สรุปตัวเลข การจัดสรรวัคซีน จำนวนที่ฉีด พร้อมเป้าหมาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




2 วันหลังการปูพรมฉีดวัคซีนให้กับคนไทยพร้อมกันทั่วประเทศ การฉีดวัคซีนครอบคุมประชากรได้ขนาดไหน และถ้าเป็นไปตามเป้าคือฉีดให้ได้ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ วัคซีนที่มีอยู่ในมือจะเพียงเพียงพอหรือไม่

สรุปยอดฉีดวัคซีนวันแรกของการปูพรมทั่วประเทศ ข้อมูลเมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 7 มิถุนายน ทั่วประเทศรวมฉีดได้ 416,847 โดส เป็นผู้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 388,872 ราย ผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 27,975 ราย

เท่ากับว่าตอนนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้วราว ๆ 4 ล้าน 6 แสนโดส ครอบคลุมประชากรมากกว่า 3.2% มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก สะสมรวม 3,243,913 ราย ผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มตามเกณฑ์ สะสมรวม 1,391,028 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 1.99 ของประชากรทั้งประเทศ

“บิ๊กตู่” ตั้งเป้า หาวัคซีนเพิ่มเป็น 150 ล้านโดส เร่งฉีดเข็มแรกให้ปชช.  

สธ.เผยให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด 7 ล้านโดส ชนิดอื่นที่รัฐไม่ได้จัดหา

ส่วนเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม ขณะนี้ฉีดไปได้แล้ว ประมาณร้อยละ 4.63 ของเป้าหมาย

ขณะที่กรมควบคุมโรค เปิดเผยจำนวนวัคซีน ขณะนี้มีวัคซีนอยู่ 3 ล้าน 5 แสน 4 หมื่นโดส แบ่งเป็น แอสตร้าเซนเนก้า 2 ล้าน 4 หมื่นโดส และซิโนแวค 1 ล้าน 5 แสนโดส และจะมีวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ทยอยส่งมอบไปทุกจังหวัดต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มิ.ย.จะมี 8 แสน 4 หมื่นโดส และสัปดาห์ที่ 4 อีก 2 ล้าน 5 แสน 8 หมื่นโดส

ภาพรวมทั้งเดือนิถุนายนนี้จะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนกก้ากว่า 6 ล้านโดส ทั้งนี้หากรวมกับวัคซีนซิโนแวคที่รอเข้ามาอีก 1.5 ล้านโดสก็จะมีวัคซีนในเดือน มิ.ย.ประมาณ 8 ล้านโดส ทำให้มีการคาดกันว่าในเดือน มิ.ย.นี้ไทยจะฉีดวัคซีนสะสมได้ถึง 10 ล้านโดส (รวมกับที่ฉีดสะสมไปกว่า 4.2 ล้านโดส)

และเมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีการนำวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามาฉีดให้กับประชนมากที่สุด วัคซีนตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ได้ผลเพียงใด ก็มีข้อมูล จากสำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (พีเอชอี) เผยแพร่รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ระบุว่า

- วัคซีนจากไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการบรรเทาอาการป่วยและช่วยลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมทั้งการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียได้ หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดส

- วัคซีนทั้งสองจะมีประสิทธิผลราว 33% ในการต่อต้านไวรัสสายพันธุ์อินเดีย หลังจากรับวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 3 สัปดาห์ ส่วนประสิทธิผลต่อไวรัสสายพันธุ์เคนต์ จากสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 50%

- สำหรับผู้ฉีดวัคซีนเข็มสองไปแล้ว 2 สัปดาห์ วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิผลถึง 88% ในการสกัดความรุนแรงของโรคจากสายพันธุ์อินเดีย ขณะที่ ประสิทธิภาพของ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในการการสกัดกั้นความรุนแรงของสายพันธุ์อินเดียได้ประมาณ 60%

- ส่วนสายพันธุ์อังกฤษ วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิผลถึง 93% เทียบกับ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิธผลต่อสายพันธุ์อังกฤษ 66%

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ