วัคซีนป้องกัน โควิด-19 เดินทางถึงสหราชอาณาจักร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังจากสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่อนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์เมื่อ 2 วันก่อนวันนี้วัคซีนล็อตแรกได้เดินทางมาถึงสหราชอาณาจักรแล้ว และพร้อมฉีดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยเร็วที่สุด

วัคซีนป้องกันโควิด-19 จาก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้ผล 70%

ข้อได้เปรียบวัคซีนโควิด-19 จาก “โมเดอร์นา”

เจ้าหน้าที่ที่สนามบินในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เตรียมอุปกรณ์สำหรับขนส่งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ล็อตแรกไปยังสหราชอาณาจักร นับเป็นปฏิบัติการสำคัญแห่งศตวรรษ

วัคซีนล็อตแรกจำนวน 8 แสนโดสจะถูกขนส่งโดยเครื่องบิน บางส่วนจะถูกขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งต้องใช้กล่องกักเก็บความเย็นพิเศษ เนื่องจากวัคซีคตัวนี้ของไฟเซอร์ต้องถูกจัดเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส หากต้องการเก็บนานกว่า 5 วัน

นอกจากกล่องเก็บความเย็นพิเศษ การขนส่งต้องมีน้ำแข็งแห้งด้วย เพราะถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น จะต้องเติมน้ำแข็งแห้งเพิ่มลงไป

ซึ่งจุดนี้เป็นข้อเสียเปรียบของไฟเซอร์ เมื่อเทียบกับโมเดอร์นา หรืออ๊อกฟอร์ดที่สามารถจัดเก็บได้อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิตู้เย็นปกติ

ไฟเซอร์มีฐานผลิตอยู่ที่ประเทศเบลเยียม ดังนั้นสนามบินของกรุงบรัสเซลส์จะเป็นฐานกระจายวัคซีนไปยังทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มขนส่งวัคซีนไปแล้วร้อยละ 20 โดยสนามบินได้เตรียมโกดังกักเก็บอุณหภูมิเพื่อเก็บวัคซีนขนาด 30,000 ตารางเมตร

ด้านสหราชอาณาจักรเปิดเผยว่า ขณะนี้วัคซีนล็อตแรกได้เดินทางมาถึงสหราชอาณาจักรแล้ว และกำลังจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ

ล็อตแรกที่เดินมาทางถึงนี้ถูกขนส่งมาทางรถไฟ Eurotunnel ที่เชื่อมระหว่างบรัสเซลล์และกรุงลอนดอน

โดยสหราชอาณาจักรได้สั่งวัคซีนจากไฟเซอร์จำนวน 40 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอสำหรับฉีดให้พลเมือง 20 ล้านคน เพราะแต่ละคนต้องใช้ 2 โดส

กลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีนคือเจ้าหน้าที่ตามศูนย์ดูแลต่างๆ และประชาชนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษคาดว่า การฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 99

มีรายงานว่า มีแฮ็กเกอร์พยายามล้วงข้อมูลลับเกี่ยวกับการขนส่งวัคซีนไปยังทั่วโลก บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ IBM เปิดเผยว่า มีกลุ่มแฮ็กเกอร์พยายามล้วงข้อมูลการขนส่งวัคซีนในสภาพอากาศเย็นจัดไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มแฮกเกอร์เป็นใคร แต่ข้อมูลระบุว่าพวกเขาใช้เทคโนโลยีระดับสูง จึงมีความเป็นไปได้ว่าเป็นแฮกเกอร์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง

IBM รายงานว่า แฮกเกอร์ส่งอีเมลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัคซีนใน 6 ประเทศ ทั้งองค์การอนามัยโลก สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และเยอรมนี โดยปลอมตัวเป็นผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งจากบริษัทในประเทศจีน ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัคซีน เพื่อหวังว่ากลุ่มเป้าหมายจะตอบอีเมลฉบับนี้

โดยแฮกเกอร์ต้องการข้อมูลลับเกี่ยวกับการขนส่งวัคซีน และรหัสล็อคอินของเจ้าหน้าที่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แฮกเกอร์เข้าใจระบบเครือข่ายของแต่ละประเทศในการขนส่งวัคซีน

โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อังกฤษได้ออกมาตักเตือนรัสเซียในกรณีพยายามล้วงข้อมูลวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ตักเตือนจีนในกรณีเดียวกันก่อนหน้านี้

ด้านบริษัทไมโครซอฟต์เป็นอีกรายที่ระบุว่า เกาหลีเหนือและรัสเซียพยายามล้วงข้อมูลลับเกี่ยวกับข้อมูลวิจัยวัคซีน

นอกจากภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการแจกจ่ายวัคซีนแล้ว อีกความท้าทายหลังจากนี้คือ คนบางกลุ่มที่มีแนวคิดหรือความเชื่อต่อต้านวัคซีน

ตั้งแต่อังกฤษเริ่มใช้มาตรการล็อคดาวน์ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีคนบางกลุ่มออกมาประท้วงต่อต้านการใส่หน้ากากอนามัย เนื่องจากมองว่าเป็นคำสั่งที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงคนที่คิดว่าโควิด-19 เป็นทฤษฎีสมคบคิด เพราะจริงๆ แล้วเป็นเรื่องหลอกลวง

ในกลุ่มคนเหล่านี้ มีบางคนที่ต่อต้านการฉีดวัคซีนด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนาที่คิดว่าวัคซีนคือการนำสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อไม่เชื่อว่าโควิดมีอยู่จริง จึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน

ไปจนถึงข้อมูลผิดๆ ที่ถูกส่งต่อๆ กันว่า รัฐบาลต้องการฉีดวัคซีนเพราะต้องการฝังไมโครชิพลงไปในร่างกายของประชาชน ตัดแต่งดีเอ็นเอ หรือเป็นอาวุธของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ในขบวนผู้ประท้วงเราจึงหลายคนชูป้ายต่อต้านวัคซีน ทั้งต่อต้านการบังคับให้เข้ารับวัคซีน หรือคิดว่าการต่อต้านการฉีดวัคซีนคือการปกป้องเยาวชน

จนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษต้องออกกฎหมายฉุกเฉินเอาผิดกับคนที่เผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีน เพื่อป้องกันการสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน ในเวลาที่วิกฤตโควิด-19 กำลังรุนแรง

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ