ทภ.3 เตรียมสถานที่ 23 แห่งรองรับผู้หนีภัยรัฐประหารเมียนมา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กองทัพภาคที่ 3 เกาะติดชายแดน จ.ตาก ใกล้ชิด คาดผู้อพยพ 2 กลุ่ม มารักษาโควิด - นศ.รับผลกระทบยึดอำนาจ พร้อมจัดสถานที่รับอพยพ ทั้ง 'คนไทย-เมียนมา - ต่างประเทศ'

มทภ.3 สั่ง ตรึงกำลังแนวชายแดน หลังเมียนมาก่อรัฐประหาร

ชาวเมียนมาประกาศประท้วงจนกว่าจะชนะ

วันที่ 19 มี.ค. 2564 กองบัญชาการกองพลทหาราบที่ 4  จ.พิษณุโลก พล.ต.เทอดศักดิ์ งามสนอง เสนาธิการกองทัพน้อยที่​ 3 เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทัพภาคที่ 3 เตรียมความพร้อมในการหาสถานที่รองรับผู้หนีภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมาด้านจังหวัดตาก ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารบกเรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนจะจัดเป็นพื้นที่แรกรับเพื่อคัดแยก แบ่งไปตามสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ขณะนี้ได้มีการตั้งเต็นท์ภายในสนามกีฬาแล้ว ยืนยันว่ามีความพร้อมมากกว่า 90%

สำหรับการปฎิบัติจะจำแนกเป็นสองกลุ่มคือ 1. กลุ่มที่หลบหนีเข้ามาเพื่อรักษาตัวเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากระบบสาธารสุขของประเทศเขาไม่เพียงพอ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปดูแลส่วนนี้

กลุ่มที่ 2.คือผู้ที่ได้รับผลกระทบหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ ซึ่งมีการมองว่า อาจจะมีนักการเมืองนักศึกษาที่ต่อต้านรัฐบาลหนีเข้ามา ขณะนี้อยู่ในช่วงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร

จับตา! กองกำลังชาติพันธุ์เมียนมา หลัง CRPH ปลดล็อก ยิงสู้กองทัพได้

สำหรับการประสานงานระหว่างทหารกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อไม่ให้ปล่อยตัวผู้ลักลอบหนีเข้าเมืองหลังถูกจับกุมนั้น พล.ต.เทอดศักดิ์ กล่าวว่า ทหารทำงานในการตรวจพื้นที่ 24 ชั่วโมงโดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชนทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ต้องเข้าใจว่า ก่อนหน้านี้สภาพความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยบริเวณแม่น้ำเมยและสาละวินไม่ใช่ลักษณะการแบ่งเขตประเทศ แต่เป็นการอยู่แบบชุมชน. บางคนอยู่ฝั่งเมียนมา แต่ลูกหลานมาเรียนฝั่งไทยมาอาศัยในหมู่บ้าน การแยกแยะก็เป็นหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเข้าข่ายนี้ก็จะผลักดันกลับประเทศ แต่ไม่ใช่ และเข้ามาแบบผิดกฎหมายหรือมีการนำพาแรงงานเก่าเข้ามา ต้องถูกจับกุมดำเนินคดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดทำแผนปฎิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมา ด้านจังหวัดตาก โดยแบ่งเป็นสี่ขั้นตอนประกอบด้วย

1.การประเมินสถานการณ์ซึ่งได้วิเคราะห์ว่ามีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบให้เกิดการหนีภัย

2.ขั้นตอนการแรกรับเพื่อคัดแยกกลุ่มบุคคลก่อนส่งไปรวบรวมในพื้นที่พักรอและกักกันโรคพื้นที่ โดยมี ผบ.ฉก.ร.4 เป็น ผบ.เหตุการณ์พื้นที่แรกรับ

3.การนำพื้นที่พักคอยและกักกันโรคซึ่งจัดตั้งขึ้นในสภาวะฉุกเฉินโดยจะจำแนกตาม ประเภทบุคคลเพื่อนำไปควบคุมและกักกันโรคในสถานที่ที่กำหนดโดยมีนายอำเภอประจำท้องถิ่นนั้นเป็นผบ.เหตุการณ์พื้นที่พักรอ ซึ่งหากตรวจพบผู้ป่วยให้ส่งตัวไปรักษาทันที

4.การปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องหลังสถานการณ์คลี่คลายโดยพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นผู้หนีภัยสงครามหรือต้องการลักลอบเข้ามา

ทั้งนี้ได้จัดประเภทบุคคลเป็น3 กลุ่ม1.กลุ่มคนไทยที่ทำงานในเมียนมาร์ 2.บุคคลสัญชาติเมียนมาที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลหรือกองกำลังติดอาวุธและ3.บุคคลสัญชาติอื่นเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศกลุ่มเอ็นจีโอบุคคลอื่นๆผู้ลี้ภัยทางการเมือง

สำหรับพื้นที่รองรับในจ.ตาก หากมีการอพยพเข้ามาจะเข้าพื้นที่แรกรับ มีทั้งหมด 10 จุด พื้นที่พักรอ 23 แห่ง ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดตาก ประกอบด้วย

1.อ.แม่สอด มีพื้นที่แรกรับ 5 จุด พื้นที่พักคอย 10 จุด สามารถรองรับผู้อพยพได้ 19,200 คน

2.อ.พบพระ มีพื้นที่แรกรับ 1จุด พื้นที่พักรอ 2 จุดรองรับผู้อพยพได้ 2,000 คน

3. อ.แม่ระมาด มีพื้นที่แรกรับ 1 จุด พื้นที่พักคอย 2 จุด รองรับได้ 6,000 คน

4.อ.อุ้มผาง มีพื้นที่แรกรับ 1จุด พื้นที่พักคอย 5 จุด รองรับผู้อพยพได้4,200 คน

5.อ.ท่าสองยาง มีพื้นที่แรกรับ 1จุด มีพื้นที่พักคอย 4 จุด รองรับผู้อพยพได้ 8,000 คน

ในส่วนประชาชนคนไทยจุดแรกรับ

1.วัดวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอดจ.ตาก

2.วัดท่าข้าม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จังหวัดตาก

3.วัดอมรวดี ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

4.โรงเรียนบ้านแม่โกนเกน ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก

5.ที่สาธารณะข้างประปาหมู่บ้านแม่โกนเกน

6. โรงเรียนบ้านมอเกอ ต.วาเลย์ อ.พบพระ จ.ตาก

7. จุดผ่อนปรนบ้านวังผา ต.แม่ละมาด อ.แม่ระมาด จ.ตาก

 8. แยกบ้านห้วยแดง อ.อุ้มผาง จ.ตาก

 9.จุดตรวจบ้านตะเปอพู ต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก

พื้นที่พักรอ

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

2. สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน อ.แม่สอดจ.ตาก

3. วัดห้วยไม้แป้น ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก

4. อบต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก

5. โรงเรียนบ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก

6. สนามฟุตบอลโรงเรียนท่านผู้หญิงวิไลอมาตยกุล ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก

7. อบต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก

8. โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยางแห่งใหม่อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

9. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก. 3 (แม่ตะวอ)อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

ประชาชนชาวเมียนมา

จุดแรกรับ

1.สนามฟุตบอลบ้านสวนอ้อยและพื้นที่บ้านท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก (รวมถึงกรณี นี่เข้าท่าข้ามอื่นๆให้พิจารณาตามสถานการณ์)

พื้นที่พักคอย

1.ร้อย ตชด. ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอดจังหวัดตาก

2. วัดไทยวัฒนารามตำบลท่าสายลวดอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก

3. โรงงานเย็บผ้าเก่า (บ้านห้วยกะโหลก)

4. โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม

5.โรงเรียนแม่ตาว ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอดจ.ตาก

6.ที่สาธารณะข้างประปาหมู่บ้านแม่โกนแกนต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก

7.วัดบ้านมอเกอ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก

8 .โครงกักเก็บพืชผลทางเกษตรบ้านวังผา ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก

9.ลานวัวบ้านเปิงเคลิ่ง ต.แม่จัน อ.อุ้มผางจ.ตาก

10.ลานกว้างบ้านตะเปอพู ต.แม่กลอง อ.อุ้มผาง จ.ตาก

11.บ้านทีซอแม ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยางจ.ตาก

กลุ่มสัญชาติอื่น / ผู้ลี้ภัยทางการเมือง

1.โพธิวิชชาลัย อ.แม่สอด จ.ตาก

2.ร้อย ตชด.347 อ.อุ้มผาง จ.ตาก

3.สำนักสงฆ์บ้านแม่จวาง ต.ท่าสองยาง

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ