"11.11" เทศกาลวันคนโสด กับที่มา วันของการช้อปปิ้งระดับโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดที่มาจุดเริ่มต้นมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก วันที่ 11 เดือน 11 ขณะที่ อาลีบาบา กรุ๊ป บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน เผย ยอดขาย 30 นาทีแรก ทะลุ 3 แสนล้านหยวนแล้ว

ที่มาของคำว่า 11.11  เดิมทีมาจากขนม Pocky (Pocky’s Day)  ซึ่งขนมมีรูปร่างเป็นแท่งเหมือน 11.11 ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีจะนิยมกันมาก ส่วนที่มาของคำว่า วันคนโสด มาจากเลข 1 เป็นเลขที่ดูเหมือนคนยืนคนเดียว จึงเป็นที่มาของคำว่า “วันคนโสด” Single’s Day ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ซึ่งเป็นแนวคิดให้เกิดวันช้อปปิ้งครั้งใหญ่อย่างที่กล่าวไป แต่อีกในหนึ่งในเชิงการตลาด วันที่ 11 เดือน 11 เป็นช่วงเวลาที่ใกล้ถึงช่วงสิ้นปีปฏิทินตามแบบสากล เป็นช่วงเวลาที่จะโละสต็อคสินค้า

อาลีบาบา ทุบสถิติยอดขายวันคนโสดจีน

ซึ่ง แบล็ก ฟรายเดย์ (Black Friday) เกิดขึ้นหลังวันขอบคุณพระเจ้า คือวัน พฤหัสที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งบรรดาห้างสรรพสินค้าจะจัดแคมเปญลดราคากันอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้บริโภคต่างเตรียมซื้อของขวัญในการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสมาสต์

ต่อมาในปี 2548 เมื่อ อี คอมมิร์ซ เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดนักช้อป ไซเบอร์ มันเด (Cyber Monday) จึงเกิดขึ้นใน วันจันทร์แรกต่อจาก แบล็ก ฟรายเดย์ (Black Friday) สำหรับคนที่ไปต่อคิวซื้อไม่ทัน ยังซื้อไม่จุใจ ยังหาของที่โดนใจไม่ได้ ก็สามารถหันมาช้อปปิ้งแบบออนไลน์ได้ ซึ่งต่อมาการจัดโปรโมชั่นจึงยาวมาตั้งแต่ แบล็ก ฟรายเดย์

แต่ที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ 11.11 เทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสด ของจีน เมื่อ  แจ๊ก หม่า มีแนวคิดที่ต่อยอดมาจากวันวาเลนไทน์ เพื่อปลอบประโลมคนโสด โดยตัวเลข 11.11 มีลักษณะคล้ายกับ "กิ่งไม้เปล่า" อันหมายถึงไม่มีจุดไหนที่มีความสัมพันธ์กัน อาลีบาบาจึงนำแนวคิดนี้มาสร้างเทศกาลช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โดยอาลีบาบา กรุ๊ป  เปิดเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสด (11.11) ในปีนี้ที่ถือว่าเป็นการช้อปปิ้งครั้งใหญ่ที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนในจีน เฝ้ารอ โดยเฉพาะในปีนี้น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้คนไม่สามารถออกไปช้อปปิ้งได้ในช่วงเกือบ 3 ไตรมาสแรกของปี

"อาลีบาบา" ทุบสถิติยอดขายวันคนโสด 5 หมื่นล้านใน 2 นาที  

ทันทีที่แคมเปญดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาเที่ยงคืนวันพุธ ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า เพียง 30 นาทีแรก ยอดขายผ่านแพลทฟอร์ม Tmall อยู่ที่ 3.72 แสนล้านหยวน  (56.3 หมื่นล้านดอลลาร์)

ในประเทศจีน เทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดในปีนี้ (11.11) เริ่มต้นเปิดตัวในปี 2552  ซึ่งอัตราเติบโตขึ้นทุกปี โดยหลายประเทศทั่วโลกต่างจัดแคมเปญสำหรับนักช้อปรวมถึงไทย แต่สำหรับอาลีบาบา ถือเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จมาก เมื่อเทียบกับ แบล็ก ฟรายเดย์ และไซเบอร์ มันเด ของสหรัฐ อาลีบาบาทำยอดขายมากกว่าทั้ง 2 แคมเปญรวมกันถึง 2 เท่า

การเติบโตขึ้นกว่าทศวรรษของ อาลีบาบา และ เทศกาลคนโสด มีกำลังซื้อสำคัญจากกลุ่มชนชั้นกลางไม่ต่ำกว่า 400 ล้านคน ที่พร้อมจ่าย โดยเฉพาะในปีนี้ที่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่สามารถออกไปช้อปปิ้งได้ในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นที่น่าจับตาว่าคนกลุ่มนี้จะมา กระหน่ำซื้อสินค้าจาก อาลีบาบา ในช่วงดังกล่าว

หากย้อนดูอัตราการเติบโตของ อาลีบาบา ในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดในปีนี้ (11.11) พบว่า ในปีที่แล้วว่า ยอดขายแตะระดับ 2.684 แสนล้านหยวน (3.83 หมื่นล้านดอลลาร์)  ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 2.135 แสนล้านหยวน (3.05 หมื่นล้านดอลลาร์) ขณะที่ครั้งแรกของการจัดแคมเปญนี้ในปีในปี 2552 มียอดขายเพียง 52 ล้านหยวน

อย่างไรก็ตาม ในปีที่แล้ว อาลีบาบามีสินค้าจาก 200 ประเทศมากกว่า 22,000 แบรนด์ คิดเป็น 1,900 ล้านรายการได้เข้าร่วมเทศ กาลช้อปปิ้งในปีที่แล้ว และมีลูกค้าออนไลน์จำนวนเกือบ 800 ล้านคนต่อเดือนที่เข้าซื้อสินค้าใน Tmall ส่งผลให้อาลีบาบาเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับผู้ขายจากต่างประเทศที่ต้องการเจาะตลาดจีน

โจนาธาน เฉิง หัวหน้าฝ่ายค้าปลีกของจีนที่ Bain & Co.  เปิดเผยว่า "ในอดีตแคมเปญ 11.11 สามารถชี้วัดที่แม่นยำตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกและกำลังซื้อของประชาชน แต่สำหรับปีนี้มีปัจจัย โควิด-19 เข้ามา คุณต้องมองไปที่ประเทศจีนเป็นที่แรกที่กำลังฟื้นตัวจากโรคระบาด ก็จะสามารถชี้วัดประเทศอื่นๆ ได้ เช่นกัน"

และด้วยยอดคำสั่งซื้อที่ถล่มทลาย ผลพวงของแคมเปญนี้ ยังทำให้ธุรกิจคลาวด์ของอาลีบาบา รวมถึงกระเป๋าเงินมือถืออย่าง Alipay ของ Ant Group Co. เติบโตขึ้นไปด้วย

"แจ๊ก หม่า" พร้อมช่วยเกษตรกรรายย่อยขายสินค้าออนไลน์

ที่มา : bloomberg

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ