หมอห่วงมลพิษฝุ่น ก่อโรคปอด เสี่ยงเป็นมะเร็งง่ายขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 กทม.-ปริมณฑล เกินมาตรฐานเป็นวันที่ 3 แม้สถานการณ์หลายพื้นที่จะเริ่มคลี่คลายแต่ก็ยังไม่หมดไป เพราะค่าฝุ่นก็ยังอยู่ในระดับสีส้ม คือ มีผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มคนเปราะบาง

กทม.เช้านี้เจอฝุ่นพิษ PM2.5 ระดับโซนแดง

“อนามัยโพล” พบคนกรุง-ปริมณฑล วิตกฝุ่น PM2.5 ทำลายสุขภาพ

นี่เป็นภาพบรรยากาศบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่ช่างภาพออนไลน์พีพีทีวีเก็บภาพเอาไว้เมื่อเช้าวันนี้ จะเห็นท้องฟ้าโปร่งทัศนวิสัย หรือ ระยะไกลสุดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า จะเห็นอาคารสูงชัด ต่างจากสภาพอากาศกทม.เมื่อวานนี้

รายงานสรุปสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของกรมควบคุมมลพิษ เมื่อเวลา 7 นาฬิกา พบว่า พื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ค่าอยู่ที่ 26-98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

5 อันดับพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน ได้แก่
1.ริม ถ.มาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม 93 มคก./ลบ.ม. (สีแดง)
2.ริม ถ.คลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา 82 มคก./ลบ.ม. (สีส้ม)
3.ริม ถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน
ริม ถ.พุทธมณฑล 1 เขต ตลิ่งชัน 74 มคก./ลบ.ม. (สีสัม)
4.ริม ถ.พระราม 2 เขตบางขุนเทียน
ริม ถ.จรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด 72 มคก./ลบ.ม. (สีสัม)
5.ริม ถ.ดินแดง เขตดินแดง
เขตบางแค 70 มคก./ลบ.ม. (สีสัม)

ด้านการลดผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะตามโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพฯ เช้าวันนี้ ที่โรงเรียนสามเสนนอก ประชาราษฎร์อนุกูล เขตดินแดง ได้ฉีดพ้นละอองน้ำ รอบอาคารเรียน รวม 9 จุด พร้อมงดกิจกรรมเข้าแถวเสาธง เปลี่ยนเป็นเข้าแถวบนอาคารเรียนแทน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายให้คุณครูและนักเรียนทราบถึงสาเหตุและวิธีป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก

จากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เด็ก และสตรีมีครรภ์ ทำให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวเมื่อวานนี้

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิพัฒน์ แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพปอดของเด็กและเยาวชน และผลกระทบสุขภาพประชาชนในระยะยาวซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น

นอกจากผลกระทบต่อปอดแล้วยังมีผลกระทบ ต่อระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น หัวใจ สมอง ไต ทารกในครรภ์ หรือแม้กระทั่งตาแห้ง ข้อมูลการศึกษา เมืองใหญ่ 500 แห่ง ย้อนหลังไป 15 ปี พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของประชากรเพิ่มขึ้น 0.68%

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิธิพัฒน์ ยังเสนอแนะให้ปรับปรุง การเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กของของไทยซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 24 ชั่วโมงว่า ระดับการเตือนภัยแบบนี้อาจไม่ปลอดภัยสำหรับกลุ่มคนเปราะบาง คือ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอด หัวใจ สมอง ไต) ซึ่งเสี่ยงต่อการรับผลกระทบต่อมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก จึงถึงเวลาทบทวนเกณฑ์มาตรฐานค่าฝุ่นในการแจ้งเตือน

นพ.นิธิพัฒน์ เห็นว่า กราฟแสดงค่ารายชั่วโมงควรจะเป็นหน้าแรกที่เห็นก่อนเพราะค่ารายชั่วโมงจะบอกว่าเราควรไปทำกิจกรรม หรือเดินทางหรือไม่ หรือควรรอสักพักให้ฝุ่นจางก่อน ส่วนค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงก็ควรมีเพื่อช่วยให้เราวางแผนล่วงหน้าในวันรุ่งขึ้นได้

 


 

 

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ