อังกฤษพบแร่ธาตุชนิดใหม่ของโลกในหินที่ขุดมานานกว่า 220 ปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พิพิธภัณฑ์อังกฤษศึกษาพบแร่ธาตุชนิดใหม่ “แคร์นอไวต์ (Kernowite)” ในก้อนหินที่ขุดมาตั้งแต่ 220 ปีก่อน

ชาวบ้านเก็บก้อนหินประหลาด คล้ายสารส้ม มีแสงสะท้อน วอนผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ

แห่ขุดหินประหลาด คล้าย “ทองคำ” กรมทรัพยากรธรณี ชี้เป็น “แร่ไพไรต์”

คนขุดแร่ชาวแทนซาเนียกลายเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน หลังขุดพบ “แร่หายาก”

นักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์หินซึ่งขุดได้ในเขตคอร์นวอลล์ตั้งแต่เมื่อ 220 ปีที่แล้ว ประกาศค้นพบแร่ชนิดใหม่จากหินนั้น

แร่ดังกล่าวมีสีเขียวเข้ม และได้รับการตั้งชื่อว่า “แคร์นอไวต์ (Kernowite)” ตามชื่อ แคร์นอว์ (Kernow) ซึ่งเป็นภาษาคอร์นิชที่แปลว่าคอร์นวอลล์

ไมค์ รัมซีย์ (Mike Rumsey) หัวหน้าภัณฑารักษ์ด้านแร่และนักแร่วิทยา พร้อมทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ (Natural History Museum; NHM) คือผู้ที่ค้นพบแร่ธาตุชนิดใหม่ขณะศึกษาหินที่นำมาจากเหมือง Wheal Gorland

รัมซีย์กล่าวว่า "มันน่าทึ่งมากที่ในปี 2020 เรายังคงพบแร่ธาตุใหม่บนโลกอยู่"

ตลอดระยะเวลา 220 ปีที่ผ่านมา นักแร่วิทยาเชื่อว่าผลึกสีเขียวที่อยู่ในหินจากคอร์นวอลล์เป็นแร่ลิโรโคไนต์ (Liroconite) แต่รัมซีย์และทีมงานพบว่า แร่ธาตุสีเขียวนี้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างจากลิโรโคไนต์

คอร์นวอลล์มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการขุดแร่มาอย่างยาวนาน โดยมีสถานะเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในด้านการค้นพบแร่ธาตุ

การค้นพบครั้งนี้ได้รับการรับรองจากสมาคมแร่วิทยานานาชาติ (International Mineralogical Association) แล้ว และจะมีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นทางการในนิตยสาร Mineralogical ในปีหน้า

 

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก BBC

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ