เช็ก! สิทธิได้เงินชดเชย “เลิกจ้าง-ลาออก-Leave without pay


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เงินชดเชยประกันสังคม สิทธิประโยชน์ ที่ลูกจ้างต้องรู้ กรณีลาออกหรือว่างงานโดนสั่งหยุดงาน รับเงินชดเชยสูงสุด 6 เดือน

สถานการณ์ในประเทศไทย ที่ขณะนี้เผชิญวิกฤตกับโรคระบาดโควิด-19 อย่างหนัก ประกอบกับเจ้าของธุรกิจหลายรายประสบปัญหาแบกรับภาระไม่ไหว ทำให้ต้องติดสินใจปิดกิจการไปบ้าง และต้องปลดพนักงาน ขณะที่บริษัทบางแห่งแม้จะยังสามารถยืนหยัดได้อยู่ในขณะนี้ แต่ก็อาจมีการปรับช่วงเวลาการทำงานของพนักงานให้น้อยลง ด้วยเหตุนี้ทำให้คนจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ ว่างงาน ซึ่งวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ สิทธิประโยชน์ กรณีว่างงาน ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งกับลูกจ้างทั้งหลาย

ด่วน! ประกันสังคม เยียวยาโควิด ลูกจ้าง ได้รับผลกระทบ หยุด-ปิดกิจการ

เช็กด่วน! สปสช.เพิ่ม 4 จุดตรวจโควิด รองรับได้วันละ 10,000 ราย

 

เกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมกรณีว่างงาน

-ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

-มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
-ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
-ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
-เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
-ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
-ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้
    1.ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    3.ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
    4.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
    5.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
    6.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
    7.ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

สิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนจากประกันสังคมในระหว่างการว่างงาน 

1. กรณีถูกเลิกจ้าง  ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท (รายละเอียดย่อย ตามด้านบน)

2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา  ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

3. ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

สถานที่ยื่นเรื่อง
1. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
(เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th) ของ สนง.จัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
2. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่ สนง.ประกันสังคม กทม.พื้นที่/สนง.ประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สนง.ใหญ่ ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

หลักฐานและเอกสารที่ต้องใช้ 

-แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)

-หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้

-หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

-หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้          
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)          
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)           
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)          
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)           
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)           
6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)          
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)           
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)           
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย          
10) ธนาคารออมสิน         
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สำหรับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากการสั่งหยุดงาน หรือ Leave without pay ซึ่งบุคคลที่เข้าข่ายมาตรา 33 มีดังนี้

-คนที่ถูกนายจ้างไม่ให้ทำงาน (Leave without pay) หรือถูกสั่งกักตัว 14 วันจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ประกันสังคมจะจ่ายเงินครึ่งหนึ่งของรายได้ แต่ไม่เกิน 180 วัน

-คนที่ถูกภาครัฐสั่งปิดสถานประกอบการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายครึ่งหนึ่งของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 60 วัน

สำหรับขั้นตอนการขอความช่วยเหลือประกันสังคม จากการสั่งหยุดงาน หรือ Leave without pay

- ต้องกรอกเอกสาร 2 เอกสารที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th ถึงจะมีผลครบถ้วน

- เอกสารแรก เป็นส่วนลูกจ้างกรอกเอง คือ แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (e-form for unemployment benefit)

- เอกสารที่สอง เป็นนายจ้างกรอก คือ แบบฟอร์มยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง) ซึ่งเอกสารตัวนี้จะต้องให้นายจ้างเป็นคนเซ็นยืนยันว่า ถูกสั่งให้หยุดงานจริง 

*เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับสิทธิประโยชน์ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ผ่านช่องทาง e-mail, Web board. Live chat และทาง Facebook : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หรือโทร. 1506 (ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักประกันสังคม

คอนเทนต์แนะนำ
หึงสาวรุ่นลูก ตาวัย 72 ปี คว้าลูกซองยิงตาวัย 69 ปี สาหัส

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ