นักวิชาการ ชี้ดูดอดีต ส.ส. ไม่มีผลต่อฐานเสียงพรรคเดิม ย้ำประชาชนเลือกพรรคมากกว่าคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เผยการดูดอดีต ส.ส. ระหว่างพรรคการเมือง ไม่ส่งผลเสียต่อฐานเสียงเดิมของพรรคในพื้นที่ ๆ นั้น ชี้การเลือกตั้งของประชาชนที่ผ่านมามักเลือกพรรคมากกว่าเลือกคน

วันนี้ (22 มิ.ย.61) ดร.สถิธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า กล่างถึงกรณีการดูดอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ระหว่างพรรคการเมือง ผ่านรายการเป็นเรื่องเป็นข่าว ว่า การเลือกตั้งในช่วง 20 ที่ผ่านมาของไทยมีการดูด ส.ส.จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าคะแนนทั้งหมดจะตามไปด้วย เช่น จังหวัดเลย สมมติการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามีคะแนนเสียง 60,000 คะแนน โดยอดีต ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย ย้ายไปอยู่พรรคประชารัฐ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำคะแนนทั้ง 60,000 คะแนน ไปด้วยได้ เพราะคะแนนดังกล่าวคือคะแนนบุคคลที่อดีต ส.ส. มี รวมกับคะแนนกระแสพรรคเดิม ซึ่งเขาอาจจะเอาไปได้แค่ 20,000 คะแนน แต่ถ้าคะแนนพรรคเพื่อไทยในจังหวัดนั้นยังเข้มแข็ง แปลว่าเสียงส่วนใหญ่จะยังอยู่ที่พรรคเพื่อไทย เพียงแค่หาผู้สมัครที่เคยได้ที่สองในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วมาเติมคะแนนอีกหมื่นกว่า พรรคเพื่อไทยก็จะได้คะแนนกลับมาเท่าเดิมที่ 60,000 คะแนน

ทั้งนี้เมื่อถามว่าการตัดสินใจของคนไทยที่ผ่านมาเลือกคนหรือพรรคการเมือง ดร.สถิธร ระบุว่า ประชาชนเลือกพรรคชัดเจน แต่พรรคต้องพ่วงคนที่ระดับชาติด้วย ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี เคยมีงานวิจัยของตนที่ทำเรื่องตระกูลการเมือง โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าตระกูลการเมืองยังมีความสำคัญกับการเลือกตั้งอยู่หรือไม่ ซึ่งพบว่าพอไปเปรียบเทียบกับพรรคการเมือง ปัจจัยที่มาอันดับหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงเลือกตั้งของไทยในปี 2554 การสังกัดในพรรคเพื่อไทยของพรรคประชาธิปัตย์ ในภูมิภาคที่ถูกต้อง มาสองอันดับแรก และการเป็นอดีต ส.ส.มาอันดับที่สาม ส่วนการเป็นตระกูลการเมืองไม่มีผลเลย หมายความว่าตนได้นำ 375 มาเทียบคะแนนกัน คนที่ไม่ได้เป็นตระกูลการเมือง แต่กลับได้คะแนนที่เขตชนะคนที่มาจากตระกูล ซึ่งอยู่ในพรรคที่มีกระแสนิยมในภาคนั้น ๆ  

ขณะที่ ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เคยมีการศึกษามาแล้ว เวลา สส. ย้ายพรรค ทั้งก่อนการเลือกตั้ง และระหว่างการประชุมรัฐสภา ส.ส.จะสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชน เพราะเหมือน ส.ส.หักหลังประชาชน แต่ประเทศไทยไม่เคยเกิดลักษณะแบบนี้ โดยย้ายพรรคไปก็ยังชนะอยู่ เป็นเพราะว่าการย้ายพรรคเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนเสื้อ ไม่ได้เปลี่ยนแนวคิด ตนมองว่าการย้ายพรรคเป็นเพียงแค่การรวมตัวกัน เพื่อเอาชนะในเกมการเลือกตั้งครั้งใหม่ตามกติกาใหม่ เพียงแต่ว่าผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นจะทำการลงโทษ ส.ส. ที่ย้ายพรรคไปหรือไม่

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ