อาการช้างกินพาราคอต ยังน่าห่วง สัตวแพทย์ดูแลใกล้ชิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สัตวแพทย์เร่งรักษาช้าง 5 เชือก ที่มีอาการป่วย จากการกินยาฆ่าหญ้าเข้าไป เบื้องต้นพบว่ามีช้าง 3 เชือกที่อาการหนัก ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมสหพันธ์ช้างไทย ระบุว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีช้างที่สัมผัสและกินสารเคมีจนล้มป่วย 13 เชือก

เร่งรักษาช้าง 5 เชือก กินยาฆ่าหญ้าอาการสาหัส

นี่เป็นช้าง 3 เชือกแรกที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจาก อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมารักษาที่โรงพยาบาลช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งทั้ง 3 เชือกนี้มีอาการน่าเป็นห่วง เพราะกินยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรเก็บไว้ในเพิงกลางป่าเข้าไป

การตรวจสอบพบว่ามีช้างที่ป่วยจากการกินพาราควอต มีทั้งหมด 5 เชือก โดยช้างที่มีอาการหนักสุด คือ พังโมพอนะ เพศเมีย อายุ 7 ปี รองลงมา คือ ลูกช้าง พลายวิลลี่ เพศผู้ อายุ 1 ขวบ ซึ่งทีมสัตวแพทย์ได้รีบรักษา โดยให้น้ำเกลือกับช้างทั้งสองเชือก ส่วนลูกช้างได้ให้ยาซึมเพื่อลดอาการเจ็บปวดและตื่นกลัว

การตรวจสอบพบช้างมีแผลพุพองบริเวณลิ้น และช่องปาก จากการสัมผัสสารเคมีที่คาดว่าจะเป็นพาราควอต แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าช้างทั้งหมดสัมผัสหรือกินสารเคมีไปมากน้อยแค่ไหน และไม่ทราบว่าปริมาณสารเคมีเป็นอันตรายกับระบบอวัยวะภายในด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาฆ่าเชื้อป้องกันบาดแผลติดเชื้อ

แนวทางในการักษาช้าง 3 เชือกที่มาโรงพยาบาลแล้ว ขณะนี้ทางสัตวแพทย์ให้สารน้ำวันละไม่ต่ำกว่า 50-60 ลิตร ให้ยาลดการอักเสบ ยากดภูมิคุ้มกัน และยาต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของร่างกายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะตับและไต เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดภาวะตับวาย ไตวายและระบบหายใจล้มเหลวต่อมา ซึ่งต้องดูแลทุก 1 ชั่วโมง

พบแม่ช้างนอนป่วยกลางสวนยาง ลูกช้างเฝ้าไม่ห่าง

ส่วนช้างอีก 2 เชือก ทีมกู้ภัยอยู่ระหว่างนำรถไปเคลื่อนย้ายตัวมารักษาที่โรงพยาบาล แต่สภาพพื้นที่ที่ช้างอยู่ค่อนข้างห่างไกล และการเดินทางลำบาก คาดว่าจะถึงโรงพยาบาลช้างในช่วงกลางดึกคืนนี้

ส่วนพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ห่างไกล เดิมชาวบ้านเลี้ยงช้างเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะตามวิถีดั้งเดิม แต่ระยะหลังช้างส่วนใหญ่ก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์เรื่องการท่องเที่ยว แต่ช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ไม่มีงาน ชาวบ้านจึงนำกลับมาเลี้ยงที่บ้าน แต่สภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไป จากเดิมเคยเป็นป่าสมบูรณ์ก็กลายเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ทำให้ช้างไม่คุ้นเคย อาจเข้าไปกัดกินสิ่งของที่ถูกทิ้งไว้ตามบ้าน จนเกิดอาการป่วย

ข้อมูลสมาคมสหพันธ์ช้างไทย ระบุว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีช้างที่สัมผัสและกินสารเคมีจนล้มป่วยแล้ว 13 เชือก ในจำนวนนี้มี “พลายเท่ห์” อายุ 28 ปี ช้างเลี้ยงที่บ่านโป่งลมแรง อำเภอแม่วาง ซึ่งเป็นช้างพ่อพันธุ์ลักษณะดี มีอาการป่วยหนักถึงกับล้มตายไป 1 เชือก ส่วนอีก 12 เชือกยังอยู่ในความความดูแลของทีมสัตวแพทย์สมาคมสหพันธ์ช้างไทย

ช้างป่าลงกินน้ำในสระ ขาเจ็บขึ้นไม่ได้

 

 

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ