น้ำท่วมทั้งประเทศเสียหาย "หมื่นล้าน" พร้อมคาดการณ์เป้าเศรษฐกิจโต 3.5%


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไทยช่วงปลายปี เผชิญน้ำท่วมแม้ว่าโควิด-19 จะคลี่คลาย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโซนเมืองหลายพื้นที่ ภาคเอกชนประเมินความเสียหายราว 5,000-10,000 ล้านบาท แต่ยังได้แรงหนุนท่องเที่ยว ปรับคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจ ที่ 3-3.5%

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เดือนตุลาคม 2565  ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ปี 2565 ช่วงที่ผ่านมา โซนเมืองหลายจังหวัด ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจกระทบต่อความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชน

เงินเฟ้อเริ่ม "ชะลอ" ก.ย.เหลือ 6.41% แต่ของยังแพงต่อตามต้นทุน

"ช่วยลูกหนี้โดนพายุโนรู" ลดดอกเบี้ย -พักชำระหนี้ เร่งด่วน

ส่วนภาคการเกษตรได้ผลกระทบบ้างในพื้นที่เพาะปลูกข้าว แต่โดยรวมยังไม่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจมากนัก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมผู้ประกอบการยังมีความมั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยได้

คาดการณ์ความเสียหายรวมทั้งประเทศ ประมาณ 5,000 – 10,000 ล้านบาท

แต่ก็ยังมองว่า เศรษฐกิจไทยได้อานิสงค์จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด ท่ามกลางแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและอาจกระการส่งออก แต่ภาคท่องเที่ยวเข้ามาช่วยสนับสนุนทำให้ที่ประชุมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565

  • จีดีพีจะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 3.5%
  • มูลค่าการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ในกรอบ 7.0% ถึง 8.0%
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในกรอบ 6.0% ถึง 6.5% 

ทำไมความหวังอยู่ที่ "ท่องเที่ยว" 

ภาคเอกชน ประเมินว่า ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับสูงขึ้นกว่าคาด โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 1.17 ล้านคน คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2565 มีโอกาสแตะระดับ 9 - 10 ล้านคน

ส่งผลดีต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน ส่งเสริมอุปสงค์ภายในประเทศให้ทยอยฟื้นตัว แต่ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงต่อกำลังซื้อของครัวเรือน และความเสี่ยงต่อรายได้ภาคเกษตรจากภาวะน้ำท่วม

 

คอนเทนต์แนะนำ
น้ำเหนือลด กลางตอนบนอ่วม เจอน้ำท่วมหนักหลายจุด บางที่ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร
อยุธยา น้ำเพิ่มต่อเนื่อง แหล่งท่องเที่ยวเสริมคันดิน วัดหลายที่งดรับฌาปนกิจชั่วคราว

 

 

อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มยืนอยู่ในระดับสูง

แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล แต่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง เพราะต้นทุนการนำเข้าจากเงินบาทอ่อนค่า ในระดับ  38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่ได้ลดลงมาก ค่าไฟยังมีการปรับเพิ่มขึ้น การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. ล้วนเป็นปัจจัยกดดันต้นทุนของผู้ประกอบการที่จะต้องส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการ

เศรษฐกิจโลกชะลอตัวชัดเจนมากกว่าที่คาด

ผลกระทบสงครามความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ โดยเฉพาะปัญหาจากการโจมตีท่อส่งก๊าซของรัสเซีย ซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันต่อวกฤตพลังงานและความเสี่ยงการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป 

เศรษฐกิจจีน เจอปัญหาขาดแคลนพลังงานและการล็อกดาวน์ ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะเฟดที่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ซึ่งมีแนวโน้มทำให้ภาพอุปสงค์ของโลกมีการชะลอตัวลง

โดยสรุปคือ ภาคเอกชนมองว่าในช่วงไตรมาส 4 เศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยกดดันใหม่ คือ "ภัยพิบัติ" ที่ทำให้เศรษฐกิจในหลายเมือง และสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบ แต่ยังคงมีความหวังของการท่องเที่ยวที่จะทำให้ ช่วงปลายปีนี้ เศรษฐกิจฟื้นขึ้นมาได้บ้าง

 

คอนเทนต์แนะนำ
เงินเฟ้อเริ่ม "ชะลอ" ก.ย.เหลือ 6.41% แต่ของยังแพงต่อตามต้นทุน
เจาะสิทธิ "ช้อปดีมีคืน" ซื้ออะไรบ้าง? ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ปี 65
เช็กสถิติวอลเลย์บอลสาวไทย พบ เยอรมนี ศึกชิงแชมป์โลก 2022

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ