‘8 มุมต่าง’ เข้าใจมุมคิด พิชิต Gen Z ไทย


โดย Hakuhodo (HILL-Thailand)

เผยแพร่




ฮาคูโฮโด เอเจนซีโฆษณายักษ์ใหญ่ระดับโลกของญี่ปุ่น เผยผลสำรวจ 8 ข้อ ควรรู้ กับทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลึกที่แตกต่างของเด็ก Gen Z ไทย เมื่อเปรียบเทียบกับเจนรุ่นก่อนหน้า

Gen Z อายุระหว่าง 9-24 ปี (เกิดในปี ค.ศ. 1997 – 2012) โดยมีกว่า 24% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในอาเซียน และมีจำนวนมากถึง 13 ล้านคนในไทย ซึ่งจะกลายเป็นเจเนอเรชั่นที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ

แม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า Gen Z มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีตัวตนทางโซเชียลที่หลากหลาย และมีมุมมองที่เปิดกว้างในการออกความเห็น แต่ก็ยังมีมิติอีกมากมายของ Gen Z ที่น่าสนใจที่ธุรกิจควรทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันการณ์

คน Gen Z อยากเปลี่ยนงานภายใน 1-3 เดือน พร้อมความคาดหวังเงินเดือนที่สูงขึ้น

“เด็กจบใหม่” อยากได้เงินเดือนก้อนแรก 20,000 ขึ้นไป

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN: HILL ASEAN) คลังสมองในการเข้าใจผู้บริโภค ซึ่งก่อตั้งโดย ฮาคูโฮโด เอเจนซีโฆษณายักษ์ใหญ่ระดับโลกของญี่ปุ่น เผยผลสำรวจ 9 ข้อ ควรรู้ กับทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลึกที่แตกต่างของเด็ก Gen Z ไทย เมื่อเปรียบเทียบกับเจนรุ่นก่อนหน้า

1.นิยามความสำเร็จ (Success Definition) 
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘ประสบความสำเร็จกว่าคนอื่น’ การไต่ขึ้นสู่ความสำเร็จให้โดดเด่นกว่าคนอื่นในสายอาชีพเดียวกัน
Gen Z ‘บรรลุเป้าหมายของตัวเอง’ อิสระ และคิดเองในการกำหนดเป้าหมายของตัวเอง แต่ก็อยากทำให้ครอบครัว และเพื่อนภูมิใจ

2. ทัศนคติต่อชีวิต (Life Attitude)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘เติบโตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน’ เน้นความก้าวหน้าอย่างมั่นคง
Gen Z ‘โอกาสมีมากมาย มีทางลัดให้เติบโต’ เพราะเห็นแบบอย่างจาก Influencer/Celeb และคนรอบตัวมากมายในออนไลน์ แต่ก็ยังต้องประเมินความเสี่ยงด้วย

3. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง (Personal Connection)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘เลือกปรึกษาพ่อแม่ก่อนในทุกเรื่อง’ ไม่ว่าเป็นเรื่องการเรียน สุขภาพ  ความรัก การเงิน เส้นทางอาชีพ
Gen Z ‘เลือกปรึกษาแต่ละคน เฉพาะเรื่อง’ จะเลือกปรึกษาเรื่อง การเรียนและสุขภาพกับครอบครัว ในขณะที่จะเลือกปรึกษาเรื่อง การเงินและเส้นทางอาชีพกับเพื่อน เพราะเขาบอกว่าพ่อแม่จะช่วยเหลือได้ดีในแง่มุมของการเริ่มต้นชีวิต แต่ในการเลือกเส้นทาง เขามักจะพึ่งตัวเองและเรียนรู้จากคนรอบข้างเป็นหลัก 

4. ลักษณะการเลือกใช้สื่อออนไลน์ (Purpose of Social Media)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘ใช้สื่อ Social เพื่ออัพเดทข่าวสาร’ เป็นหลักโดยเฉพาะ Facebook, Youtube และ Twitter เพราะเน้นความรวดเร็วในการเข้าถึงเป็นหลัก เช่น LIVE
Gen Z ‘ใช้สื่อ Social หลากหลายหน้าที่’ โดยเฉพาะ IG, Twitter และ Tiktok ในบทบาทที่แตกต่างกัน เพราะเชื่อว่าสื่อเหล่านี้ทำให้ชีวิตสะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยังเลือกที่จะเข้าร่วม community เฉพาะกลุ่มที่ตนสนใจเท่านั้น

5. ประเภทของคอนเทนต์ที่ชอบเสพ (Content type of interest)
Gen รุ่นก่อนหน้า ชอบ “เนื้อหาทันเหตุการณ์” ที่มาในรูปแบบของภาพและคำประกอบ (Text & Photo) ที่สามารถเห็นและเข้าใจง่ายในทันที
3 อันดับหมวดที่ชอบเสพที่สุด ได้แก่ 
•    ท่องเที่ยว 49%
•    อาหาร 47%
•    ข่าวสาร 27% 
Gen Z ชอบ “เนื้อหาขี้เล่น เน้นความบันเทิง” ที่มาในรูปแบบของ Short Stories ในการเล่าเรื่องที่ฝากความสนุก เช่น ใน IG และ Tiktok และชอบใช้ MEME ในการโต้ตอบเพื่อแสดงอารมณ์
3 อันดับหมวดที่ Gen Z ชอบเสพที่สุดอย่างมีนัยยะ ได้แก่
•    บันเทิง 32%
•    ความสวยความงาม 30%
•    แฟชั่น 27%

6. บุคลิกในโลกออนไลน์ (Online Persona)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘มี 1 account ต่อแพลตฟอร์ม’ เพราะต้องการความสะดวกในการเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ค
Gen Z ‘มี 2 account ต่อแพลตฟอร์ม’ เพราะต้องการแสดงบุคลิกแตกต่างไปในแต่ละ community ที่ไปเชื่อมต่อด้วย และตัวตนในออนไลน์ก็จะแตกต่างจากตัวตนจริง นอกจากนี้ยังมีแอคเคาท์หลุม เพื่อหลีกเลี่ยงการติดตามจากพ่อแม่ในสังคมออนไลน์ 

7. สื่อที่มีอิทธิพลต่อความคิด (Influential Source)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘เชื่อข้อมูลจากบุคคลที่มีประสบการณ์ตรงที่เชื่อถือได้’ เช่น พ่อแม่ หรือเพื่อนที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยใช้มาก่อน 
Gen Z ‘65% เชื่อข้อมูลจากออนไลน์ มากกว่าพ่อแม่และเพื่อน’ เพราะเชื่อว่าหาข้อมูลได้กว้างและหลากหลายมากกว่า ทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างและสามารถตัดสินใจที่รอบคอบได้ นอกจากนี้ เขายังอยากจะเขียนรีวิวและแชร์ความรู้และประสบการณ์ออนไลน์หลังจากการซื้ออีกด้วย

8. ทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ (Brand Value Perception)
Gen รุ่นก่อนหน้า ‘สนใจแบรนด์ที่ตระหนัก และช่วยแก้ปัญหาสังคม Responsible Brand’
•    คืนกำไรสู่สังคมและชุมชน 
•    สื่อสารความสุขกับชุมชน
•    ช่วยพัฒนาสกิลใหม่ ๆ ต่อยอดอาชีพและรายได้
Gen Z ‘สนใจแบรนด์ที่มีเจตจำนงที่ชัดเจน และมีการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม Purposive Brand’
•    มีผู้นำที่มีมุมมองเพื่อผู้อื่น
•    มีการแสดงออกที่ชัดเจนตรงกับเจตจำนงของแบรนด์ และประเด็นของสังคม
•    มีประโยชน์ที่จับต้องได้ชัดเจน และมีภาพลักษณ์ดี รวมถึงช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ