“ชวน" ยันลงมติแยกแต่ละฉบับขีดเส้น 24 มิ.ย.จบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันนี้ และ วันพรุ่งนี้ จะเป็นตัวชี้วัดว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 13 ฉบับ ของพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้านนั้น จะนำพากฎหมายหลักของประเทศไปทางไหน เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นกติกาสูงสุดของประเทศ หากแก้ไขไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งย่อมมีนัยยะสำคัญ ขณะนี้ ที่ประชุมรัฐสภาเริ่มประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว

แนวทางการประชุมวันนี้ 23 มิ.ย.2564 มีข้อมูลจากนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ระบุว่า จะไล่ตามลำดับให้ ส.ส.อภิปรายทั้ง 13 ร่าง ตามลำดับดังต่อไปนี้ เริ่มจากพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ กำหนดเวลาฝ่ายค้าน 6 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาล 6 ชั่วโมง คาดว่าจะเริ่มลงมติได้ ในพรุ่งนี้เวลา 16.00น.  ซึ่งเวลาลงมติก็จะลงแยก แต่จะมีการถามทีละฉบับ โดยคำนวณเวลาที่ใช้ในการลงมติอาจจะหลายชั่วโมง

“ชวน” วอน ผู้ชุมนุม อย่าคุกคามกดดันสภา ลงมติแก้รัฐธรรมนูญ

“ชวน” ยันไม่รู้มาก่อน ส.ว.- พปชร. เล่นเกมยื้อแก้ รธน.

สำหรับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระแรก ต้องมีเสียง ส.ส. และ ส.ว. เห็นด้วยเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และสิ่งสำคัญคือ ต้องมีเสียง ส.ว. เกิน 1 ใน 3 เห็นชอบด้วย ประเด็นนี้นี่เองที่คาดการณ์ได้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่เสนอให้ ตัดอำนาจ สมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกนายก ส.ว.ส่วนจะไม่ลงมติให้

อย่าง พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ส.ว. บอกว่า อำนาจเลือกนายกนั้น เป็นผลมาจากประชามติ ไม่ใช่การหวงอำนาจ และหากใครจะตัดอำนาจของ ส.ว. ก็ควรทำประชามติ เพื่อถามความเห็นของประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ สอดคล้องกับ ส.ว.อีกคนที่ทีมข่าวได้ไปพูดคุยคือ นายเสรี สุวรรณภานนท์ เปิดใจกับทีมข่าวว่า หากใครจะตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายก เป็นไม่ได้ที่ ส.ว.ส่วนใหญ่จะลงมติให้

ส่วนอีกประเด็นที่ถกเถียงกันคือ การเสนอแก้ไข ม.144 และ 185 โดยพลังประชารัฐ

รายละเอียด ใน มาตรา 144 ซึ่งพูดถึงเรื่อง การแปรญัตติงบประมาณรายจ่าย ร่างเดิม มีโทษว่า หากใครทำผิดจะจ้องพ้นจากตำแหน่ง แต่พรรคพลังประชารัฐแก้ไขว่า ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่ปล่อยให้การแปรญัตตินั้นตกไป

ส่วนมาตรา 185 ที่บอกว่า ห้าม ส.ส.ก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการจัดทำโครงการของหน่วยราชการ  แต่ร่างแก้ไขโดยพรรคพลังประชารัฐ จะแก้ให้เหลือแค่   ห้ามก้าวก่ายการแต่งตั้งเท่านั้น

ประเด็นนี้ ส.ว. บางส่วนไม่เห็นด้วย และส่งเสียงคัดค้านว่าอาจจะทำให้นักการเมืองแทรกแซง การทำหน้าที่ของข้าราชการได้ ล่าสุด นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยอมถอยในประเด็นนี้แล้วครับ โดยขอให้ ส.ว.รับร่างของ พรรคพลังประชารัฐไปก่อน และในชั้นกรรมาธิการ จะ กลับไปใช้หลักการเดิมของรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่จะปรับแก้เพียงแค่ถ้อยคำ และรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สภาตั้ง 45 กมธ.ศึกษาร่างแก้ไข รธน. หลังผ่านวาระ

"อภิสิทธิ์" จี้ "ประยุทธ์" ส่งสัญญาณให้ ส.ว.ผ่าน 7 ร่างแก้ไข รธน.ลดขัดแย้ง

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ