เข้าใจระดับการป้องกันจากวัคซีนโควิด-19 เมื่อได้รับแล้ว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศ.นพ.ยง โพสต์เฟซบุ๊ก ให้ความรู้เรื่องระดับการป้องกันจากวัคซีนโควิด-19 เมื่อได้รับแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว นพ.ยง ภู่วรวรรณ  เกี่ยวกับระดับการป้องกันของวัคซีนโควิด-19  ซึ่งการตัดสินประสิทธิผลของวัคซีน จะมีการพูดกันถึงการป้องกันโรคในระดับไหนนั้น ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการในการประเมินวัคซีนจะยากมากเพราะไม่ได้มีการตรวจเชื้อทุกราย หรือสุ่มตรวจเชื้อเป็นระยะ ส่วนใหญ่จะเน้นตั้งแต่มีอาการขึ้นไปหรือต้องนอนโรงพยาบาล

สธ.แจง วัคซีนที่ไทยใช้ คนละชนิดกับที่ฉีดแล้วเสียชีวิต 29 รายที่นอร์เวย์

นอร์เวย์ ตายพุ่ง 29 ราย หลังฉีดวัคซีนโควิด “ไฟเซอร์” ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

แต่สำหรับ วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งการป้องกันเป็น
1.ป้องกันการติดเชื้อ จะไม่แพร่โรค ไม่เกิดการป่วย
2.ป้องกันการเกิดโรค ไม่ป้องกันการติดเชื้อ จะไม่เป็นโรค แต่อาจแพร่เชื้อได้
3.ลดความรุนแรงของโรค ไม่ป้องกันการติดเชื้อ เป็นโรคได้ แต่ไม่รุนแรง ไม่เข้าโรงพยาบาล ไม่ตาย

วัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน ผลการศึกษาที่ออกมาส่วนใหญ่ จะเป็นการป้องกัน การเกิดโรค ลดอาการของโรคและไม่ตาย ไม่ได้มีการศึกษาป้องกันการติดเชื้อ เมื่อให้วัคซีนอาจติดเชื้อได้ การติดเชื้อโอกาสแพร่กระจายโรคได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ทราบ

ดังนั้น เมื่อวัคซีนโควิด-19 สามารถลดความรุนแรง ลดการเข้าโรงพยาบาล ก็พอใจในระดับหนึ่ง รอข้อมูลการศึกษาว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน การศึกษาจะต้องทำและมีรายละเอียดติดตามยาก แต่ถ้าติดเชื้อไม่มีอาการ กล่าวคือทุกคนต้องตรวจเชื้อ ป้ายจากคอมาเปรียบเทียบกันจึงจะรู้

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมา ประสิทธิผลของวัคซีนจะออกมาในรูปของการป้องกัน ลดความรุนแรงของโรค ลดอาการของโรคไม่ให้ต้องนอนโรงพยาบาล หรือถ้าเป็นก็ให้มีอาการน้อยที่สุด การศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังไม่ได้ศึกษาถึงการป้องกันการติดโรคหรือการป้องกันการติดแบบไม่มีอาการ

ดังนั้น การให้วัคซีนขณะนี้ จึงมุ่งเน้นลดความรุนแรงของโรค กลุ่มผู้ที่จะได้รับวัคซีนในขณะนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคแล้วจะเกิดอาการรุนแรง เสียชีวิต ต้องรอดูข้อมูลในอนาคต ถ้าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ถึงแม้จะไม่มีอาการ การให้วัคซีนก็จะมุ่งเน้นไปหากลุ่มที่จะติดเชื้อแบบไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ หรือผู้ที่มีอายุน้อยนั่นเอง

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์และเสร็จสิ้น เพราะต้องการเอามาใช้ก่อน ต้องการข้อมูลเฉพาะเรื่องมาก่อน รายละเอียดทั้งหมดคงต้องรอการวิเคราะห์และศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวต่อไป

"เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีข้อมูลใหม่ๆออกมา เมื่อมีข้อมูลใหม่ออกมากลยุทธ์ในการฉีดวัคซีนอาจเปลี่ยนไปก็ได้ เช่น ให้กลุ่มติดโรคได้ง่าย วัยแรงงาน แล้วเอาไปแพร่กระจายให้ผู้อื่น" 

ดังนั้นในปัจจุบันนี้จาก ”ข้อมูลปัจจุบัน” กลุ่มที่ควรจะได้รับวัคซีนจึงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง มากกว่าที่จะให้ในกลุ่มที่กระจายเชื้อได้ง่าย เช่น ในวัยหนุ่มสาว วัยแรงงานที่แข็งแรง

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ