คำวินิจฉัยศาลรธน. ตีความละเอียดมาตราเดียว "ธรรมนัส" รอด ไร้มลทิน ยังเป็น ส.ส. - รัฐมนตรีได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ข้อกฎหมายโดยละเอียด "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" รอดได้ ต้องคดียาเสพติด ในออสเตรเลีย แต่ยังเป็น ส.ส. รัฐมนตรีไทยได้

ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย สมาชิกภาพของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ จากกรณีที่ ส.ส. 51 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ส่งคำร้องไปยังศาสรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณี ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า ซึ่งยาเสพติด ที่แม้จะเป็นคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ซึ่งวันนี้(5พ.ค.)ศาลมีคำวินิจฉัย ว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด 

ด่วน !! ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "ธรรมนัส" ไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่พ้นส.ส.-รมต.

“ธรรมนัส” ยืนกระต่ายขาเดียว ไม่เคยสารภาพค้ายาเสพติด

 

คดีนี้ประธานรัฐสภา ส่งคำร้องดังกล่าวต่อศาสรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และมีหนังสือเรียกเอกสารหลักฐาน จากคู่กรณีและกระทรวงการต่างประเทศ

เปิดคำวินัจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เหตุผล ที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รอด

ผลการพิจารณา

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า มีข้อที่ต้องพิจารณาก่อนว่า คำว่า " เคยต้อง ดำพิพากษาอันถึงที่สุด" ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10) อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายความถึงคำพิพากษาของศาลไทยเท่านั้นหรือไม่

รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า  "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนขาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมขอ'ประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม"

จากบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยคือมีความเด็ดขาดสมบูรณ์ ไม่อยู่ในอาณัติหรืออยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอื่น ซึ่งการพิจารณาพิพากษาอรรถดีเป็นการใช้อำนาจตุลาการอันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ย่อมต้องไม่ตกอยู่ในอาณัติหรือภายใต้อำนาจตุลาการของรัฐอื่น

หลักการปกครองของประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์มีหลักการสำคัญคือหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และไม่ถูกประเทศอื่นแทรกแซงกิจการภายในของตนโดยไม่มีการทำข้อตกลงหรือยินยอม

ดังนั้นการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก็ดี การตีความให้คำพิพากษาของศาลต่างประเทศมีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาลไทยก็ดี จึงไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ตามหลักอธิปไตยของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

คำพิพากษาของศาลรัฐใดก็จะมีผล ในดินแดนของรัฐนั้น

ในบางกรณีรัฐใดรัฐหนี่งอาจให้การรับรองคำพิพากษาของศาลอีกรัฐหนึ่งและอาจบังคับให้ เป็นไปตามคำพิพากษานั้นได้ แต่ต้องมีการทำสนธิสัญญารับรองและบังคับตามคำพิพากษาตามหลักการต่างตอบแทน โดยมีเงื่อนไขสำคัญตามหลักการต่างตอบแทนในสนธิสัญญาว่ารัฐภาคีต้องผูกพันที่จะเคารพ และปฏิบัติตามผลของคำพิพากษาของอีกรัฐภาคีหนึ่งด้วย

ดังนั้นทั้งหลักการและทางปฏิบัติของรัฐเกี่ยวกับ การใช้อำนาจทางตุลาการจะได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศเพื่อยืนยันหลักความเป็นอิสระ ของตุลาการและความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษา เมื่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีการกล่าวถึงคำพิพากษา จึงต้องหมายถึงคำพิพากษาของศาลแห่งรัฐหรือประเทศนั้นเท่านั้น

ไม่รวมถึงคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ

การตรากฎหมายอาญาของแต่ละประเทศกำหนดการกระทำที่เป็นความผิด องค์ประกอบของความผิด ฐานความผิด และเงื่อนไขการลงโหษ ไว้แตกต่างกัน อีกทั้งหากตีความว่า "เคยต้องคำพิพากษา อันถึงที่สุด"

"หมายความรวมถึงคำพิพากษาของศาลต่างประเทศด้วย ทำให้ไม่อาจกลั่นกรองหรือตรวจสอบ ความชอบด้วยหลักนิติธรรมของกระบวนพิจารณาของศาลต่างประเทศดังกล่าว และขัดต่อหลักการต่างตอบแทน"

กล่าวคือศาลต่างประเทศไม่ต้องบังคับหรือยอมรับคำพิพากษาของศาลไทย ทำให้อำนาจอธิปไตยทางศาลของไทยถูกกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ใช่คำพิพากษาของศาลไทย ผู้ถูกร้องจึงไม่มีสักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (10)

ศาสรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้กูกร้องไม่สิ้นสุด ลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) และความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (10) ด้วย

"เสรีพิศุทธ์"ยืดอกรับชงสื่อออสเตรเลีย แฉ"ธรรมนัส"

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ