เช็กพฤติกรรมผู้ประกอบธุรกิจที่อาจ “ฮั้ว” โดยไม่รู้ตัว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“การฮั้ว” ทำให้การแข่งขันทางการค้าเสียหาย เช็ก 3 พฤติกรรมเข้าข่ายที่อาจจะฮั้วโดยไม่รู้ตัว

“การฮั้ว” เป็นการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อผูกขาดตลาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด ซึ่งการกระทำนี้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้า และเสียหายต่อผู้บริโภค เพราะจะทำให้ต้องสินค้าในราคาที่สูงกว่าปกติ และเป็นการจำกัดทางเลือกซื้อ ซึ่งเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย

การฮั้วในไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การฮั้วแบบร้ายแรง และ การฮั้วแบบไม่ร้ายแรง
1. การฮั้วแบบร้ายแรง
2. การฮั้วแบบไม่ร้ายแรง

ดีเอสไอ จับฮั้วประมูลระบบ “อี-บิดดิ้ง” รายใหญ่

​กสทช. จำลองแผนฮั้วประมูล 4G

ย้อนรอย “ฮั้วประมูล” มอเตอร์ไซค์ตำรวจ “ไทเกอร์”

การฮั้วแบบร้ายแรง (ตามมาตรา 54)
     เป็นการกระทำร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน เช่น บริษัท A และบริษัท B ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน แข่งขันอยู่ในตลาดเดียวกัน แต่ได้มีการทำข้อตกลงเพื่อที่จะทำธุรกิจกันได้โดยไม่แข่งขัน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว มี 4 ลักษณะ
     1.การฮั้วราคาหรือเงื่อนไขทางการค้า เช่น กำหนดราคา เงื่อนไขชำระเงิน ไปในทิศทางเดียวกัน
     2.การฮั้วเพื่อจำกัดปริมาณ เช่น จำกัดปริมาณการผลิต การซื้อ การขาย 
     3.การฮั้วประมูล เช่น ผู้เข้าร่วมประมูลจะสมรู้ร่วมคิดกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะการประมูล
     4.การฮั้วแบ่งตลาด เช่น แบ่งพื้นที่การขาย

การฮั้วแบบไม่ร้ายแรง (ตามมาตรา 55)
     เป็นการกระทำร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน หรืออยู่ในตลาดต่างระดับกัน และไม่ได้เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน มี 5 ลักษณะ
     1.การฮั้วราคา การซื้อขาย ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่คู่แข่งกัน
     2.การฮั้วเพื่อลดคุณภาพสินค้าหรือบริการ 
     3.การฮั้วเพื่อแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลเดียวกันเป็นผู้จำหน่าย 4
     4.การฮั้วเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติทางการค้า
     5.การฮั้วในลักษณะอื่นๆ

เช็ก 3 พฤติกรรมต้องระวังที่อาจทำให้ “ฮั้ว” ไม่รู้ตัว
1.การลดคุณภาพสินค้าหรือบริการ 
2.การแต่งตั้งผู้แทนเดียวในกสนจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
3.การกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติทางการค้า การซื้อขาย

ผลกระทบจากการฮั้ว
     ทำให้เกิดการผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน โดยผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจ จะกำหนดราคา/ปริมาณสินค้า/บริการได้อย่างอิสระ จำกัดสิทธิหรือโอกาสในการดำเนินการของผู้ประกอบการรายอื่น ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 
     แต่ยังมีกรณีที่การฮั้ว ที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ได้แก่ การฮั้วที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยหรือพัฒนาการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคนิคหรือเศรษฐกิจ โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านต่างๆ ไม่เป็นการจำกัดทางเลือกสินค้าและไม่ก่อให้เกิดการผูกขาดในตลาด 

บทลงโทษทางกฎหมายหากเข้าข่ายฮั้ว
     มีการกำหนดบทลงโทษที่่แตกต่างกันไปตามความร้ายแรงที่เกิดขึ้น 
     -การฮั้วแบบรุนแรงตามมาตรา 54 ได้กำหนดบทลงโทษอาญา จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ 
     -การฮั้วแบบไม่ร้ายแรงตามมาตรา 55  มีโทษทางปกครองต้องชำระค่าปรับไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.)

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ