แจง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ปมตรวจค้นไม่มีหมายศาล เฉพาะภาวะวิกฤต เท่านั้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลัง สนช.มีมติผ่านร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สังคม โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาในร่างกฎหมายดังกลาวในหลายมาตรา แต่ในมุมมองของกรรมาธิการยกร่างกฎหมายฉบับนี้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันไปนั้นมีหลายประเด็นไม่ถูกต้อง

วันนี้ 1 มี.ค. 2562 นายปริญญา หอมเอนก ในฐานะกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อธิบายว่า ข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันออกไปเกี่ยวกฎหมายฉบับนี้มีหลายประเด็นไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปตรวจค้น จับกุม ยึดอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล เป็นประเด็นที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพราะในร่างกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการใดๆโดยไม่มีหมายศาลได้ ก็ต่อเมื่ออยู่ในภาวะวิกฤตเท่านั้น ซึ่งมีคำนิยามชัดเจน เช่น มีคนล้มตายจำนวนมาก ระบบข้อมูลของรัฐ สนามบิน หรือระบบของธนาคารล่มทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเข้าไประงับเหตุก่อน จึงมีหมายศาลตามมา เช่นต้องเข้าไประงับการปล่อยไวรัสที่เข้าไปทำลายระบบ หรือระงับผู้ที่ต้องสงสัยว่ากำลังปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์จนเกิดภาวะวิกฤต 

สนช. มีมติเอกฉันท์ ผ่านร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์

นายปริญญา ย้ำว่า ข้อกฎหมายนี้ จะมีผลบังคับกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสารสนเทศ และการจะใช้อำนาจนี้ได้ ต้องผ่านความเห็นของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) เห็นชอบ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และสภาความมั่นคงแห่งชาติลงนาม และประกาศ ซึ่ง จริงๆแล้ว รัฐบาลสามารถใช้อำนาจเช่นนี้ได้อยู่แล้วในภาวะวิกฤต ผ่านพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้ไม่มีกฎหมายฉบับนี้

ส่วนในร่างกฎหมาย แบ่งภัยไซเบอร์ เป็น 3 ระดับ คือ ภัยทั่วไป ภัยร้ายแรง และภาวะวิกฤต ซึ่งในระดับภัยทั่วไป และภัยร้ายแรง หากเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจค้น ต้องมีหมายศาลทุกกรณี จะมีเฉพาะภาวะวิกฤต ซึ่งไม่ต้องมีหมายศาล ตามเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว คือ ต้องระงับเหตุวิกฤตก่อน

ส่วนมาตรา 67 ที่ถูกโจมตีว่า เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ นายปริญญา บอกว่า มาตรา 67 วรรคหนึ่ง คือ เหตุจำเป็นเร่งด่วนและวิกฤต

ส่วนที่ถูกโจมตีว่า มาตรา 67  วรรคสอง ที่เขียนว่าให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปข้อมูลต่อเนื่องได้ ในกรณี ร้ายแรง “หรือ” วิกฤต เป็นเจตนารมณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูขอข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้นั้น นายปริญญา กล่าวว่า มาตรา 67 วรรคสอง ที่เขียนว่า ให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปข้ดูข้อมูลต่อเนื่องได้ ในกรณี ร้ายแรง “หรือ” วิกฤต เป็นเจตนารมณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปจากหน่วยงานที่เชื่อว่ากำลังมีการส่งไวรัส หรือ มัลแวร์ได้ และเกิดเหตุอยู่ เช่น ธนาคารไม่สามารถโอนเงินได้ ซึ่งข้อนี้ เป็นการขอข้อมูลมาดูก่อนจะเกิดภาวะวิกฤตตามมา

นอกจากร่างกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ผ่าน สนช.ไปแล้ว เฟซบุ๊ก นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษก วิป สนช. โพสต์ข้อความระบุว่า เมื่อวานนี้ สนช.ผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วย

โดย ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ... มีหลักการและเหตุผลในการเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลจากหน่วยงานที่เชื่อว่ากำลังมีการส่งไวรัส หรือ มัลแวร์ได้ และเกิดเหตุอยู่ เช่น ธนาคารไม่สามารถโอนเงินได้ ซึ่งข้อนี้ เป็นการขอข้อมูลมาดูก่อนจะเกิดภาวะวิกฤตตามมาส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้การรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ