ร่องรอยโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จีนเผยผลการศึกษา หลังพบว่า ผู้ที่เคยป่วยโควิด-19 ยังคงมีอาการบางอย่างแม้จะผ่านไปแล้ว 6 เดือน

นักวิจัยชาวจีน เผย ผลการศึกษากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ในจีน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เคยได้รับการรักษาอาการป่วยโควิด -19 ในโรงพยาบาล จะมีปัญหาด้านสุขภาพระยะยาว ซึ่งร้อยละ 76 ของผู้ที่ออกจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น อันเป็นเมืองศูนย์กลางของการระบาด กลับพบว่า ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอย่างที่เกี่ยวข้องกับโควิด -19 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และ 2 อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ผู้ป่วยร้อยละ 63 มีอาการเหนื่อยล้า ร้อยละ 26 มีการนอนไม่หลับ

249 ราย ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ในประเทศ 224 ราย     

จีนพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มมากสุดในรอบกว่า 5 เดือน ส่วนใหญ่ติดเชื้อในประเทศ

“ผู้ป่วย 1,733 รายที่มีอายุเฉลี่ย 57 ปี พบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) ยังคงรู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากกลับบ้าน 6 เดือน”

ดร. เฉาปิน จากโรงพยาบาลมิตรภาพจีน – ญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่ง เขียนในบทความ ระบุว่า จำเป็นต้องมีการติดตามผลอาการของประชาชนที่เคยป่วยโควิด-19 ในระยะยาว เพื่อทำความเข้าใจกับผลกระทบด้านสุขภาพทั้งหมดจากโควิด-19 และจากการศึกษากรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของโควิด-19 นักวิจัยเรียกปรากฏการณ์นี้อย่างไม่เป็นทางการว่า “ผลระยะยาวจากโควิด” รวมถึงหน่วยงานด้านสุขภาพ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ก็กำลังรวบรวมอาการที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาวจากโควิด-19 อื่นๆ ด้วย

โดยเบื้องต้นพบว่า มีตั้งแต่ ภาวะสมองอ่อนล้า ผมร่วง ไปจนถึงโรคหัวใจ แต่ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะแสดงออกมาภายใน 3 เดือน โดยทางโรงพยาบาลสามารถพบในช่วงที่ติดตามอาการผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลไม่นาน แต่ผลการศึกษาล่าสุด เป็นการศึกษาใหม่ที่พบเป็นครั้งแรก เมื่อเจอผลกระทบของโรคในช่วง 6 เดือน หลังออกจากโรงพยาบาล

ผลกระทบต่อ หัวใจ ปอด

นักวิจัยชาวจีน ติดตามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาล Jin Yin-tan ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ทุ่มเทให้กับการรักษาผู้ป่วยโคโรนาไวรัส และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยระดับชาติเพื่อติดตามสุขภาพในระยะยาว พบว่า

เกือบร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และไม่ได้เข้าร่วมสังเกตอาการจะเสียชีวิตหรือมีอาการแย่ลง โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยหลายร้อยคนยังมีร่องรอยความเสียหายที่ ปอด โดยภาพเอ็กซ์เรย์ประมาณ 400 ชิ้นแสดงให้เห็นว่า เกือบครึ่งหนึ่งมี "ฝ้า" ในเนื้อเยื่อปอดซึ่งส่งผลให้หายใจไม่ออก ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูบางราย พบว่า ปอดมีความบกพร่องมากจนไม่สามารถหายใจได้ลึกพอที่จะทำการทดสอบสมรรถภาพปอด

ส่งผลต่อเซลล์ประสาท

นอกจากนั้น แล้วยังพบว่า  Sars-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโควิด19  สามารถบุกรุกเซลล์ประสาทและทำให้สมองเสียหายได้

“เกือบ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยยังคงมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในครึ่งปีต่อมา แม้ว่านักวิจัยจะยังไม่ฟันธงว่าเกิดจากความเสียหายของเซลล์ประสาทหรือบาดแผลทางใจจากโควิด-19 ที่พวกเขาเจอ ”

ผลพวงที่เกิดกับไตและการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอาการที่สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิจัย คือ 1 ใน 3 มีอาการไตทำงานผิดปกติ จุดนี้เองอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ปริมาณของเสียในร่างกายและในเลือดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับของแอนติบอดีลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่เป็นไปได้ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการป้องกันจากโรคต่างๆ ในอนาคต

“ ความเสี่ยงของการติดเชื้อซ้ำเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม” นักวิจัยกล่าวเสริม

ร้อยละ 35 ของผู้ป่วยมีสารเคมีในเลือดบ่งชี้ว่า ไตทำงานได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งที่ก่อนติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยไม่มีประวัติเรื่องไตมีปัญหา แต่หลังจากนั้นกลับมีอาการต่างๆ เช่น การสะสมของเสียในเลือด อาการบวมที่ใบหน้า ซึ่งการทำงานผิดปกติแบบนี้ อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ โดยการค้นพบนี้สะท้อนถึงการศึกษาก่อนหน้านี้ ของนักวิจัยในอู่ฮั่นที่พบว่า ไวรัสโคโรนาสามารถทำลายเนื้อเยื่อสืบพันธุ์ในอัณฑะได้

คงต้องติดตามดูว่าผลการวิจัยและศึกษา ผลพวงระยะยาวจากโควิด-19 จะมีอาการใดๆ ตามออกมาบ้าง แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วยคือการดูแลตัวเอง หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวหรือรักษาหายแล้ว ก็ยิ่งต้องดูแลตัวเองและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากขึ้น

เรียบเรียงจาก : south china morning post

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ