นักวิจัยไทยเจ๋ง! พัฒนา “เนื้อสัตว์จากขนไก่” อาหารแห่งอนาคต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักศึกษา ป.โท ชาวไทยในลอนดอน วิจัยและพัฒนาโปรตีน-เนื้อสัตว์ทดแทนจากขนไก่ได้สำเร็จ

ที่แรกในโลก สิงคโปร์ประกาศเตรียมวางขาย “เนื้อไก่จากแล็บ”

นักวิจัยสวีเดนสกัดขนไก่เป็นอาหาร

นักวิจัยสกัดขนไก่มาเป็นอาหาร

กลายเป็นอีกหนึ่งคนไทยที่โด่งดังในระดับโลก สำหรับ ศรวุฒิ กิตติบัณฑร นักศึกษาปริญญาโทด้าน Material Futures ที่สถาบัน Central Saint Martins กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ทำวิจัยใช้ขนไก่ ซึ่งเป็นขยะเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหารและปศุสัตว์ มาแปรรูปทำอาหารอุดมโปรตีน

“ขนไก่มีโปรตีน ถ้าเราสามารถนำโปรตีนส่วนนี้มากินได้ ก็จะช่วยลดปริมาณขยะ และช่วยตอบสนองความต้องการอาหารทั่วโลกได้” ศรวุฒิกล่าว

เขาเสริมว่า ที่ยุโรปในแต่ละปีมีขยะขนไก่ถูกทิ้งหรือกำจัดโดยเปล่าประโยชน์ประมาณ 2.3 ล้านตัน

ศรวุฒิในวัย 30 ปี บอกว่า เขาวางแผนกลับมาประเทศไทยและหาทุนเพื่อดำเนินการวิจัยของเขาต่อไป โดยเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการบริโภคไก่สูงขึ้น และอาจมีขยะที่เป็นขนไก่เพิ่มขึ้น 30% จึงเป็นโอกาสสำคัญในการกลับมาพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารบ้านเรา และช่วยนำขยะมาใช้ประโยชน์ในอีกทางหนึ่ง

ศรวุฒิกล่าวว่า แนวคิดนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาอื่น ๆ แต่ต้นแบบที่ทำการวิจัยออกมา ได้แก่ นักเก็ตไก่ และสเต๊กไก่ ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ในเชิงบวก

ชลรพี อัศวินวิจิตร บล็อกเกอร์ด้านอาหารชื่อดังให้ความเห็นหลังได้ลิ้มลอง “สเต็กจากขนไก่” ราดน้ำเกรวี่ เสิร์ฟพร้อมมันฝรั่งบดและสลัด ว่า “เนื้อสัมผัสมีความซับซ้อนและล้ำยุค เป็นสิ่งที่คุณคิดไม่ถึงว่าขนไก่จะสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารแบบนี้ได้”

รศ.ดร.หทัยรัตน์ ริมคีรี อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ฉันคิดว่ามันมีศักยภาพที่จะเป็นอาหารทางเลือกในอนาคตได้”

แม้ว่าอาหารที่ทำจากขนไก่จะไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทวีแกนหรือมังสวิรัติได้ แต่ศรวุฒิมองว่า อาหารเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งใน “การกินรักษ์โลก (Ethical Dining)”

ปัจจุบัน อาหารทางเลือก เช่น เนื้อทดแทนที่ทำจากพืช กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนหันมารับประทานอาหารวีแกนและมังสวิรัติมากขึ้น จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับประทานเนื้อสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเลี้ยงปศุสัตว์

ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยขนไก่ได้ โดยเป็นเคราติน 90% ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเล็บและเส้นผม และเต็มไปด้วยกรดอะมิโนที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ศรวุฒิทำให้ขนไก่กินได้ โดยใช้กระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยกรด (Acid Hydrolysis) ย่อยสลายเคราติน สกัดโปรตีนเป็นผง และทำให้เป็นเนื้อทดแทน

ศรวุฒิเสริมว่า “เนื้อคุณภาพดีต้องนุ่ม ชุ่มฉ่ำ มีความนุ่มละลายในปาก ดังนั้นผมจึงอยากให้เนื้อของผมมีแง่มุมเหล่านี้เช่นกัน”

ศรวุฒิได้นำเนื้อทดแทนจากขนไก่มาใช้ในการทำเมนู “สเต๊กทาร์ทาร์” และ "เนื้อปลาหมักเกลือ" จนดูแทบไม่ต่างจากเมนูที่ทำจากเนื้อสัตว์จริง ๆ

 

เรียบเรียงจาก CNN / Reuters

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ