นักวิชาการ แนะ กทม.ปรับการเจรจาราคารถไฟฟ้า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการ แนะ กทม.ปรับนโนยบายการเจรจาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวใหม่ อย่ามองแค่ราคา-ต้นทุน ต้องยึดประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก พร้อมแนะออกมาตรการค่าโดยสารแบบคนครึ่ง

กมธ.คมนาคม ชี้ กทม.คิดค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท ซ้ำเติมประชาชน

นักวิชาการชี้ BTS ปรับราคา 104 บ. ไม่จูงใจคนใช้เพิ่ม

จากกรณีที่ทางกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายให้อยู่ที่ 104 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.2564 เป็นต้นไป รวมถึงยังมีการพิพาทกันกับกระทรวงคมนาคมถึงการยืดอายุสัมปทานนั้น

โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังหารือกับผู้ดำเนินการอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทำงาน เนื่องจากมีคนทำงานหลายคณะ มีคนเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าเดี๋ยวเขาเสนอแนวทางแก้ไขกันจนได้

ขณะที่มุมมองจากภาควิชาการ นายเอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตร สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ปัญหานี้มาจากการมองคนละมุม ทาง กทม. มองด้านราคากับต้นทุนว่าสามารถรับได้เท่านี้ แต่ในบริบทการคมนาคม ต้องทำให้ทั้งระบบมีโครงสร้างราคาที่สอดคล้องกับค่าครองชีพประชาชน จึงเกิดช่องว่างในการพูดคุยกันขึ้น จึงมองว่าทาง กทม.ต้องเปลี่ยนมุมมอง เพราะระบบรถไฟฟ้าในไทยมีความสามารถหารายได้ในธุรกิจต่อเนื่องสูงมาก หากนำมาเป็นทางเลือกการเจรจาก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีกับทุกฝ่ายมากขึัน ทั้ง กทม.ที่ต้องแบกรับหนี้ เอกชน ลงทุนอยู่รอด และประชาชนได้ราคาที่เป็นธรรม

นอกจากนี้ อาจารย์เอกชัย มองว่า ภาครัฐควรออกมาตรการเพื่อเป็นตาข่ายรองรับผลกระทบให้กับกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้วย โดยใช้เงินจากรายได้เพิ่มเติมของ กทม.เข้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร เพราะมีเครื่องมืออยู่แล้ว ทั้งรายได้ภาษี ฐานะการเงิน เช่น นำเงินภาษีล้อเลื่อนที่ได้รับทุกปี จากป้ายทะเบียนรถ นำมาอุดหนุนค่าเดินทางให้กับประชาชน อาจเหมือนโครงการ "คนละครึ่ง" เฉพาะกลุ่ม ลดราคาให้เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ 50% เป็นต้น แต่กำหนดมาตรฐานทั้งระบบ

ขณะที่ฝั่งผู้ควบคุม หรือ Regulator อย่าง กรมการขนส่งทางราง ต้องมองถึงการใช้นโยบายพัฒนาทั้งระบบด้วยในการเจรจาสัมปทานครั้งนี้ เช่น "ตั๋วร่วม" ให้นำมาเป็นกลไกการพูดคุยกันระหว่างภาคท้องถิ่นกับภาคคมนาคม ซึ่งเป็นมิติที่ต้องเกิดอยู่แล้ว

สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก มีต้นทุนสูง จึงมักเลือกใช้การให้สัมปทาน อย่างอังกฤษจะใช้ภาครัฐรายเดียวในการควบคุมระบบทั้งหมดให้เป็นโครงข่าย แล้วนำรายได้ทุกสายมาหารเฉลี่ยกันทุกเส้นทางก็อยู่รอด แต่ในประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงแยกการให้บริการเป็นแต่ละเส้นทาง ผู้เดินรถแต่ละเจ้าอยู่ ทำให้ภาครัฐต้องพยายามปรับตัวทำงานอย่างแข็งแรง แบบทันสมัย และมีนวัตกรรมมากขึ้น หากรอให้ทุกอย่างจบสัมปทานทุกเส้นแล้วเริ่มต้นใหม่คงเป็นไปไม่ได้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ