ย้ำเตือนการใช้ พาราฯ ให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับ “ตับ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




.

สหแพทย์เภสัช (Medicpharma) เปิดตัว “BAKAMOL” พาราเซตามอลเม็ดเหลือง “บรรเทาปวด” - “ลดไข้” พร้อมแนะวิธีคำนวณปริมาณยาที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว ป้องกันปัญหาได้รับยาเกินขนาดก่อน “ตับเป็นพิษ” 

“การได้รับยาเกินขนาด” ถือเป็นปัญหาใหญ่ของวงการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก แม้ว่าที่ผ่านมาหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พยายามหาวิธีแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ แต่ด้วยพฤติกรรมและความเคยชินของผู้บริโภค ทำให้ผลเสียที่เกิดขึ้นกับร่างกายจากสาเหตุดังกล่าว ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันไม่เฉพาะ “ยาปฏิชีวนะ” ซึ่งถือเป็นกลุ่มยาที่ทำให้เกิดการดื้อยาเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยาแก้ปวดลดไข้ยอดนิยม นั่นก็คือ “พาราเซตามอล” ยาพื้นฐานที่ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ มักเลือกใช้เป็นอันดับแรกเมื่อมีอาการ 

เหตุที่เป็นยายอดนิยมเพราะ พาราเซตามอล ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร สามารถรับประทานพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างได้ เหมาะจะใช้แก้ปวดลดไข้ทั่วไป และในผู้ที่มีโรคแผลในทางเดินอาหาร ผู้ที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs ตัวยาออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการสร้างสารเคมีบางตัวในสมองของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง

ทั้งนี้ หากโฟกัสเฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทย หลายครั้งเมื่อมีการหยิบยกปัญหาการใช้พาราเซตามอล มากเกินปริมาณที่เหมาะสม มักถูกชี้ไปที่ความไม่รู้ของผู้บริโภค ประกอบกับราคายาที่ค่อนข้างถูกและหาซื้อง่าย ปัจจัยเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาด ซึ่งหากสะสมในร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดพิษต่อ “ตับ” อวัยวะที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นทั้งแหล่งสร้างอาหาร ซ่อมแซมร่างกาย และทำลายสารพิษ โดยรายงานจากศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่าปี 2558 มีรายงานพิษจากพาราเซตามอล รวม 960 ราย

ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการใช้ยาที่ถูกต้อง ให้เกิดประสิทธิภาพและโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด “BAKAMOL” พาราเซตามอล “เม็ดเหลือง” โดย สหแพทย์เภสัช ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (GMP PIC/s) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และระบบบริหารคุณภาพระดับสากล ISO 9001 ในทุกหมวดยาที่ผลิต และ ISO 17025 สำหรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ขอย้ำเตือนข้อควรระวังพื้นฐานในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ดังนี้ 

- ห้ามใช้เกิน 8 เม็ด/วันเพราะอาจเป็นพิษต่อตับ
- ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน
- ผู้ที่เป็น “โรคตับ” และ “โรคไต” ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
- ห้ามใช้หากมีอาการแพ้ยาพาราเซตามอล เช่น มีผื่น อาการคัน เป็นลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ตาบวม เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาด โดยเฉพาะจากยาแผงบรรเทาหวัด ยาคลายกล้ามเนื้อบางสูตร
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้พาราเซตามอล เพราะเป็นการเพิ่ม ความเสี่ยงทำให้เป็นพิษต่อตับ
- ไม่ควรใช้พาราเซตามอล ร่วมกับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วอร์ฟาริน เพราะทำเลือดไหลไม่หยุดได้ และยากันชัก เช่น บาร์บิทูเรต เฟนิทอยน์ เพราะทำให้เกิดพิษต่อตับได้มากขึ้น

นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนกินยาแต่ละครั้ง คือการคำนวณน้ำหนักตัวเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม โดยข้อมูลจากศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ระบุว่าปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ ต้องไม่เกิน 4,000 มก./วัน หรือ 10 - 15 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินเวลาที่กำหนด แบ่งเป็นการกินเพื่อแก้ปวด 5 วัน เพื่อลดไข้ 3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ 

 

 

ตัวอย่าง น้ำหนัก 50 กก. ควรใช้ยาไม่เกิน 750 มก./ครั้ง พาราเซตามอลที่หาซื้อได้ง่ายที่สุดในบ้านเราคือ 500 มก. หากกินครั้งละ 2 เม็ด จะได้รับปริมาณยา 1,000 มก. แสดงว่าทุกครั้งที่ใช้ยาเรากำลังได้รับยาเกินขนาด ที่สำคัญหากยึดความถี่ในการกินทุก 4 ชม. ในหนึ่งวันอาจกินยาได้ถึง 6 ครั้ง รวมแล้วร่างกายจะได้รับยาสูงถึง  6,000 มก. ซึ่งเกินกว่าขนาดที่เหมาะสม 4,000 มก./วัน ส่วนใครที่น้ำหนักตัวมากและคำนวณ ได้เกินกว่า 1,000 มก./ครั้ง ก็ควรกินแค่ 1,000 มก. เท่านั้น

ส่วนวิธีการเก็บพาราเซตามอลที่ถูกต้องนั้น ควรเก็บยาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ในภาชนะปิดสนิทอย่าให้โดนแสงโดยตรง ในที่แห้ง ไม่ควรเก็บไว้ในห้องน้ำหรือห้องครัว ที่สำคัญต้องอยู่ในที่ที่พ้นจากสายตาและมือเด็ก ป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากการนำยามาเล่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 


 

ติดตามเรื่องราวดีๆ ร่วมแชร์ความไม่ปวดกันได้ที่  www.nopainyougain.net

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ