ไบเดนเดินหน้ากระบวนการถ่ายโอนอำนาจ แม้ทรัมป์ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไบเดนก็เริ่มกระบวนการถ่ายโอนอำนาจถึงแม้จะถูกขัดขวางจากทรัมป์ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ การเข้ารับฟังรายงานความมั่นคง หรือ Intelligence Briefing รายงานเกี่ยวกับความมั่นคงที่เป็นความลับสูงสุด ที่จะต้องรายงานให้ประธานาธิบดีรับรู้ทุกสัปดาห์

75 วัน ช่วงเวลาชี้ขาด กระบวนการถ่ายโอนอำนาจ ปธน.สหรัฐฯ

“ทรัมป์” ปรากฎตัวครั้งแรก ในรอบ 6 วัน หลัง ผลการเลือกตั้งชี้ว่าแพ้

หลักปฏิบัติที่ทำกันคือ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะได้รับเชิญเข้าร่วมฟังรายงานความมั่นคงประจำสัปดาห์ถึงแม้จะยังไม่มีการรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพราะรายงานความมั่นคงที่เป็นความลับสูงสุดมีความสำคัญ ซับซ้อนและรายละเอียดเยอะ ที่ว่าที่ผู้นำคนใหม่ต้องได้รับรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการถ่ายโอนอำนาจมีรายงานข่าวว่า โจ ไบเดน ถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมประชุมที่สำคัญนี้

ล่าสุดมีสมาชิกวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกัน เจมส์ แลงค์ฟอร์ด ออกมาประกาศแล้วว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ถูกปิดกั้นไม่ให้รับรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ

เขาระบุว่าจะเขาจะเข้าไปตรวจสอบว่า ทำไมทำเนียบขาวจึงทำเช่นนี้ว่ามีความพยายามปิดกั้นไม่ให้ไบเดนเข้าประชุมสำคัญๆ หรือไม่ โดยเฉพาะ Intelligence Brifing หรือ การสรุปรายงานที่เกี่ยวกับความมั่นคง

สว.แลงฟอร์ดระบุว่า ในการเลือกตั้งปี 2000 ระหว่างจอร์จ บุช กับอัล กอร์ ที่ช่วงนั้นผลการเลือกตั้งยังไม่ยุติว่าใครเป็นผู้ชนะ ทั้งสองคนได้รับเชิญจากประธานาธิบดีบิล คลินตัน ที่กำลังจะหมดวาระให้เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับความมั่นคงประจำสัปดาห์ ดังนั้นไบเดนก็ควรจะได้เข้าประชุมเช่นกัน

เขาระบุว่า การที่ว่าที่ผู้นำคนใหม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเป็นส่วนนหึ่งของการถ่ายโอนอำนาจที่ราบรื่น เป็นการส่งไม้ต่อที่จำเป็นมากต่อการป้องกันประเทศจากภัยก่อการร้าย อย่างเช่น เหตุวินาศกรรมเครื่องบินพุ่งชนตึกเวิล์ดเทรดในปี 2001 ซึ่งเกิดขึ้นหนึ่งปีหลังการเลือกตั้งที่เชือดเฉือนที่สุดระหว่างบุชกับอัล กอร์ สว. แลงฟอร์ดเป็นหนึ่งในคนของรีพับลิกันที่มีท่าทีสนับสนุนให้ทรัมป์ส่งอำนาจต่อให้ไบเดนจะเห็นได้ว่าคนจากรีพับลิกันหลายคนเริ่มเปลี่ยนท่าที

ส่วน มิตต์ แมคคอเนล เฮฟวี่เวททางการเมือง ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาของรีพับลิกันที่ก่อนหน้านี้มีท่าทีสนับสนุนให้ทรัมป์ดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ล่าสุดเขาระบุว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม

นอกเหนือในประเทศแล้ว ในเวทีต่างประเทศที่ก่อนหน้านี้มีมหาอำนาจหลายชาติ เช่น รัสเซียและจีน สงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความยินดีกับชัยชนะของไบเดน

ล่าสุดจีนได้ออกมาพูด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรงการต่างประเทศของจีน Wang Wenbin แถลงว่า จีนเคารพในการตัดสินใจของประชาชนชาวอเมริกัน และเราขอแสดงความยินดีกับโจ ไบเดน และกมลา แฮริส ที่ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแสดงความยินดีจากมหาอำนาจอย่างจีนหลังจากเงียบมาหลายวัน โดยคราวที่แล้วในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ผู้นำจีน สี จิ้น ผิง แสดงความยินดีกับทรัมป์ 1 วันหลังวันเลือกตั้ง  แต่ที่ไม่ทำเช่นนั้นกับโจ ไบเดนเนื่องจากทรัมป์ยังไม่ประกาศยอมแพ้

อย่างไรก็ตาม การที่จีนออกมาแสดงความยินดีแม้ทรัมป์จะยังไม่ยอมแพ้เนื่องมาจากการนับคะแนนในรัฐแอริโซน่า ซึ่งเป็นรัฐเกือบสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว และโจ ไบเดน เอาชนะทรัมป์ไปได้ ทำให้ไบเดนมีคะแนนห่างทรัมป์ขาดลอยมากขึ้น การแสดงความยินดีจากจีนที่มีความหมายทางการเมืองกับโจ ไบเดนอย่างมาก ในฐานะหนึ่งในมหาอำนาจที่สำคัญของโลก ซึ่งการแสดงความยินดีกับไบเดน มีโอกาสที่จะทำให้ทรัมป์ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อจีน หลังจากก่อนหน้านี้เขาก็โจมตีจีนเรื่องโควิด-19 อย่างรุนแรงอยู่แล้ว

นอกเหนือจากจีน ก่อนหน้านี้ไบเดนยังได้รับโทรศัพท์แสดงความยินดีจากผู้นำต่างประเทศอีก 3 คน ซึ่งคือสก๊อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีจากออสเตรเลีย โยชิฮิเดะ สึกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และมูน แจ อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ไบเดนได้เน้นย้ำกับผู้นำเหล่านี้เรื่องการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 และเศรษฐกิจ โดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้เป็นผู้นำที่ไบเดนรับปากจะพบปะเป็นคนแรกๆ การแสดงความยินดีจากผู้นำเหล่านี้ เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่สะท้อนความชอบธรรมในชัยชนะของไบเดน เพราะมันบ่งบอกว่าผู้นำเหล่านี้พร้อมเริ่มทำงานกับประธานาธิบดีคนใหม่ แม้ทรัมป์จะยังไม่ประกาศยอมรับผลการเลือกตั้งก็ตาม

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ