ไทยยังได้ความน่าเชื่อถือ BBB+ จาก S&P มองอีก 2 ปี เศรษฐกิจกลับไปเท่าก่อนโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) พร้อมคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 64 โต 1.1% และจะกลับมาเท่าเดิมก่อนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2566

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+  และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

ครม.ซื้ออีก 4 แสนโดสวัคซีนฮังการี 2 ประเทศบริจาคไฟเซอร์ 1 แสนโดส แอสตร้าฯ 3.5 แสน

“ออมสิน” ออกมาตรการพักชำระหนี้นาน 3 เดือน ช่วยลูกหนี้ประสบภัยน้ำท่วม

1. ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่ง แม้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังผ่านมาตรการต่างๆของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 

จะทำให้การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564–2565 และ หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่ S&P คาดว่า ปี 2566 เมื่อสถานการณ์คลี่คลายรัฐบาล เศรษฐกิจฟื้นตัว รัฐบาล จะสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นและจัดทำงบประมาณขาดดุลลดลง

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ S&P คาดว่า ปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะเติบโต (GDP Growth) ประมาณร้อยละ 1.1 

และจะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.6 ต่อปี ในช่วงปี 2565-2567 จากภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19  ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงได้ อีกทั้งคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ที่ระดับเดิมก่อนเกิด โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Public Private Partnership) เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ

ส่วนอีก 2 ปัจจัยคือ 

2. ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล อีกทั้ง สภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดย S&P คาดว่าสภาพคล่องต่างประเทศ (External liquidity) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ

3. ปัจจัยสำคัญที่ S&P จะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม และเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง

ครม.ซื้ออีก 4 แสนโดสวัคซีนฮังการี 2 ประเทศบริจาคไฟเซอร์ 1 แสนโดส แอสตร้าฯ 3.5 แสน

“ชัยวุฒิ” ชี้ปรับครม.เป็นอำนาจนายกฯ เชื่อไม่ปรับ เป็นเรื่องดีทำงานต่อเนื่อง

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ