“น้ำพางโมเดล”พลิกโฉมไร่ข้าวโพด ชงรัฐสนับสนุนผ่อนปรนทวงคืนผืนป่า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดจำนวนมาก และเกษตรกรถูกมองว่าเป็นผู้ทำลายป่า และ สร้างปัญหาหมอกควัน ภายหลังนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลเดินทางอย่างจริงจัง ทำให้ชาวบ้านต้องปรับตัว ลุกขึ้นมาหาแนวทางทำเกษตรยั่งยืน จนกลายเป็นวิธีการที่ชื่อว่า “น้ำพางโมเดล”

ภูเขาหัวโล้นเป็นสภาพโดยทั่วไปของจังหวัดน่าน  เกิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อย่างข้าวโพด พื้นที่ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในนั้น   หลังรัฐบาลเดินหน้านโยบายทวงคืนผืนป่า เมื่อปี 2557 บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และป่าสงวน เกือบ 2,000 ไร่  นอกจากจะทำให้การปลูกข้าวโพดไม่อาจทำได้อีกต่อไป บริษัทเอกชนก็ไม่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ส่งผลชาวบ้านเป็นหนี้สินจำนวนมาก  จึงรวมตัวกันตั้งกลุ่ม “น้ำพางโมเดล” หวังเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวให้เป็นพืชผสมผสาน ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าภายใน 5 ปี 

ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการนี้ แต่ยอมรับว่า การเปลี่ยนมาปลูกพืชผสมผสาน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขาดเงินทุนในการซื้อต้นกล้า และ ขาดแคลนแหล่งน้ำ  โดยน้ำพางโมเดล หรือ การเปลี่ยนวิถีเพาะปลูกของเกษตรกรจังหวัดน่าน เริ่มมาแล้ว 6 เดือน มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 140 ครัวเรือน ถ้าเป็นไปตามแผน ระยะ 5 ปีแรก จะมีพื้นที่กว่า 4000 ไร่ ถูกเปลี่ยนจากไร่ข้าวโพดมาเป็นพืชผสมผสาน ชาวบ้านเชื่อว่าจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน   และหวังให้รัฐบาลผ่อนปนกฎหมายทวงคืนผืนป่าและนำโมเดลนี้ไปปรับใช้กับพื้นที่อื่นที่ประสบปัญหาคล้ายกัน

 

 

พฤษา สุนทรกุล ถ่ายภาพ

อภิสิทธิ์ ดุจดา รายงาน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ