นายก อบจ.สุพรรณฯ รับ เสาไฟมังกรแพง ได้ของคุณภาพ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีเสาไฟประติมากรรม ที่ทีมข่าวพีพีทีวีเกาะติดมาตลอด และขยายผลไปยังเสาไฟมังกร ของอบจ.สุพรรณบุรี 580 ต้น มูลค่า 60.9 ล้านบาท ซึ่งถูก ป.ป.ช.ตรวจสอบ เพราะบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเป็นรายเดียวกับผู้รับจ้างจัดซื้อติดตั้งเสาไฟกินรี ของ อบต.ราชาเทวะ ล่าสุดวันนี้ นายก อบจ.สุพรรณบุรี ชี้แจงกับพีพีทีวีครั้งแรก ยอมรับว่า ตัดสินใจซื้อเสาไฟมังกรในราคาสูง เพราะ เชื่อว่าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพ

นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดใจกับทีมข่าวพีพีทีวี เกี่ยวกับโครงการติดตั้งเสาไฟส่องสว่างตามจุดเสี่ยงบนสายทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของอบจ.สุพรรณบุรี จำนวน 580  ต้น มูลค่า 60ล้าน 9 แสนบาท  ซึ่งตอนนี้กำลังถูก ป.ป.ช.ตรวจสอบอยู่ เนื่องจาก บริษัทที่ชนะการประกวดราคา ทำโครงการนี้ คือ บริษัท บางกอกไฟถนน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้างติดตั้งเสาไฟกินรี ของอบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ

พบชิ้นส่วนเสาไฟ ทิ้งร้างในวัดเมืองสุพรรณฯ

สั่งชะลอเสาไฟมังกรสุพรรณ ตั้งได้แค่ฐาน

นายบุญชู อธิบายเพิ่มเติมว่า ตอนนี้ยกเลิกโครงการนี้ไปแล้ว ตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมา เพราะช่วงนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 คนงานไม่สามารถทำงานได้ รวมถึงยอมรับว่า กังวลเรื่องการตรวจสอบเสาไฟกินรีของ อบต.ราชาเทวะ จึงตัดสินใจยกเลิก

นายบุญชู บอกว่า ตอนแรกที่ตัดสินใจทำโครงการนี้ เพราะ มองว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์จากแสงสว่าง รวมถึงเสาไฟมีความสวยงาม เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้

สำหรับแผนงานตอนแรก หากได้ติดตั้งเสาไฟ 580 ชุด เสาไฟจะกระจายอยู่ตาม ถนน109 เส้นทาง ที่พื้นที่ อบจ.สุพรรณบุรี แต่จะจุดกำหนดจำนวนเสาไฟต่างกัน เช่น 18 ต้น 5 ต้น ทั้งที่มีระยะทางเท่ากัน เมื่อถามว่าทำไมจำนวนไม่เท่ากัน นายบุญชู ตอบว่า เพราะงบประมาณไม่พอ

ทั้งนี้ แม้ว่า นายบุญชู จะยืนยันว่ายกเลิกโครงการไปแล้ว แต่ตามข้อมูลที่ลงไว้ในเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง ระบุสถานะของโครงการเสาไฟมังกร ว่า ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 6  พ.ค. 2564 หรือหมายความว่า การจัดซื้อสำเร็จแล้ว แต่ นายบุญชู ชี้แจงว่า ยังไม่ได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง พร้อมยอมรับว่า การยกเลิกโครงการหลังเซ็นสัญญา เสี่ยงถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายคืนได้

ป.ป.ช.ขยายผลสอบเสาไฟประติมากรรม 5 อปท.

ส่วนเสาไฟและฐานเสาหลายหลายร้อยต้น ที่ทีมข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่ไปตรวจสอบเมื่อวานนี้ นายบุญชู ยอมรับว่า ทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ในโครงการจัดซื้อเสาไฟมังกร ถือเป็นทรัพย์สินของผู้รับเหมา

นายก อบจ.สุพรรณบุรี ยืนยันว่า โครงการติดตั้งไฟมังกร ทำตามระเบียบทุกขั้นตอน แต่ที่ถูก ป.ป.ช.ตรวจสอบ เพราะมีขั้นตอนบางอย่างที่ ป.ป.ช.สงสัย ส่วนตัวยินดีที่จะให้ตรวจสอบ แต่อยากฝากถึง ป.ป.ช.ให้ดูที่เจตนา ว่า อบจ.สุพรรณบุรี ต้องการทำให้เกิดความสวยงาม

ทั้งนี้ แม้ว่า นายบุญชู จะยืนยันว่ายกเลิกโครงการไปแล้ว แต่ตามข้อมูลที่ลงไว้ในเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง ระบุสถานะของโครงการเสาไฟมังกร ว่า ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 6  พ.ค. 2564 หรือหมายความว่า การจัดซื้อสำเร็จแล้ว แต่ นายบุญชู ชี้แจงว่า ยังไม่ได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง พร้อมยอมรับว่า การยกเลิกโครงการหลังเซ็นสัญญา เสี่ยงถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายคืนได้

ส่วนเสาไฟและฐานเสาหลายหลายร้อยต้นที่ทีมข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่ไปตรวจสอบเมื่อวานนี้  นายบุญชู ยอมรับว่า ทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ในโครงการจัดซื้อเสาไฟมังกร ถือเป็นทรัพย์สินของผู้รับเหมา

ทีมข่าว เดินทางไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภาค3 ซึ่งดูแลพื้นที่ จ.สุพรรณบุรีได้รับคำยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ สตง.เพิ่งลงพื้นที่จ.สุพรรณบุรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยลงไปเพื่อตรวจสอบโครงการเสาไฟ  2 โครงการ  คือ เสาไฟมังกร ของ อบจ.สุพรรณบุรี และ เสาไฟช้าง ของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

 ซึ่ง เสาไฟช้างที่ สตง.ภาค3 ตรวจสอบ มีประเด็นที่น่าสงสัย คล้ายกับเสาไฟมังกร  คือ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่กำหนดระยะเวลาให้เอกชนส่งตัวอย่างงานในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งน่าสงสัยว่าเป็นการจำกัดผู้แข่งขันรายอื่นหรือไม่

แหล่งข่าวใน สตง.ภาค 3 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทที่รับงานเสาไฟช้าง ของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี  ไม่ใช่ บริษัท บางกอกไฟถนน จำกัด  แต่พบว่าเป็นบริษัทเอกชน ที่ เคยเป็นบริษัทคู่สัญญากับเทศบาลเมืองสุพรรณบุรีมาแล้วหลายโครงการ

ซึ่งทีมข่าวตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า โครงการติดตั้งเสาโคมไฟฟ้าส่องสว่างชนิดเสาประติมากรรมช้าง จำนวน 6 ต้น ประกวดราคาจัดซื้อจ้างในช่วงปี 2562 ราคาเฉลี่ยต้นละ 198,000 บาท ถือว่า แพงกว่า เสาไฟมังกร ที่ราคาต่อต้น อยู่ที่ประมาณ 104,891 บาท และ แพงกว่า เสาไฟกินรี ที่เฉลี่ยราคาต่อต้น อยู่ที่ 95,000 บาทรวมถึง แพงกว่า ราคาเสาไฟทั่วไปที่ราคา ต้นละ 31,000 บาท

ป.ป.ท.ฟันเสาไฟอบต.ราชาเทวะ ไม่คุ้มค่า

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ