ตรวจเข้มรถโดยสารขสมก. ควันดำ พบเกินมาตรฐาน 300 คัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตำรวจจราจร ร่วมกับกรมขนส่งทางบกเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมเขตคลองเตย กรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวลงพื้นที่ตรวจสอบรถโดยสารประจำทางที่อู่รถคลองเตย พร้อมเตรียมบังคับใช้กฎหมายกับรถโดยสารและรถยนต์ทั่วไป ที่ปล่อยควันดำอย่างเข้มงวด ผลล่าสุดไม่พบค่าควันดำที่เกินค่ามาตราฐาน

เมื่อวันที่ (29 ม.ค. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  การตรวจวัดควันจากท่อไอเสียของรถโดยสารประจำทางขสมก. ภายในท่ารถโดยสารย่านคลองเตย  ที่ใช้เครื่องน้ำมันดีเซล เพื่อตรวจสอบว่ามีควันดำเกินกฎหมายกำหนดหรือไม่  โดยเป็นการสุ่มตรวจรถที่จอดอยู่ภยในอู่รวมเกือบ 10 คัน  ซึ่งจากการสุ่มตรวจควันจากท่อไอเสีย พบว่ามีค่าเฉลี่ยควันดำอยู่ที่ 15 -20 % ยังไม่เกินมาตรฐานที่ 45%

พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บังคับการตำรวจจราจร ระบุว่า หากพบรถโดยสารที่มีควันดำเกินมาตรฐานกฎหมายกำหนด จะสั่งให้รถคันดังกล่าวงดให้บริการทันที โดยจะทำเครื่องหมายห้ามใช้ เพื่อให้นำรถกลับไปปรับปรุงแก้ไข แต่หากฝ่าฝืนนำรถมาใช้ จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท ร่วมถึงเจ้าของอู่ก็จะมีความผิดด้วย

ที่ผ่านมาได้มีการตั้งด่านตรวจควันดำจำนวน 20 จุด ทั่วกรุงเทพมหานคร พบรถที่มีควันดำเกินมาตรฐาน วันละประมาณ 500-700 คัน เป็นรถขนส่ง 300 คัน และรถยนตร์ทั่วไปประมาณ 100 คัน และจากที่มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พบฝุ่นริมถนนขนาดเล็กกว่า PM2.5  จากการนำใบไม้ที่อยู่ริมถนนมาตรวจ  ทีมข่าวพีพีทีวี ยังตามประเด็นนี้ต่อเนื่อง ซึ่งทีมวิจัยลงพื้นที่ตรวจอีกครั้ง 

ตัวอย่างใบไม้แต่ละชนิดที่เก็บจากบริเวณริมถนน ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาขนาดของฝุ่น PM2.5 โดยนายจักร แสงมา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมวิจัยได้ลองตรวจสอบหาขนาดฝุ่นที่ใบไม้ดูดซับ พบว่ามีฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM2.5 อยู่จำนวนมาก บางใบ ให้ผลทดสอบที่มีอนุภาคเล็กกว่า 0.4 ไมครอน

นักวิจัย ให้ข้อมูลว่า ปกติการเผาที่เกิดเขม่า ทั้งจากการเผาของ น้ำมันดีเซลหรือเผาหญ้า จะให้อนุภาคที่มีขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่ ถือเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่น่ากลัวคืออนุภาคเล็กๆ เหล่านี้ สามารถเข้าไปในร่างกายผ่านทางระบบหายใจได้ลึกและง่ายกว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ เพราะอนุภาคขนาดใหญ่จะมีกลไกทางร่างกายคอยจัดการไม่ให้เข้าสู่ร่างกายและอวัยวะภายในได้ แต่หากเป็นอนุภาคที่เล็กกว่า 0.5 ไมครอนจะเริ่มมีแนวโน้มถูกดูดซับลงลึกได้มากกว่า เช่น ในระบบถุงลม โลหิต และอวัยวะภายใน ซึ่งผลทดลองของฝุ่นที่อยู่บนใบไม้ พบว่าอนุภาคฝุ่นที่เล็กสุดที่พบคือ 0.1 ไมครอน

คอนเทนต์แนะนำ
คมนาคมเร่งแก้ปัญหามลพิษจากรถเมล์ – รณรงค์ใช้รถสาธารณะ
กระทรวงคมนาคม ออกมาตรการเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละออง
นักวิชาการ ชี้ “รถดีเซล”ต้นเหตุปล่อยฝุ่นละออง จี้รัฐยกมาตรฐานเครื่อง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ