เตือน “ตัวเมืองสุราษฎร์ฯ” เตรียมรับมวลน้ำ สุดสัปดาห์นี้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์น้ำในสุราษฎร์ธานี นอกจากฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ มวลน้ำบางส่วนไหลมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาหลวง และหากดูจากเส้นทางระบายน้ำ จุดที่ต้องรับมือกับภาวะน้ำล้นตลิ่งและอาจท่วมสูง คือ อำเภอเมือง

เปิดข้อมูล โรงแรม 1G1 สถานบันเทิงครบวงจร จ.ท่าขี้เหล็ก จุดรวมตัวจุดเริ่มต้น หญิง-ชายไทย นำเข้าโควิด...

ไทยโควิดส่อวิกฤต! กรมควบคุมโรค หวั่นเกิดระลอก2 เหตุเพื่อนบ้านระบาดไม่หยุด

หากดูจากกราฟิกจะเห็นว่า เทือกเขาหลวงวางแนวทอดจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ เป็นจุดศูนย์กลาง และ เป็นต้นน้ำที่ไหลไปตามพื้นที่ต่างๆของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี บางส่วน โดยมวลน้ำจะแบ่งไปตาม 2 ฝั่ง คือ ฝั่งทิศตะวันออก ลงไปที่อำเภอเมือง ผ่านคลองเสาธง และคลองท่าดี  และฝั่งทิศตะวันตก 

โดยฝั่งทิศตะวันออก  นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัททีมกรุ๊ป ประเมินว่า ฝั่งนี้ปัญหาหลักๆคือ เมื่อน้ำผ่านอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ที่ตลอดช่วงที่ผ่านมามีสิ่งปลูกสร้างจากการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้น จนส่งผลให้ไม่มีแก้มลิงรับน้ำ และด้วยพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่มีความลาดเอียงเป็นเขา ก็ทำให้น้ำจากเขาหลวงไหลลามาด้วยความเร็ว และแรง ซึ่งพื้นที่เชิงเขาจะมีความเสี่ยงได้รับอันตรายจากน้ำหลาก  

ส่วนน้ำที่อยู่ฝั่งทิศตะวันตกของเขาหลวง จะไหลในลักษณะเดียวกัน คือ แรง และเร็ว ซึ่งจะไหลไปทางแม่น้ำตาปีที่ทอดยาวไปทาง ผ่านอำเภอฉวาง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปทางอำเภอพระแสง เคียนซา พุนพิน และอำเภอเมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลา 3 วันไปถึงเมืองสุราษฎร์ธานี

แต่จากสถานการณ์ขณะนี้ที่ฝนตกทั่วพื้นที่ ทั้งที่ฉวาง พระแสง และเคียนซา ส่งผลให้ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า พื้นที่ด้านล่างอย่าง พุนพิน และตัวเมืองสุราษฎร์ธานี จะยังคงมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น และทรงตัวไปอย่างน้อยอีก 2-3 วัน ก่อนน้ำจะระบายลงทะเล

แม่ทัพภาค 4 สั่งเร่งกู้สะพานคลองกลาย ถูกน้ำป่าพัดขาด

นอกจากนี้น้ำจากแม่น้ำตาปี ยังต้องรับน้ำจากแม่น้ำพุมดวง ที่เก็บน้ำจากฝั่งตะวันตก และทิศเหนือ มาบรรจบกันที่พุนพิน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์นี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปี และพื้นที่ใกล้เคียง ต้องเตรียมขนของขึ้นที่สูง และวางแผนอพยพ

นายชวลิต ย้ำว่า สถานการณ์จะยังทรงตัวในช่วง 2-3 วันนี้ ก่อนจะเริ่มลดลงในวันจันทร์ และจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากวันอังคารเป็นต้นไป เพราะน้ำทะเลไม่หนุนสูงเหมือนวันที่ 4-8 ธันวาคม หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม

ขณะที่รศ. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมปฐพี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า ปัจจัยน้ำทะเลหนุนก็ส่งผลให้การระบายน้ำไม่ต่อเนื่อง และอีกปัจจัย คือหลักการน้ำจืดในทะเลที่ไหลไปตามปกติก่อนหน้านี้ และน้ำเค็มที่มีความหนาแน่น มีโอกาสดันน้ำจืดใหม่ที่มีปริมาณมหาศาล ยิ่งส่งผลให้การระบายน้ำ เป็นไปได้ช้ากว่าปกติ

รศ. สุทธิศักดิ์ ย้ำว่า แม้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีคลองระบายน้ำหลายแห่ง แต่ด้วยน้ำที่มีปริมาณมากและล้นตลิ่งกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงยังเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปบริหารจัดการน้ำ และต้องรอให้น้ำลดลงไปตามธรรมชาติโดยอาศัยคลองระบาย ซึ่งหลังจากนั้นหน่วยงานรัฐที่มีเครื่องมือ ทั้งประตูระบายน้ำ และ เครื่องดันน้ำ จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ