เปิดเกณฑ์ กลต.คุมเข้ม "Utility Token - ศูนย์ซื้อขายฯ" บังคับใช้ไตรมาส 2/66


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กลต.เผยหลักเกณฑ์คุมเข้ม Utility Token ที่นำไปลิสต์บนศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องขออนุญาตเสนอขาย เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาอย่างเท่าเทียม รวมถึงห้ามทำ Stake เหรียญ โดยคาดว่าหลักเกณฑ์นี้จะสามารถออกบังคับใช้ได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 66

"บิตคอยน์" พุ่งทะลุ 22,900 ดอลลาร์ ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

ธนาคารไร้สาขากำลังจะมา...ธปท. เปิดรับฟังความคิดเห็น 12 ม.ค.-12 ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกแนวทางการกำกับดูแลโทเคนดิจิทัล (Utility token) เพื่อใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ ในกรณีผู้ออกโทเค่นต้องการนำเหรียญไปลิสต์ (List) ที่ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (DAEX) เพื่อการลงทุน และเก็งกำไร ซึ่งจากเดิมนั้น ผู้ออกโทเค่นไม่ต้องขออนุญาตเสนอขาย และไม่ต้องเปิดเผยข้อมูล ส่งผลให้ กลต. มีความกังวลว่าจะทำให้นักลงทุนที่เข้าไปซื้อขายใน DAEX จะไม่ได้รับความเที่ยมจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและถูกต้อง

ที่ผ่านมา กลต.ได้จัดทำหลักเกณฑ์กำกับดูแล Utility token พร้อมใช้ และได้เปิดรับฟังความคิดเห็นรอบแรกไปแล้ว เมื่อ 30 – 29 มิ.ย. 65 จากนั้นคณะกรรมการ กลต.ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุง รวมทั้งหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งขณะนี้กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นในรอบที่สอง จนถึง 24 ก.พ. 66 เพื่อเตรียมนำหลักเกณฑ์ไปเสนอคณะกรรมการ กลต.อีกครั้ง คาดว่าจะสามารถออกหลักเกณฑ์ได้ภายใน 2 เดือน หรือในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566

ทั้งนี้โทเคนที่มาการลิสต์ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพยดิจิทัลแล้วนั้น ผู้ประกอบการจะต้องรีบแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาราว 60 วัน นับตั้งแต่หลักเกณฑ์มีผลบังคับใช้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการสามารถเสนอช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ภายในช่วงเวลาที่เปิดให้รับฟังความคิดเห็นปรับปรุงหลักเกณฑ์

โดย แนวทางการกำกับดูแล "โทเคนดิจิทัล เพื่อใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ หรือ Utility token พร้อมใช้" กลต.ได้กำหนดโทเคนออกเป็น 2 กลุ่ม  ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 Utility token พร้อมใช้แบบ Voucher/ticket-based token ใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มีช่องทางซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะในวงจำกัด มีการกำหนดมูลค่าเป็นไปตามไกตลาดของสินค้า ซึ่งในกลุ่มนี้ หลายประเทศไม่ได้มีการควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น ดิจิทัลวอชเชอร์, Line Coin แลกสติ๊กเกอร์, เหรียญที่เอาไปใช้สิทธิอ่านหนังสือต่าง ๆ, บัตรแฟนมีตติ้ง, บัตรจับมือ , คะแนนโหวตไอดอล, แสตมป์ดิจิทัล, NFT กระบุกออกสิน และNFT สลากดิจิทัล  เป็นต้น  

กลุ่มที่ 2  Utility token พร้อมใช้แบบที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน การลงทุน เก็งกำไร คล้ายกับผลิคภัณฑ์ทางการเงินในตลาดทุน หรือ ซื้อขายบนแพลตฟอร์มศูนย์ซื้อขายต่าง ๆ  เช่น อีเธอเรียม (ETH), คับ (KUB) และ Governance Tokens ของ DeFi, CeFi, GameFi รวมไปถึงเหรียญที่ผูกกับบล็อกเชนต่าง ๆ  (Exchannge Token) อาทิ ZMT, BTZ, BNB

กฎเกณฑ์กำกับดูแล โทเคนดิจิทัลพร้อมใช้ (Utility token)

กลุ่มที่ 1 Utility token หรือ แบบ Voucher/ticket-based token

  • ยกเว้นการขออนุญาตเสนอขาย เพื่อลดภาระ และต้นทุนผู้ประกอบธุรกิจ
  • ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากไม่ได้มีลักษณะผลิตภัณฑ์ทางการเงินภายใต้ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล
  • ห้ามศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นำ Utility token กลุ่มที่ 1 มาลิสต์ (List) ที่ศูนย์ฯ และห้ามนายหน้าซื้อขาย (DA Broker) หรือ ตัวแทนขาย (Dealer) ให้บริการบริกาการที่เกี่ยวข้องกับ Utility token กลุ่มที่ 1
  • แต่หากศูนย์ซื้อขายและนายหน้า ประสงค์จะให้บริการ Utility token กลุ่มที่ 1 ต้องแยกนิติบุคคลในการให้บริการที่ชัดเจน และจะต้องไม่ใช้ชื่อหรือโฆษณาใด ๆ ให้เกิดความสับสนว่าเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อคุ้มครองนักลงทุนไม่ให้เกิดความสับสน
  • ห้ามผู้ออกโทเค่น (Issuer) รับทำ Stake (นำเหรียญไปวางเงินค้ำประกัน)  ยกเว้น Stake เพื่อการโหวต เข้าร่วมกิจกรรม และยืนยันการทำธุรกรรม แต่ต้องไม่เข้าข่ายการนำไปชำระสินค่าและบริการ

กลุ่มที่ 2  Utility token พร้อมใช้แบบที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน

  • ผู้ออกโทเคน (Issuer) หากต้องการต้องการลิสต์เหรียญบนศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องขออนุญาตเสนอขาย และยื่นไฟลิ่ง (Filing) จากนั้นต้องนำไปเสนอขายผ่านผู้ให้บริการฯ IOC Portal
  • จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล (continuous disclosure) เฉพาะรายงานประจำปี งบการเงิน และหากมีการแก้ไขเอกสารข้อมูล (Whitepaper) จะต้องเผยข้อมูลล่วงหน้า 15 วัน หรือหากเป็นข้อมูลพิเศษ เช่น หยุดประกอบกิจการ เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การประกอบกิจการ ฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น จะต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อนักลงทุนด้วย
  • หากมีการได้รับโทเคนมาในราคาต่ำ หรือได้รับโทเคนแจกฟรี จะต้องมีการกำหนดช่วงระยะเวลาห้ามขายโทเคน (Silent Period) เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่มีการส่งมอบโทเคน
  • ห้ามผู้ออกโทเคน รับทำ Stake ยกเว้นเพื่อการโหวต เข้าร่วมกิจกรรม และยืนยันการทำธุรกรรม แต่ต้องไม่เข้าข่ายการนำไปชำระสินค่าและบริการ และต้องไม่เข้าค่ายเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (MOP)

ลักษณะของ Utility token ที่ไม่เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ (MOP) ตามแนวทาง ธปท.กำหนด

Utility token กลุ่มที่ 1

  1. ต้องระบุสินค้า หรือ บริการที่สามารถนำไปแลกได้อย่างเจาะจง แต่ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเงิน เช่น ซื้อวอชเชอร์โรงแรม
  2. กำหนดจำนวนโทเคนดิจิทัลไว้อย่างชัดเจน สำหรับในการแลกสินค้า หรือบริการ แต่ห้ามแปลงเป็นเงินได้ และหากนำไปซื้อขายบนตลาดรอง จำนวนโทเค่นที่ใช้ในการแลกสินค้าจะต้องไม่แปรผันตามราคาตลาด
  3. เมื่อโทเคนถูกใช้สิทธิแล้ว จะต้องไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้อีก

Utility token กลุ่มที่ 2

  1. ใช้เป็นชำระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของการทำธุรกรรม
  2. ใช้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ
  3. ใช้ในการตรวจสอบ และยืนยันการทำธุรกรรมบนระบบ
  4. มีสิทธิในการกำหนดทิศทาง หรือตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของระบบ
  5. ชำระหรือใช้เป็นส่วนลดค่าธรรทเนียมการทำธุรกรรมซื้อขายสินทรัพยดิจิทัลบนศูนย์ซื้อขายฯ หรือ โครงการ CeFi
  6. ชำระค่าบริการ หรือค่าบริการในเกมออนไลน์ หรือ เมตาเวิร์ส (metaverse) ต้องอยู่ในวงจำกัดในระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น

การกำกับดูแลตลาดรองทั้ง Utility token พร้อมใช้  และ Utility token ไม่พร้อมใช้

1.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาซื้อขาย (listing rules)

- ห้ามลิสต์เหรียญบางประเภท

  • ห้ามลิสต์ Utility token พร้อมใช้กลุ่มที่ 2 ที่ได้รับยกเว้นเสนอขาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประสงค์จะไม่ลิสต์ตั้งแต่แรกแล้ว
  • เหรียญทำ Stake ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตลาดแรกกำหนด เช่น เหรียญที่ Stake แต่ไม่ระบุผลตอบแทนมาจากแหล่งไหน

- การทำข้อตกลง และลิสต์เหรียญในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

  • ผู้ออกโทเคนต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ที่คาดว่าจะมีผลกระทบกับสิทธิประโยชน์และราคาในตลาด รวมถึงเปิดข้อมูลสัดส่วนโทเคนที่ได้รับมาในราคาต่ำ หรือได้มาฟรี และต้อง Silent Period เป็นเวลา 6 เดือน

2.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขาย (Trading rule)

กำหนดให้ศูนย์ซื้อขายฯ ต้องมีการขึ้นเครื่องหมายเตือนนักลงทุน พร้อมกับเปิดเผยข้อมูล เพื่ออธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงที่กระทบสิทธิประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงกิจการต่าง ๆ หรือราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 30% ขึ้นไป เป็นต้น

3.หลักเกณฑ์การกำกับการซื้อขาย (Market Surveillance)

ศูนย์ซื้อขายฯ ต้องมีระบบและวิธีการดำเนินการ เช่น ระบบตรวจสอบแบบพฤติกรรมการซื้อขายแบบ real time และหลักเกณฑ์กำหนดว่าพฤติการแบบใดไม่เหมาะสม รวมถึงผู้รับผิดชอบ และจะต้องส่งข้อมูลราย ก.ล.ต. ให้รับทราบด้วย

คอนเทนต์แนะนำ
เตรียมตัว 1 ชี้เป้าลงทะเบียน "เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5"
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดลดลง 50 บาท ตามทองนอกปรับลงจากขายทำกำไร

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ