แบบไหนเข้าข่าย "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" ของผู้ติดเชื้อโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมควบคุมโรค นิยามคำว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 พร้อมข้อปฏิบัติ 10 ข้อกรณีเข้าข่าย

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์. ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยากรมควบคุมโรค  กล่าวในการแถลงอัพเดตสถานการณ์และมาตรการควบคุมโรคโควิด 19 ถึงความหมายของคำว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ของผู้ติดเชื้อโควิด-19  หมายถึง ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย (ทั้งใส่แต่ไม่ปิดจมูกหรือปาก) หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ใส่ชุด PPE ขณะเข้าทำหัตถการ รวมถึง

ความต่างระหว่าง “โรคประจำถิ่น” กับ “การระบาดใหญ่” โลกกำลังจะไปทางไหน?

สธ.เพิ่มฟังก์ชัน “แชทบอท” ในหมอพร้อม ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับโควิด-19

- ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เข้าข่ายยืนยัน ในวันเริ่มป่วยหรือภายใน 3 วันก่อนมีอาการป่วย

 

- อยู่ใกล้ พูดคุยกับผู้ติดเชื้อ เข้าข่ายยืนยันในระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอ จาม รดจากผู้ป่วย

- อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทมากนัก ร่วมกับผู้ป่วยนานกว่า 30 นาที

โดยจะแบ่งได้ 4 ประเภท กรณีที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อและจะกลายเป็น ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง คือ 

1.ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงใน ครอบครัว ครัวเรือน

2.ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง สถานพยาบาล

3.ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงใน ยานพาหนะ

4.ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง โรงเรียน ทำงาน ในชุมชน

ดังนั้น เมื่อรู้ว่าเข้าข่าย ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง จะมีแนวทางปฏิบัติซึ่งเรียกว่า 7+3 รวม 10 ขั้นตอน

1. ตรวจสอบอาการตนเอง หรือเช็คประวัติการสัมผัสใกล้ชิด

2.ปฏิบัติตาม Universal prevention และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 100% 

ทำความรู้จัก Universal Prevention for Covid-19 การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล

3.ให้กักตัวเองที่บ้าน แยกของใช้ส่วนตัว สำรับอาหาร ไม่คลุกคลีใกล้ชิด งดทำกิจกรรมร่วมกันกับทุกคนในครอบครัวและแจ้งให้ทุกคนในครอบครัวทราบ

แต่ถ้าไม่สามารถแยกห้องนอนได้ให้เว้นระยะห่าง โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

4.ตรวจหาเชื้อ ATK ครั้งที่หนึ่ง ตรวจวันที่ 5-6 หลังสัมผัสกับผู้ติดเชื้อวันสุดท้าย

5.หากครั้งที่ 1 เป็น ลบ ให้กักตัวเองที่บ้าน 7 วัน และเริ่มขั้นตอนการสังเกตอาการตัวเอง โดยนับจากวันที่สัมผัสผู้ติดเชื้อวันสุดท้าย

คนละครึ่งเฟส 4 วิธียืนยันสิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง เฉพาะคนเก่า 27.98 ล้านคน เริ่ม 6 โมงเช้า 1 ก.พ.นี้

เปิดสถิติหวยออกวันตรุษจีน

6.เฝ้าสังเกตอาการ 3 วัน เน้นเลี่ยงออกจากบ้าน ถ้าจำเป็นต้องทำงานให้เลี่ยงใช้สถานที่สาธารณะ และขนส่งสาธารณะแออัด หนาแน่น งดทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มาก

7.ตรวจหาเชื้อ ATK ครั้งที่ 2 ในวันที่ 10  หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อวันสุดท้าย หรือกลับจากสถานที่เสี่ยง

8.ถ้าตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2 เป็น ลบ เท่ากับ ไม่พบเชื้อ หลังจาก กักตัวครบ 7 วัน เฝ้าสังเกตอาการ 3 วัน

9. หากผลตรวจ ATK เป็น บวก ไม่มีอาการป่วย หรือ ป่วยเล็กน้อย เช่น ไอ เจ็บ คอ ให้ลงทะเบียนโทร สปสช. 1330 หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรักษาตัวและแยกกักตัวที่บ้านพร้อมรับเครื่องวัดออกซิเจน และยาฟาวิพิราเวียร์ 

10.หากผลตรวจ ATK เป็น บวก มีอาการเช่น ไอ หอบ เหนื่อย หายใจไม่ออก แน่นหน้าอกมาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสสัมผัส ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ