกคน

 

ขอบคุณภาพจาก กองข่าว และฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ สำนักราชเลขาธิการ
ขอบคุณภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ