สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ค้านคุมค่ายา ชี้ 99% เข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาลอยู่แล้ว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ค้านคุมค่ายา ชี้เป็นการรักษาพยาบาลทางเลือก เพราะคน 99% เข้าถึงสิทธิการรักษาพาบาลโดยรัฐอยู่แล้ว

จากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ มีความพยายามจะผลักดัน เวชภัณฑ์ และ ค่ารักษาพยาบาล เข้าไปบรรจุบัญชีสินค้าและบริการที่ควบคุมตามกฎหมาย แต่ยังมีรายละเอียดที่ต้องผู้คุยกับผู้เกี่ยวข้องอีกมาก  ทำให้ ล่าสุด สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ได้ออกมาตั้งโต๊ะ แถลงข่าว ชี้แจงว่า ถ้าดูในรายละเอียด สิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยทั้ง 5 กลุ่มที่มีอยู่พื้นฐาน ก็พบว่าจำนวน 99 % ของคนไทย สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาล ได้อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงบริการของเอกชน

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน พร้อมสมาชิกสมาคมและอดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ตั้งโต๊ะแถลงข่าว ถึงกรณีที่ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาล จะนำ ค่าเวชภัณฑ์ และ ค่าบริการทางแพทย์ของโรงบาลเอกชนเข้าเป็นสินค้าและบริการควบคุม ว่า หากพิจารณาในสิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยทั่วประเทศ 5 กลุ่ม  แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ  สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค  และ สิทธิประกันสังคม  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่รัฐดูแล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : โรงพยาบาลเอกชน เตรียมเผยแพร่ค่ารักษาพยาบาลผ่านเว็บไซต์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : พาณิชย์จ่อบังคับใช้ กม.คุมเข้มค่ารักษาพยาบาลแพง
 

ส่วนอีก 2 กลุ่มคือ สิทธิสวัสดิการรักษาของพนักงานส่วนท้องถิ่น  และ สิทธิหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่รัฐบาลก็ดูแลค่าใช้จ่ายเป็นบางส่วน  ซึ่ง หากรวมใน5 กลุ่ม นี้ มีคนไทยถือสิทธิอยู่ราว 99.99% ของประชากรแล้ว  จึง อยากให้สังคมเข้าใจว่า โรงพยาบาลเอกชน เป็นทางเลือกในการรับบริการ และ ประชาชนมีสิทธิเบื้องต้นในการเข้าถึงการรักษาที่ราคาถูกกว่า แต่หลายคนไม่ทราบสิทธิของตนเอง

นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจง ถึง กรณีที่ “ค่ายา” ของโรงพยาบาลเอกชนแพงกว่ารัฐบาลหลายเท่า  นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน อธิบายว่า “ค่ายา” ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ พ.ศ.2561 ให้ความจำกัดความของ “ยา” ไม่ใช่แค่ ต้นทุน ตัวยา ยังเหมารวมถึง ต้นทุน ค่าเก็บรักษา ค่าสารสนเทศการเก็บข้อมูล ของยา และ ผู้ป่วย และ รวมค่าเภสัชกรรม  แต่ในขณะที่ โรงพยาบาลของรัฐ เจ้าหน้าที่มีเงินเดือนภาษีของประชาชนดูแลให้

ส่วนในแง่ของเศรษฐกิจ ประเทศไทย เป็นอันดับ1 เมดิคอลฮับ หรือ ศูนย์กลางทางการแพทย์ในกลุ่มประเทศ CLMV  โดย เฉพาะ พม่า กัมพูชา เวียดนาม และ จีน ที่นิยมเดินทางมารักษาที่ไทย โดยปี2561 ชาวต่างชาติเข้ามารับบริการ เกือบ 4 ล้าน 2 แสนคน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2แสนล้านบาท / หาก โรงพยาบาลเอกชน ถูกควบคุม ก็จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของไทย ก็จะมีข้อจำกัด ส่งผลไปยังความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย หากจะพัฒนาตามนโยบาย นิว เอส เคิร์ฟ ของรัฐ ก็เป็นไปได้ยาก

ก่อนหน้านี้ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ได้ชี้แจงข้อมูลทั้งหมดนี้ ให้กับ คณะอนุกรรมการฯ ที่ทาง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งขึ้นมาเพื่อ พิจารณาการยกระดับ เวชภัณฑ์ และ ค่าบริการทางการแพทย์เป็นสินค้าควบคุมแล้ว  ซึ่งจากนี้ คงจะต้องมีการหารือเพิ่มเติมเพื่อหาทางออกร่วมกันอีก

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ