แอสตร้าเซเนก้า เปิด ผลวิจัย "ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แอสตร้าเซเนก้า เปิด ผลวิจัย "ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ" ในเข็มสอง พร้อมเทียบผลวิจัย วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า กับ mRNA กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

อัตราของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติที่พบได้ยาก คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง ไม่แตกต่าง จากอัตราการเกิดภาวะนี้ในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน

อังกฤษประกาศบริจาควัคซีน แอสตร้าเซเนก้าให้ไทย 415,000 โดส

โควิดเดลตาเล่นงานเกาหลีใต้ ติดเชื้อนิวไฮ เริ่มระบาดนอกกรุงโซล

เช็กเลย! วิธีลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด อายุ 18 ปีขึ้นไป ผ่าน 3 ค่ายมือถือ ดีเดย์ 29 ก.ค.

ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet วันนี้ แสดงให้เห็นการเกิดภาวะ TTS หลังจากได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง พบผู้ที่เกิดภาวะ TTS 2.3 ใน 1,000,000 คน และพบผู้ที่เกิดภาวะTTS เข็มแรก 8.1 ใน 1,000,000 คน 

 

ด้าน เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) กล่าวว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า ถึงแม้จะมีรายงานการเกิดภาวะ TTS หลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ครบสองเข็มตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาด เพื่อช่วยป้องกันโรคโควิด -19 รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ต่างๆที่พบมากขึ้น

ส่วนรายงานเกี่ยวกับภาวะ TTS ทั่วโลกได้รับการรวบรวมจนถึง วันที่ 30 เมษายน 2564 ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง  สอดคล้องกับรายงานล่าสุดจาก Yellow Card ซึ่งเป็นรายงานรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงอัตราภาวะการเกิดTTS ในระดับต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง

คือ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ แอสตร้าเซนเนก้า ยังคงดำเนินการและสนับสนุนการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

ภาวะ TTS เทียบระหว่าง แอสตร้าเซเนก้า กับ วัคซีนชนิด mRNA (ไฟเซอร์ , โมเดอร์นา)

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เผยแพร่ในฉบับก่อนตีพิมพ์ในวารสาร เดอะ แลนเซต จากกลุ่มประชากร มากกว่า 1,000,000 คน เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติ และภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) หลังการฉีด วัคซีนชนิด mRNA กับ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และเปรียบเทียบกับอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวในประชากรทั่วไปและในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19

พบว่า ความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA มีความคล้ายคลึงกันและแสดงถึงประโยชน์โดยรวม

โดยมีการศึกษาการเกิด ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากและภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) กับวัคซีนทั้งสองชนิด ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่คาดว่า จะเกิดภาวะนี้ในประชากรทั่วไป อีกทั้งยังมีอัตราการเกิดภาวะ TTS ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต่ำกว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งระยะเวลาในการติดตามผลนั้นไม่เพียงพอที่จะรายงานอัตราการเกิดภาวะTTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็ม แต่ยังคงมีการศึกษาอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากนั้นจะต่ำลงหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง

นอกจากนั้นแล้ว จากการวิเคราะห์โดย ไม่คำนึงถึงชนิดของวัคซีนที่ใช้ พบว่า อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้น สูงกว่า กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนมาก โดยอัตราของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสูงกว่าอัตราที่คาดการณ์ไว้ถึง 8 เท่า หลังจากการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19

หมายเหตุ : การศึกษานี้วิเคราะห์จากผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA จำนวน 945,941 ราย (ในจำนวนนี้มี 778,534 คน ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็ม) ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 426,272 ราย โดยทำการศึกษาระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2563 ถึง 19 พฤษภาคม 2564 นอกจากนี้ยังศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 222,710 ราย ที่ระบุว่าติดเชื้อในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2564 และข้อมูลจากประชากรทั่วไป 4,570,149 คน ณ วันที่ 1 มกราคม 2017 จากฐานข้อมูลสาธารณสุขของแคว้นคาตาโลเนีย ประเทศสเปน

ที่มา :  แอสตร้าเซเนก้า 

เชิญออกจากรพ.สนาม “บังซา” หนุ่มไลฟ์สด แฉระบบรพ.สนาม

โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

References งานวิจัยที่อ้างอิง

  1. Burn, E (2021) Thromboembolic events and thrombosis with thrombocytopenia after COVID-19 infection and vaccination in Catalonia, Spain. Pre-print Online: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3886421
  2. Bhuyan P., et al., (2021) Thrombosis with thrombocytopenia after second AZD1222 dose: a global safety database analysis of rare cases. The Lancet. Published Online: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)01693-7/fulltext
  3. MHRA. Coronavirus vaccine - weekly summary of Yellow Card reporting - GOV.UK 1 July Update. Available at: https://www.gov.uk/government/publications/coronavirus-covid-19-vaccine-adverse-reactions/coronavirus-vaccine-summary-of-yellow-card-reporting
  4. Bussel, J.B., et al. (2021) Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome (also termed Vaccine-induced Thrombotic Thrombocytopenia): https://www.hematology.org/covid-19/vaccine-induced-immune-thrombotic-thrombocytopenia
  5. Bhuyan P., et al., (2021) Thrombosis with thrombocytopenia after second AZD1222 dose: a global safety database analysis of rare cases. The Lancet. Published Online: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)01693-7/fulltext
  6. MHRA. Coronavirus vaccine - weekly summary of Yellow Card reporting - GOV.UK 1 July Update. Available at: https://www.gov.uk/government/publications/coronavirus-covid-19-vaccine-adverse-reactions/coronavirus-vaccine-summary-of-yellow-card-reporting

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ