ไขข้อสงสัย? ทำไมอินเดียจึงสนใจเทคโนโลยีอวกาศ ท่ามกลางความยากจน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังจากเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีกระทรวงว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ แง้มว่า ไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย ที่ผลิตยานอวกาศและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 7 ปี เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่า ไทยมีเรื่องสำคัญกว่าที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเมือง จนถึงปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ มากกว่าที่จะใช้เงินจำนวนมหาศาลมาพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ อินเดียเป็นอีกประเทศที่เผชิญความยากจน แต่เป็นอีกประเทศที่ขึ้นมาเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศชั้นนำของโลก อินเดียส่งยานอวกาศไปสำร

บก.Spaceth ตอบคำถาม ยานไทยไปดวงจันทร์ได้อะไร

อินเดีย โวขึ้นแท่นชาติผู้นำด้านอวกาศ

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2019 อินเดียได้ส่งยาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2019 อินเดียได้ส่งยานอวกาศชื่อจันทรายาน 2 พร้อมหุ่นยนต์สำรวจจากฐานปล่อยในเมืองศรีหริโคตาด้วยจรวดที่พัฒนาขึ้นเอง ท่ามกลางเสียงปรบมือของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร

ยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์สำเร็จในช่วงเดือนกันยายน เข้าใกล้พื้นผิวดวงจันทร์ไปเรื่อยๆ และในประมาณ 2 กิโลเมตรสุดท้าย

ยานวิกรมซึ่งเป็นยานลงจอดหรือ Lander ที่เดินทางไปกับยานอวกาศจันทรายาน 2 เกิดสัญญานขาดในนาทีท้ายๆ ทำให้ตัวยานตกลงไปแบบที่เรียกว่า Hard Landing

อินเดียไม่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ลงจอดบนผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จตามหลังสหรัฐ สหภาพโซเวียตและจีน แต่การที่จันทรายาน 2 เข้าสู่วงโคจรได้ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของวงการอวกาศอินเดีย

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซ่าได้โพสต์รูปบนทวิตเตอร์เพื่อเป็นการยืนยันว่า นาซ่าสามารถตรวจจับยานอวกาศจันทรายาน 2 ในวงโคจรของดวงจันทร์ได้จริง ถึงแม้จะลงจอดที่พิ้นผิวดวงจันทร์ไม่สำเร็จ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนเทคโนโลยีและความสามารถด้านอวกาศของอินเดีย

คำถามคือ ทำไมอินเดียประเทศที่ประชาชนจำนวนมากยังเผชิญกับความยากจน ถึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีด้านอวกาศ

องค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดียถูกก่อตั้งขึ้นมาในปี 1969 หรือกว่า 50 ปีแล้ว ในช่วงเวลา 45 ปีที่ผ่านมา อินเดียได้ยิงดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมากกว่า 100 ดวง และเคยส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศทีเดียวจำนวน 104 ดวงในปี 2017 ทำลายสถิติรัสเซียที่ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมากที่สุดในครั้งเดียว 34 ดวง

ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ปฏิบัติการทางอวกาศของอินเดียสามารถทุบทำลายสถิติ ขึ้นเป็นพาดหัวข่าวของสื่อทั่วโลกได้ มีหลายปัจจัยที่ทำให้อินเดียหันมาสนใจเรื่องอวกาศ

ปัจจัยแรกคือ อินเดียเป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ 200 ปี

 เมื่อเป็นเอกราชในปี 1947 อินเดียจึงต้องการจะเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเองได้ทางเทคโนโลยี ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีด้านอวกาศด้วย

โดยในช่วงแรกที่อินเดียหันมาพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ เป้าประสงค์ของอินเดียต่างจากมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา หรือ สหภาพโซเวียต ในขณะที่ 2 มหาอำนาจนี้มุ่งเน้นเรื่องการส่งมนุษย์ไปสำรวจอวกาศ อินเดียต้องการพัฒนาดาวเทียมสำหรับการสำรวจและป้องกันภัยพิบัติ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ อินเดียยังใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการสื่อสารทางการแพทย์กับพื้นที่ชนบท เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาล

ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศที่ยังเผชิญกับความยากจน ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศจึงเป็นเรื่องของความจำเป็น มากกว่าการส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจอวกาศ

ปัจจัยที่สองคือ เรื่องชาตินิยม

 เทคโนโลยีด้านนี้ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นตั้งแต่นเรนทรา โมดี ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2014 ผู้นำที่ถูกมองว่าชูเรื่องชาตินิยมในหลายๆ เรื่อง โดยการส่งดาวเทียมและยานอวกาศถูกมองว่าเป็นการสร้างความเป็นชาตินิยมในยุคสมัยใหม่ได้ ที่จะทำให้ชาวอินเดียหันมาเฉลิมฉลองและภูมิใจในชาติของตัวเอง

ดังนั้นในช่วงหลังๆ เราจึงเห็นอินเดียยิ่งหันมาส่งดาวเทียมจำนวนมากขึ้นสู่อวกาศ จนถึงส่งยานดาวเทียมขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์

ปัจจัยที่สามคือ เรื่องเศรษฐกิจ

ในช่วง 4-5 ปีให้หลังเทคโนโลยีด้านอวกาศทั่วโลกเฟื่องฟูขึ้นมาก มีบริษัทสตาร์ทอัพเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านอวกาศมากมายเกิดขึ้น รายงานปี 2015 ระบุว่า มูลค่าของธุรกิจเกี่ยวกับอวกาศทั่วโลกอยู่ที่ 3 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อินเดียหันมาพัฒนาเทคโนโลยีด้ายอวกาศมากขึ้นไปอีก

แต่ก็จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีด้านอวกาศนั้นมีหลายประเภท และมีประโยชน์แตกต่างกัน สำหรับอินเดีย อินเดียพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศหลายอย่างที่จำเป็น อย่างดาวเทียมสำรวจภัยพิบัติ หรือการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งตรงนี้ยังส่งผลให้ตลาดธุรกิจเกี่ยวกับอวกาศของอินเดีย ที่รวมไปถึงบริษัทสตาร์ทอัพเกิดใหม่ต่างๆ เฟื่องฟูใน 4-5 ให้หลัง

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ