ชี้ชะตา "ม็อบ 3 นิ้ว" ตร.นัดถกฟัน ม.112 บรรยากาศกล้าๆกลัวๆ บทเรียนยุค "อภิสิทธิ์" หาหลังพิงให้ตำรวจ!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตร.เรียกพนักงานสอบสวนกางสำนวนพรุ่งนี้ ชี้ชะตาม็อบปลดแอก 3 นิ้ว รอดไม่รอด ม.112 "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ถอดบทเรียน เคยผ่านมาแล้ว บรรยากาศที่เจ้าหน้าที่รัฐกลัวๆกล้า จะฟันข้อหาร้ายแรง

สัญญาณชัดเจนจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ผ่านแถลงการณ์ถึงกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง 3 ข้อหลัก ว่าพร้อมใช้กฎหมายทุกฉบับที่มี เพื่อควบคุมสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้

ด่วน! นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ สถานการณ์ชุมนุมทวีความรุนแรง ประกาศใช้มาตรการเข้มข้น กม.ทุกข้อที่มี

ตร. ยัน ดำเนินคดีผู้ชุมนุมทุกรายที่เข้าข่ายทำผิด พร้อมใช้ ม.112

ประกอบกับเสียงเสียงร้องจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลให้นำกฎหมายอาญา มาตรา112 มาใช้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสียที

ทำให้กฎหมาย ม.112 มาตรานี้ถูกหยิบยกและคาดการณ์ว่าเป็นหมัดเด็ดที่รัฐจะให้กำราบผู้ชุมนุม

สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  นั้น เขียนว่า

"มาตรา 112  ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

ล่าสุด มีรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ว่า พรุ่งนี้ (24 พฤศจิกายน) พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกประชุมพนักงานสอบสวนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีประเด็นสำคัญคือการพิจารณาแจ้งข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี  ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเป็นเรื่องเป็นข่าว ทาง PPTV HD ช่อง 36 เมื่อ 6 พฤศจิกายน ตอนหนึ่งถึงการดำเนินคดี มาตรา 112 ในช่วงที่ตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2551-2554

"สมัยที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ประเด็นเรื่องมาตรา 112 เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมา  ผมก็เห็นปัญหา ว่า  1. มาตรา 112 มีเหตุผลของการดำรงอยู่ของมาตรานี้ เช่นเดียวกับอีกหลายๆประเทศที่มีสถาบันฯ อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่เห็นได้ชัดว่า ม.112 เริ่มมีปัญหา ถูกตีความไม่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมาย 2.เป็นกฎหมายที่มีการไปร้องทุกข์กล่าวโทษโดยใครกับใครก็ได้ แล้วบรรยากาศบ้านเมืองทำให้เจ้าหน้าที่รัฐกังวล เช่นตำรวจถ้าไม่ทำเรื่องนี้ต่อก็จะโดนเสียเอง ส่งไปอัยการ อัยการก็กลัวถ้าไม่ส่งฟ้องจะถูกตั้งคำถามเรื่องนี้

“สิ่งที่ผมทำวันนั้น ผมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เฉพาะเรื่อง ม.112  เป็นนักกฎหมาย ผู้อาวุโส สิ่งที่ทำตอนนั้นก็เห็นว่าบางคดีเป็นการให้คำวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการ บางคดีเกี่ยวกับสื่อต่างประเทศที่ไม่รู้ประเพณี วัฒนธรรม การจัดวาง คณะกรรมการชุดนี้ก็ไปดู ก็มีความเห็น บางคดีไม่มีเจตนาดูหมิ่น อาฆาต มาดร้ายตามเจตนาของ มาตรา 112

เขาก็ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่ว่าคดีนี้เป็นอย่างนี้ เจ้าหน้าที่สามารถดึงคดีออกจากระบบได้ เจ้าหน้าที่ก็มีความมั่นใจ ว่าจะไม่มีใครมาเล่นงานเขา อย่างน้อยเขามีหลังพิงหน่อย ว่ามีคณะที่ปรึกษา ผมยกตัวอย่างมา ให้เห็นว่า คดีเรื่องสถาบันคุยได้ ต้องใช้คนที่มีความรู้ความเข้าใจพอสมควร” อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งผ่านวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง เสนอแนะ

ด้าน พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล  กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าดำเนินคดีไปแล้ว 107 คดี ส่งให้อัยการพิจารณาไปแล้ว 24 สำนวน และในสัปดาห์นี้จะส่งให้อัยการพิจารณาอีก 9 สำนวน ส่วนเรื่องการออกหมายเรียกหรือหมายจับ แกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 17 และ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ยังอยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวน    

เยาวชนปลดแอกโพสต์เดือด "ฟางเส้นสุดท้ายขาด"

 

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ