"ชวน" ไม่กังวลม็อบหากชุมนุมสงบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เป็นวันที่สองของการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา จำนวน 13 ฉบับ ที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน โดยช่วงเย็นวันนี้ ที่ประชุมจะมีการลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการญัตติใดบ้าง ขณะเดียวผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ก็เตรียมเคลื่อนขบวนมายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภา เพื่อเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

กว่า 2 ชั่วโมงแล้ว ที่สมาชิกรัฐสภาเริ่มอภิปรายพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตรา จำนวน 13 ฉบับ ทั้งนี้แม้ว่าจะมีผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ประกาศเคลื่อนขบวนมายื่นหนังสือที่รัฐสภา แต่ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และ นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ต่างมองว่าไม่น่ากังวลและเชื่อว่าจะไม่มีการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้

“สมชาย” ลั่น ตั้งกมธ. ดึงฟืนออกจากไฟ ลดขัดแย้งการเมือง

เพื่อไทย ฉะ ไพบูลย์ ยื่นตีความแก้รธน.แค่ซื้อเวลารอบ 2

บรรยากาศรอบรัฐสภาเช้านี้ (24 มิ.ย.) ไม่พบว่าเจ้าหน้าที่นำอุปกรณ์ใดๆ มาขวางกั้นการสัญจร หรือ เตรียมการสกัดกั้นการชุมนุม เหมือนครั้งๆ ที่ผ่านมา มีเพียงตำรวจจราจร ที่คอยดูแลพื้นที่เท่านั้น

ส่วนการอภิปรายวันนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เชื่อว่ากลุ่มราษฎร ที่เคลื่อนขบวนมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะไม่กระทบต่อการอภิปราย เพราะเชื่อว่าผู้ชุมนุมมาอย่างสันติ ไม่มีเจตนาเข้ามาวุ่นวาย และไม่ว่าอย่างไรการประชุมของรัฐสภาก็ต้องดำเนินการต่อ

ขณะที่ภาพรวมการอภิปรายเมื่อวานนี้ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุว่าพอใจต่อภาพรวมการอภิปราย ที่แต่ละฝ่ายสามารถบริหารจัดการเวลาที่ใช้อภิปรายได้ดี จึงเชื่อการอภิปรายจะจบตามเกณฑ์เวลาหรือก่อนเวลา และจบภายในวันนี้ (24 มิ.ย.)

ส.ว. ค้านตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรธน.หนุนแก้เองรายมาตรา

ส่วนแนวทางการลงมติ จะมีการหารือร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอีกครั้ง แต่เบื้องต้นตกลงกันว่าเป็นเรื่องนโยบายหรือจุดยืนของแต่ละพรรค ไม่บังคับกัน และเชื่อว่ามติจะเป็นไปตามการลงชื่อเสนอร่างแก้ไขทั้ง 4 ร่าง ซึ่งส่วนตัวอยากให้ผ่านทุกร่างที่เสนอ แต่ยอมรับว่า ส.ว. เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญว่าจะลงมติอย่างไร

สำหรับประเด็นที่สมาชิกวุฒิสภา พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน หยิบยกขึ้นมาอภิปรายในช่วงเช้าที่ผ่านมา หลักๆ มีอยู่ 3 ประเด็น คือ กติกาการเลือกตั้ง การตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และประเด็นเรื่องการแก้ไข ม.144 และ ม.185 ที่ห้าม ส.ส. หรือ ส.ว.แทรกแซงหน่วยงานราชการและการปรับงบประมาณ ที่ถูกเสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ โดย นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.144 และ ม.185 รวมถึงการตัดอำนาจ ส.ว.ดังกล่าว เพราะ สว.ยังมีหน้าที่สำคัญ คือการตรวจสอบการทำงานของ ส.ส. เพื่อป้องกันการกินรวบ

ฝ่ายค้านจัด 30 ขุนพล อภิปรายร่างแก้ รธน.

ขณะที่ นายสัตวแพทย์ ปดิพัทธ์ สันติภาดา  ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล เสนอให้คว่ำร่างของพรรคพลังประชารัฐ และตัดอำนาจ ส.ว. รวมถึงเห็นว่าควรให้ประชาชน ออกแบบระบบการเลือกตั้งเอง ผ่าน ส.ส.ร. โดยอาศัยกระบวนการทำประชามติ  เช่นเดียวกับ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าหาก การแก้ไข ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ มีปัญหา การรับ ม.256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหานี้ได้ และไม่ถูกครหาว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

สำหรับการอภิปรายพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตรา จำนวน 13 ฉบับ วันนี้ พรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา เหลือเวลาอภิปรายคนละประมาณ  2 ชั่วโมง ซึ่งหากเป็นตามกรอบเวลานี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มลงมติได้ในเวลา 16.00 น. โดยจะใช้วิธีการลงมติแบบขานชื่อ ทีละฉบับ และคาดว่าจะใช้เวลานับคะแนน และตั้งคณะกรรมาธิการเสร็จสิ้นภายในคืนนี้ ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการกำหนดทิศทางแก้ไขกฎหมายหลักของประเทศ

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ