คุยกับ ผู้นำ NIA ดร.พันธุ์อาจ กับแนวคิดติดปีกสตาร์ทอัพให้โตไวในสนามพื้นที่เศรษฐกิจ อีอีซี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี คือสนามการลงทุนที่มีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจของไทย นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่ที่จะเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพ กลุ่มดีพเทค (Deep Tech) สาขา ARI-Tech เข้าไปต่อยอดทางธุรกิจ ภายใต้โปรแกรม Global Startup Hub: EEC

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เร่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ผ่านการผลักดันสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือดีพเทค (Deep Tech)สตาร์ทอัพในสาขา ARI-Tech เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการเติมเต็มเทคโนโลยีใหม่จากสตาร์ทอัพ พร้อมยกระดับความโดดเด่นในด้านการเป็นฐานแห่งการผลิต และดึงดูดให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจที่จะลงทุนหรือขยายธุรกิจในอนาคต

วิกฤตสภาพอากาศอาจบีบให้ 216 ล้านคนทั่วโลกต้องย้ายถิ่นฐานภายในปี 2050

NIA ผนึกกำลังพันธมิตรรังสรรค์เทคโนโลยีอวกาศ

โดยจับคู่ 10 สตาร์ทอัพให้ได้มีโอกาสทำงานร่วมภาคอุตสาหกรรมจริงกับหน่วยงานและบริษัทเทคโนโลยีในพื้นที่อีอีซี

รวมถึงการจัดกิจกรรม DEMO DAY เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานและแผนธุรกิจของของสตาร์ทอัพกับนักลงทุนขนาดใหญ่ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสตาร์ทอัพผู้ชนะที่ได้รับรางวัล The Best Performance ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากคณะกรรมการ) ได้แก่ ทีม AltoTech และรางวัล The Popular ARI Tech Startup Award (ตัดสินจากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน) ได้แก่ ทีม MOVEMAX

พีพีทีวี นิวมีเดีย มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก่อนหน้านี้ถึงการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดและดึงดูดการลงทุน ซึ่ง ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า  พื้นที่อีอีซีคือ บทบาทใหม่ คือการสร้างให้เกิดอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ของประเทศ ที่ใช้ งานวิจัย การพัฒนาและนวัตกรรมเข้ามา ทำให้ สตาร์ทอัพมีบทบาทสูง แต่สิ่งที่โดดเด่น คือ เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่มีความสามารถในงานวิจัยต่างๆ และดึงเอาองค์ความรู้จากสถาบันวิจัยต่างๆ เข้ามา เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในอีอีซีได้ ถือว่าเป็นรูปแบบการทำงานแบบใหม่

เมื่อก่อนจะเป็นในรูปแบบรับจ้างผลิต แบบ OEM ( Origianl Equipment Manufacturer) แต่ตอนนี้จะกลายเป็น ODM (Original Design Manufactuere) สตาร์ทอัพ  สามารถออกแบบ พัฒนาสินค้าหรือใช้เทคโนโลยีของตัวเอง จะไม่ใช่แค่ดึงเอาต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานแล้วเราทำธุรกิจประกอบให้อย่างเดียว

 

ขณะเดียวกัน สตาร์ทอัพที่ NIA ดึงเข้ามาคือกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ภายใต้โปรแกรม Global Startup Hub: EEC โดยในปีนี้ NIA นำร่องสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARI-Tech) ซึ่งประกอบด้วย

Artificial Intelligence หรือ AI เทคโนโลยีทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจและเรียนรู้องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา

Robotic หรือ หุ่นยนต์

และ Immersive ซึ่งเป็นนวัตกรรมเสมือนจริง รวมถึงการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตควบคุมสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานเทคโนโลยีเชิงลึกที่สามารถเชื่อมโยงกับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของอีอีซีที่จะนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันและเติมเต็มมูลค่า

สตาร์ทอัพที่โตมาจากการทำวิจัย หรือไม่ก็ผันตัวเองมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้น และมีความรู้ด้าน AI มีความรู้ด้าน Robotic  ด้าน Immersive  จะพัฒนาสิ่งเหล่านี้ไปเป็น ซัพพลายเออร์ (Supplier) ให้กับหลากหลายอุตสาหกรรม หรือ เป็น Foundation ให้กับหลายอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีจากสตาร์ทอัพไปใช้

และหนึ่งในหนทางที่เร็วที่สุดที่จะทำให้ สตาร์ทอัพ เข้าใจความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและนำเทคโนโลยีไปต่อยอดในอุตสาหกรรมต่างๆ และสามารถขยายผลในเชิงธุรกิจได้จริง นั้น “การจับคู่ธุรกิจ” จึงเป็นวิธีและแนวคิดที่ NIA นำมาใช้ในโครงการนี้

ซึ่งก่อให้เกิด โอกาสที่สำคัญใน 4 มิติ คือ

1.โอกาสการขยายตลาดใหม่

2.โอกาสการสร้างความความร่วมมือกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ต่อเนื่องถึงการสร้างธุรกิจใหม่ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่

3.โอกาสการปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ตอบโจทย์การใช้งานและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ ตลาด และห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่สำคัญต่อการยกระดับระบบนวัตกรรมของประเทศ

4. พัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกของไทยที่ในอนาคตสามารถขยายธุรกิจในระดับนานาชาติต่อไป

หัวใจสำคัญคือ SML มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เมื่อก่อนมีแต่ SME  แต่เราได้คัดเลือกมา 10 ทีม ที่จะเข้าไปพัฒนากระบวนการทางอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในพื้นที่ อีอีซี ในรูปแบบ Co-creation

 

 

TOP ไอที
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ