พบมีเหยื่อถูกดูดเงินจากบัตร 10,700 ใบ เสียหายกว่า 130 ล้านบาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปัญหาที่ประชาชนถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต ผิดปกติ และมีผู้เสียหายจำนวนมากนั้น แบงก์ชาติ และสมาคมธนาคารไทย เปิดแถลงข่าวร่วม โดยพบลูกค้าถูกตัดเงินจากบัตรเดบิต และบัตรเครดิต 10,700 ใบ ความเสียหายสูงถึง 130 ล้านบาท โดยมิจฉาชีพใช้โปรแกรมอัตโนมัติ หรือ โปรแกรมบอต สุ่มรหัสบัตร และไปตัดเงินในบัตร

ข้อมูลจากสมาคมธนาคารไทย แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 1-17 ตุลาคม ที่ผ่านมา มิจฉาชีพดูดเงินไปทั้งหมด 10,700 ใบ เป็นการตัดเงินจากบัตรเดบิต 4,800 ใบ โดยมีมูลค่าความเสียหาย 30 ล้านบาท ส่วนบัตรเครดิต 5,900 ใบ เสียหายสูงถึง 100 ล้านบาท

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของระบบข้อมูลแบงก์ แต่มิจฉาชีพ ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ หรือ โปรแกรมบอต หรือแมชชีน เข้ามาสุ่มรหัสบัตรต่ผ่านการนำรหัส 6 หลักแรกที่ระบุสถาบันการเงิน แล้วใช้บอตสุ่มรหัส 6 ตัวหลัง 


 

 

เงินหายจากบัญชี บัตรเครดิต - เดบิตถูกแฮก ติดต่อคอลเซ็นเตอร์แบงก์ขอเงินคืน นายกฯจี้แก้ปัญหา

ระงับบัตรแล้ว แบงก์ให้คืนถูกดูดเงิน ให้รีบติดต่อ "แบงก์ชาติ - ส.ธนาคารไทย" แถลงชี้แจงสาเหตุ

เมื่อเจอแล้วก็นำไปตัดเงินในบัตร โดยตัดเงินทีละน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รหัส  ยืนยันตัวตนหรือ OTP โดยที่มิจฉาชีพไม่ได้มีการใช้รหัส 3 ตัวหลังบัตร หรือ CVV เลย

ประธานสมาคมธนาคารไทย ย้ำด้วยว่า แบงก์จะไม่มีการตัดเงินใดๆ ของลูกค้า และจะเร่งคืนเงินให้ภายใน 5 วัน โดยให้ลูกค้าที่ถูกตัดเงินหรือดูดเงินออก โทรหา Call Center ของธนาคารทันที พร้อมระงับการใช้บัตรใบนั้น

ด้านนางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันเช่นกันว่า แบงก์มีระบบการตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติอยู่แล้ว พร้อมกับได้กำชับให้ทุกแบงก์เพิ่มระดับความปลอดภัย ไม่ว่าจะกรณีจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงธุรกรรมในต่างประเทศ ยิ่งต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ

พร้อมขอให้ประชาชน ตรวจสอบธุรกรรมการเงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการผูกบัตรออนไลน์กับแพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตน หรือเว็บไซต์ที่มีความสุ่มเสี่ยง  ทั้งยังมีการประสานกับทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , กระทรวง ดีอีเอส, กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ หามาตรการรับมือกับมิจฉาชีพต่อไป

กรุงไทย เตือนระวังมิจฉาชีพแอบอ้าง “คนละครึ่ง” ส่ง SMS ดูดข้อมูลส่วนตัว

บช.ก.ปฏิบัติการจันทบูร จับยกแก๊ง 'นายกอบจ.จันทบุรี - เจ้าคณะอำเภอสอยดาว' เปิดพฤติกรรมทุจริตสร้างพุทธ...

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าขณะนี้อยู่ระหว่างสืบสวนเส้นทางการเงินว่าถูกตัดในแพลตฟอร์มใด ใครได้ประโยชน์ เพราะถือว่าเป็นความผิด พร้อมระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ที่มีผู้ขายอยู่หลายราย ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้าไปกำกับดูแลให้มีมาตรฐานตรวจสอบได้ การรับจ่ายเงินจะต้องมี OTP ก่อนที่จะตัดเงิน เพื่อความปลอดภัยของเงินในบัญชีด้วย

ส่วนกฎหมายในการกำกับธุรกิจและแพลตฟอร์มออนไลน์ นายชัยวุฒิ ระบุว่าได้ยกร่างไว้เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเสนอเข้า
ครม. เร็ว ๆ นี้ โดยสาระสำคัญ คือ ต้องการให้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทำธุรกิจออนไลน์กับประชาชน มาจดแจ้งการประกอบธุรกิจ เพื่อให้เกิดกำกับดูแล มีการยืนยันตัวตนผู้ซื้อผู้ขายในระบบ ให้มีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมมากขึ้น

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ