ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (ISRR)หลังพบจากการฉีดวัคซีนโควิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทำความเข้าใจ ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (ISRR) ที่อาจเกิดขึ้นได้กับบางคนหลังฉีดวัคซีนโควิด สุดท้าย หมอ ย้ำ แนะนำให้ฉีดดีกว่า

จากกรณีพบผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิดกับประชาชนทั่วไป ตลอดจน นักศึกษาแพทย์และอาจารย์ ล่าสุด ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต คณะแพทศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมากล่าวถึง ปฏิกิริยาที่เกิดกับร่างกายของบุคคลแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันเรียกว่า Immunization Stress Related Response (isrr) หรือ ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน

“ศิริราช” พบ ผลข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนโควิด นักศึกษาแพทย์-อาจารย์ 3 ราย

รพ.ลำปาง พบผลข้างเคียงเกือบ 40 รายหลังฉีดวัคซีนซิโนแวคให้บุคลากร

ศ.ดร.นพ.วิปร  อธิบายว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในบางคนเมื่อเกิดความเครียดต่อการฉีดวัคซีน ก็จะไปกระตุ้นระบบภายในร่างกายของเรา บางคนไปกระตุ้นระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ stress hormone ทั้งหลาย เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล กระตุ้นระบบประสาท ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพราะฉะนั้น ปฏิกิริยาแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ฉีดวัคซีนแกล้งทำ แต่เป็นปกิริยาของคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

ปัจจุบันมีข้อแนะนำว่าหลังฉีดวัคซีนจึงต้องดูอาการ 30 นาที อาจมีปฏิกิริยาแบบนี้เกิดขึ้น เช่น อ่อนแรง ชา ตามัว หรืออาจจะมีวิงเวียน อาเจียน ทีมแพทย์และทีมบุคลากรจะเข้ามาช่วยประเมิน ว่าเป็น ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (isrr) หรือเปล่า หรืออาจจะมีปฏิกิริยาร้ายแรงกว่านั้น เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน เลือดออกเพราะเกร็ดเลือดต่ำ แต่ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นน้อยมากๆ แม้ในต่างประเทศก็ตาม

ดังนั้น ศ.ดร.นพ.วิปร หมอจึงแนะนำให้มีการเตรียมตัวรับมือกับอาการ ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (isrr)  คือ

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.นพ.วิปร  ยังบอกด้วยว่า อาการ ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (isrr) ที่กล่าวมานั้น  เป็นส่วนหนึ่งของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน เรียกว่า Adverse events following immunization หรือ AEFI หมายถึง ความผิดปกติทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและไม่จำเป็นที่จะต้องมีสาเหตุจากวัคซีน

แบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ

1.อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีน (อาจเกิดจากตัววัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีนก็ได้  หรือเกิดจากปฏิกิริยาร่างกายของผู้รับวัคซีนซึ่งเป็นกระบวนการภายในของบุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกัน แบ่งได้อีก 2 แบบคือ

1.1 แบบเฉพาะที่ เช่น เจ็บตำแหน่งฉีด บวมแดง

1.2 แบบเป็นระบบ  เช่น  มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ง่วง มีหลายวิธีดูแล เช่น ทานยาลดไข้ นอนพัก ดื่มน้ำ ทายาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ

และ 2.การแพ้วัคซีน คล้ายคนแพ้อาหารทะเล

ไม่ใช่แค่ไทย ยกข้อมูลต่างประเทศ (บราซิล) หลังฉีดซิโนแวค

ศ.ดร.นพ.วิปร  หยิบยกผลการทดลองที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.64 เปรียบเทียนกันระหว่างการฉีดวัคซีนซิโนแวคกับการใช้ยาหลอกกับบุคลากรทางการแพทย์ 12,000 คน ที่เป็นด่านหน้าและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนปกติ 

จะเห็นว่าปฏิกิริยาที่เป็นผลแทรกซ้อนระหว่างวัคซีนจริง กับ วัคซีนหลอก แทบไม่แต่กต่างกัน คือ คนที่ฉีดยาหลอก มีอาการเวียนหัว อ่อนแรง ชา ได้ และเมื่อมาเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อน ทั้ง แบบเฉพาะที่ และ แบบเป็นเชิงระบบ พบว่า แบบเฉพาะที่วัคซีนจริงมีอาการเจ็บมากกว่า แต่ในเชิงระบบ เรื่องอาการปวดหัว ไม่ได้แตกต่างกัน

นอกจากนั้นแล้ว เส้นกราฟของรูปด้านบน พบว่า ประสิทธิภาพขั้นต้น เส้นสีน้ำเงิน คือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ถูกฉีดโดยวัคซีนหลอก (น้ำเกลือ) มีอาการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วน เส้นสีแดง คือ คนที่ได้รับวัคซีนจริง จะเห็นว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการลดการเกิดอาการได้ 50.7% ขณะเดียวกัน คนที่ติดเชื้อมีอาการระดับที่ต้องให้ออกซิเจน ป้องกันความรุนแรงของอาการได้เกือบ 84% และผู้ป่วยอาการถึงขึ้นต้องเข้าไอซียูป้องกันความรุนแรงได้ 100%

ผลการทดลองนี้ สะท้อนให้เห็นว่า วัคซีนสามารถสร้างความเชื่อมั่นว่ามีประสิทธิภาพในเชิงของการป้องกัน คือ ถ้าติดเชื้อแล้วภูมิต้านทานที่ถูกสร้างขึ้นจากการฉีดวัคซีนเพียงพอที่จะมาทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสไม่ให้ลุกลาม รุนแรง ในระดับที่ต้องเข้าไอซียู หรือ ใช้เครื่องช่วยหายใจได้

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ