สัญญาณเงินไหลออก ทำให้เงินบาทแข็งค่า "จำกัด" จากกนง.ขึ้นดอกเบี้ย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในสัปดาห์นี้ จากการคาดการณ์ กนง.จะขยับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และท่องเที่ยวฟื้นตัว แต่ไปไม่ไกลจากทิศทางเงินไหลออก

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40-33.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.73 บาท/ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.70-33.20 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,529 ล้านบาท แต่มียอดขายพันธบัตรสูงถึง 28,613 ล้านบาท

ค่าเงินบาท "แข็งต่อเนื่อง" ตลาดคาดเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อลง

ทองวันนี้ขึ้นเล็กน้อย 50 บาท แนวโน้มตลาดทองคำแกว่งจำกัด

 

ค่าเงินรบาทอ่อนค่าในช่วงบ่ายวันนี้ (23 ม.ค.) จากช่วงเช้าแข็งค่า่

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40-33.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.73 บาท/ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.70-33.20 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 10 เดือนครั้งใหม่ เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรแต่แข็งค่าเทียบเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเงินเยนผันผวนสูงหลังธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.1% และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control) ตามเดิม

ตลาดยังคงคาดว่าบีโอเจจะยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในอนาคต ทางด้านเงินยูโรแข็งค่าขึ้นขณะที่ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนอยู่ในระดับที่สูงเกินไปและอีซีบีจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ส่วนยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ของสหรัฐฯร่วงลงเกินคาด สะท้อนการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาพเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงในปีนี้ โดยสัญญาณอุปสงค์และเงินเฟ้อที่แผ่วลงอาจสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ลดขนาดการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ในขณะเดียวกันได้สร้างความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย

สำหรับสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า ตลาดจะติดตามข้อมูลการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลเดือนธ.ค.ของสหรัฐฯซึ่งคาดว่าจะบ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง โดยเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงต่อเนื่องขณะที่ตลาดมั่นใจมากขึ้นว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 25bp ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. และวัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยใกล้จะยุติลง ตรงกันข้ามกับอีซีบีซึ่งส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 50bp ต่อรอบประชุมอีก 2 ครั้ง

ขณะที่ ปริมาณธุรกรรมในตลาดเอเชียที่เบาบางลงช่วงเทศกาลตรุษจีนอาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเหวี่ยงตัวผันผวนเกินจริง

สำหรับปัจจัยในประเทศ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะมีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bp เป็น 1.50% ในการประชุมวันที่ 25 ม.ค. โดยนักลงทุนจะติดตามการประเมินของกนง.เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจซึ่งเผชิญความไม่แน่นอนจากภาวะการค้าโลกแต่ได้แรงหนุนจากภาคท่องเที่ยว รวมถึงสัญญาณเงินเฟ้อในภาคบริการ และสถานการณ์ค่าเงินบาทซึ่งแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม เรามองว่ากระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เริ่มกลับทิศอาจช่วยจำกัดการแข็งค่าที่ร้อนแรงของเงินบาทได้บ้างในระยะนี้

คอนเทนต์แนะนำ
NETA เผยปี'65 ธุรกิจประสบปัญหา ปิดยอดส่งมอบได้ 989 คัน
กู้ภัยทยอยรับ 11 ศพ รถตู้ไฟไหม้โคราช ส่งสถาบันนิติเวชฯ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ