รู้หรือเปล่า ลักทรัพย์ในพื้นที่ "อุทกภัย" โทษหนักกว่าปกติ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การลักทรัพย์ ถือว่าเป็นความผิดอาญาที่ไม่ควรกระทำ และถ้ายิ่งลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่ประชาชนเดือดร้อนเช่นอยู่ในช่วงอุทกภัย นั้นมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท

ในช่วงเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ ย่อมมีประชาชนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง และภัยนั้นย่อมสร้างความทุกข์ยากลำบากให้กับประชาชนผู้ประสบภัย หากในช่วงเวลาดังกล่าว มีกลุ่มมิจฉาชีพ หรือหัวขโมย ฉวยโอกาสมาก่อเหตุโจรกรรม ทรัพย์สินมีค่าของผู้ประสบภัย นั้นถือว่าเป็นการซ้ำเติม ความทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยเพิ่มขึ้น  และเป็นพฤติกรรมไม่สมควรอย่างยิ่ง และถ้าหากถูกจับได้ ผู้ก่อเหตุจะถูกดำเนินคดีฐานลักทรัพย์ และโดนโทษหนักว่าการลักทรัพย์ปกติธรรมดา

เรียนรู้เรื่อง "อุทกภัย" ภัยธรรมชาติ ที่ความรุนแรงขึ้นอยู่กับพื้นที่

ขโมยกุ้งสดออกจากร้านหมูกระทะ มีความผิดอย่างไร

โดยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334  ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท 

แต่ถ้าเป็นการลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด “อุทกภัย” หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ นั้นจะเข้าข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) มีอัตราโทษสูงกว่า ลักทรัพย์ปกติธรรมดา

โดยในมาตรา  335 ระบุว่า ผู้ใดลักทรัพย์
    (1) ในเวลากลางคืน
    (2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
    (3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
    (4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
    (5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
    (6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
    (7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
    (8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
    (9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
    (10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
    (11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
    (12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น 

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาทถึง 200,000 บาท

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้ 

 

ที่มา 
 - พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ