16 กันยายน วันโอโซนโลก โล่ปกป้องรังสีจากดวงอาทิตย์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันโอโซนโลก (World Ozone Day) 16 กันยายน หยุดโลกร้อนด้วยมือเรา

ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ของโลกนับว่ามีความก้าวหน้าไปมาก และอาจให้ชั้นบรรยากาศยิ่งถูกปกคลุมไปด้วยก๊าซพิษมากขึ้น ทำให้ชั้นบรรยากาศต่างๆ ถูกทำลายลงโดยเฉพาะโอโซน(Ozone) ที่เป็นก๊าซที่พบมากในชั้นบรรยากาศของโลก ช่วยกรองรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์ไม่ให้เข้าสู่โลกของเรา แต่พอโอโซนถูกทำลาย ก็ย่อมส่งผลต่อโลกของเรา อาจทำให้โลกร้อนขึ้น และอาจส่งผลกระทบตามมามากมาย

หาก "ขั้วโลกเหนือ-ขั้วโลกใต้" สลับที่กัน จะเกิดอะไรขึ้น

​หยุดเลย! หากคิดจะรีเฟรชร่างกายด้วยการไป "สูดโอโซน"

ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ของโลกนับว่ามีความก้าวหน้าไปมาก และอาจให้ชั้นบรรยากาศยิ่งถูกปกคลุมไปด้วยก๊าซพิษมากขึ้น ทำให้ชั้นบรรยากาศต่างๆ ถูกทำลายลงโดยเฉพาะโอโซน ที่ถือเป็นก๊าซที่พบมากในชั้นบรรยากาศของโลก ช่วยกรองรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์ไม่ให้เข้าสู่โลกของเรา แต่พอโอโซนถูกทำลาย ก็ย่อมส่งผลต่อโลกของเรา อาจทำให้โลกร้อนขึ้น และอาจส่งผลกระทบตามมา

สำหรับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดเป็นวันโอโซโลก นับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โดยนานาประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2530 ส่วนประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้วันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน วันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยวันที่ 2 ตุลาคม 253

วัตถุประสงค์ของการกำหนดวันโอโซนโลก
1. เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญา ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

ทำความรู้จักโอโซน
โอโซน เกิดจากธรรมชาติเป็นก๊าซสีน้ำเงินที่พบเป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศของโลก มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นเกราะช่วยป้องกัน กรองรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ให้เข้าสู่โลกของเรา โดยเฉพาะรังสียูวีบี เพื่อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และช่วยลดความร้อนสะสมในบรรยากาศอันเกิดจากรังสียูวี ทำให้ลดภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง โรคตาต้อกระจก และป้องกันระบบนิเวศวิทยาไม่ให้เสียสมดุล

สารทำลายโอโซน

-คลอโรฟลูโอคาร์บอน (Chlorofluorocarbons (CFCs))

-ไฮโดรฟลูโอคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons (HCFCs))

-เมทิล โบรไมด์ (Methyl Bromide) และ

-คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride)

วิธีช่วยปกป้องโลกด้วยตัวเรา
1.เลือกซื้อและใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs 

2.หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน รวมหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ้าน

3.ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ปล่อยสาร CFC ที่จะออกมาทำลายชั้นโอโซน ควรเปลี่ยนตู้เย็นที่ใช้มานานกว่า 10 ปี และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนัก

4.เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์ รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย ซึ่งมีสาร CFC เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต และวัสดุเหล่านี้ยังย่อยสลายได้ยาก

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เมื่อโอโซนถูกทำลายมากขึ้น ก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน พร้อมกับทำให้สุขภาพร่างกายของเราก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย เมื่ออากาศร้อนก็มีหลายโรคที่ตามมา เราตามไปดูกันว่ามีโรคอะไรบ้าง

อหิวาตกโรค 
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา ทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็กทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ สีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว รุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคไข้เลือดออก
เกิดจากยุงลาย Aedes aegypti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูงจากเชื้อไวรัสแดงกี โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

โรคอาหารเป็นพิษ
เปิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในอาหาร โดยเฉพาะในสภาวะอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น นั่นหมายถึงจะส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเร็วตามไปด้วย และยิ่งถ้าหากเชื้อแบคทีเรียอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็จะสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและผลิตสารพิษ ได้อย่างรวดเร็วจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดอาการป่วย เช่น ถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ บางรายอาจมีอาการลำไส้อักเสบ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวตามมาด้วย

อ้างอิง
finearts.go.th

tlcthai.com

raklok.net

si.mahidol.ac.th

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ