เล่นฟุตบอลยังไงไม่ให้เจ็บ !!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กีฬาฟุตบอลถือเป็นกีฬาที่เรียกว่าต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย จึงอาจจะมีอวัยวะหลายส่วนที่อาจเกิดการบาดเจ็บได้บ่อย ๆ อย่างแรกที่นึกถึงก็คือหัวเข่า เพราะหัวเข่าเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญในการเล่นฟุตบอล และเป็นอวัยวะที่เจ็บได้ง่าย หากเมื่อไหร่ที่มีการใช้เข่าผิดจังหวะจนได้รับการบาดเจ็บ บอกได้คำเดียวว่า....เกม!!!

สายเฮลท์ตี้ ห้ามพลาด! “พีพีทีวี” ส่ง “แดนนี่” จ่อรายการคุณภาพ  “Health Coach the Series เรื่องสุขภาพ...

เคลียร์ชัด “โรคข้อเข่าหรือข้อเท้าเสื่อม” ภัยใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน

ถ้าเกิดอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าเนื่องจากการออกกำลังกาย เราควรทำอย่างไร 
คุณหมอ :  การบาดเจ็บที่รุนแรงจะพบได้บ่อยมากในกีฬาฟุตบอล, รักบี้, เทนนิส อาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น ปวดบวมบริเวณข้อเข่า,กดเจ็บบริเวณที่เอ็นฉีก, บริเวณแนวข้อ ซึ่งเป็นตำแหน่งของหมอนรองข้อเข่า,เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือเดินแล้วปวดเสียวมากผิดปกติ,การงอเหยียดเข่าไม่ได้ เข่าติดในท่าใดท่าหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดหมอนรองข้อเข่าขาดไป,รู้สึกเข่าบวมหรือผิดรูป อาจเกิดจากเอ็นใหญ่ขาดหรือกระดูกแตก แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นกีฬาฟุตบอลจะมี “การบาดเจ็บที่เอ็นเข่า”

แล้วเรามีวิธีการดูแลหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรครับ 
คุณหมอ :
สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น หมอขออธิบายอย่างนี้ก่อน คืออาการบาดเจ็บของเข่า เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับด้วยกัน 
ระดับที่1 คือการปฐมพยาบาลแบบทันที ด้วยวิธีการที่เราเรียกสั้นๆว่า RICE ซึ่งมีอะไรบ้าง
R =rest คือการหยุดพักและงดจากการเล่น
I = ice คือ การใช้ความเย็นโดยใช้น้ำแข็ง
C = compression คือการประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม
E = elevation คือการทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูงในที่นี้ก็คือยกขาสูงเพื่อที่จะช่วยลดการบวม จากนั้นหากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน หากผู้ป่วยมีอาการบวดลดลง และ ถ้าผู้บาดเจ็บยังสามารถลุกเดินได้ สามรถมาพบแพทย์ภายหลังได้
ต่อมาคือระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นเมืออาการของข้อเข่าบวมมากในช่วงแรกอาจต้องมีอุปกรณ์พยุงข้อเข่า แบบมีแกนโลหะ อุปกรณ์พยุงข้อเข่าและลูกสะบ้า อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ไว้ในช่วงแรก ซึ่งหากมาถึงระยะนี้เราจะเริ่มเข้าสู่การรักษาแล้ว
และระยะที่ 3 คือระยะที่ผู้ป่วยต้องการการดูแลรักษาอย่างละเอียด โดยมากการรักษาจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลง โอกาสติดเชื้อลดลง ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ที่สำคัญคือ สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น เพื่อเข้าไปซ่อมโดยตรง ยกเว้นเอ็นไขว้หน้าและไขว้หลัง ซึ่งผลของการผ่าตัดทำการเย็บซ่อมทราบแล้วว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ ส่วนเอ็นประกับเข่าด้านในหากบาดเจ็บระดับนี้สามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ การรักษาจะใส่เฝือกไว้จากนั้นเปลี่ยนเป็น knee brace ที่ปรับองศาได้

หลังจากทำการผ่าตัดแล้วเนี่ยเรายังต้องมีวิธีการดูแลอย่างไรต่อไปเพื่อให้หายเป็นปกติและสามารถกลับมาลงสนามได้อย่างเป็นปกติครับคุณหมอ?
คุณหมอ :
การดูแลและฟื้นฟูหลังการผ่าตัดนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ นักกีฬาหลายคนที่เคยผ่าตัดรักษาเข่าแล้วไม่สามารถกับไปเล่นฟุตบอลได้เต็มที่ก็เพราะไม่ได้เข้ารับโปรแกรมการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพของกำลังขา และเข่าที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เราจึงเน้นการทำงานเป็นทีมครบทุกกระบวนการรักษา ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจ ขั้นตอนการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านด้านผ่าตัดผ่านกล้องข้อเข่า ไปจนถึงทีมแพทย์ที่ดูแลในขั้นตอนของการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติครับ
 
สำหรับเหล่าแข้งทองทั้งหลาย ข้อมูลดีๆ ที่ได้คงทำให้ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลหายห่วงเรื่องการบาดเจ็บขณะเล่นฟุตบอล เพราะมีวิธีรักษาและดูแลอย่างครบถ้วน แต่สุดท้ายแล้วการเตรียมความพร้อม วอร์มร่างการ ระมัดระวังในการออกท่าทางเพื่อป้องกับเอ็นพลิกเอ็นฉีดจะดีกว่าต้องมารักษาทีหลัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.อานันท์ วิชยานนท์ จากสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย BASEM และโรงพยาบาลกรุงเทพ (BASEM)

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ