ชาวเมียนมาประกาศประท้วงจนกว่าจะชนะ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แม้ว่าเมื่อคืนนี้ทหารและตำรวจจะปิดล้อมพื้นที่หนึ่งในนครย่างกุ้ง เพื่อกวาดจับผู้ประท้วงหนุ่มสาวที่ออกมาเดินขบวนเมื่อวานนี้มีการใช้อาวุธยิงข่มขู่ประชาชนทั่วย่างกุ้งที่ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว จนกลายเป็นอีกคืนที่มีการคุกคามประชาชนอย่างรุนแรงที่สุดแต่วันนี้คนยังคงประท้วงต่อ

กองทัพเมียนมาเคลื่อนรถหุ้มเกราะคุมเมือง-ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต

เมียนมาประท้วงเดือด! ตร.ไล่ยิงผู้ชุมนุมกลางย่างกุ้ง - จับนักข่าวญี่ปุ่น

วันนี้ 9 มี.ค.ที่นครย่างกุ้ง ประชาชนยังคงลงถนนประท้วง เช่นเดียวกับทุกวัน พวกเขาสวมใส่หมวกกันน็อค และแว่นตาป้องกันแก๊สน้ำตารั้วแผงเหล็กถูกนำมาวางขวางกั้นเจ้าหน้าที่ก้อนหินถูกนำมาโปรย โปสเตอร์หน้านายพลมิน ออง หล่าย พร้อมกับข้อความว่าฆาตรกรถูกนำมาติดบนพื้นให้ผู้ชุมนุมเหยียบ และวันนี้มีการสลายการชุมนุมเหมือนเช่นทุกวัน

ที่เมืองโมญี่ณ รัฐคะฉิ่นเจ้าหน้าที่วิ่งไล่ยิงผู้ประท้วง จนพวกเขาพากันวิ่งกระเจิดกระเจิง มีรายงานว่า ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 2 รายได้รับบาดเจ็บ โดยหนึ่งรายได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง

ทำให้วันนี้ที่เมืองมยิจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น มีแม่ชีศาสนาคริสต์รายหนึ่งลงคุกเข่ากับพื้นต่อหน้าตำรวจ เพื่อขอร้องให้เจ้าหน้าที่หยุดใช้ความรุนแรงกับประชาชนและเด็ก ซึ่งตำรวจก็ได้นั่งลงคุกเข่า พร้อมกับพนมมือไว้ เพื่อรับฟังคำขอร้องของแม่ชีรายนี้

เมื่อวานในเมืองนี้ ตำรวจได้ไล่ยิงผู้ประท้วง และมี 2 รายถูกปืนยิงเข้าที่ศีรษะจนเสียชีวิต

เช่นเดียวกับที่เมืองลวายกอ เมืองหลวงรัฐกะยา เจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม โดยผู้ประท้วงพยายามยิงถังดับเพลิงเพื่อดับควันที่เกิดจากแก๊สน้ำตา

ขณะที่เมืองมะริด เขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของเมียนมา เมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุมประชาชนกว่าสิบคน ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ขึ้นรถบรรทุก

วันนี้ที่เมืองทวาย ผู้ประท้วงพร้อมใจออกมาชูป้ายประท้วงที่มีข้อความว่า Welcome R2P

R2P คืออะไร?

R2P คือ Responsibility to Protect หรือ หลักการความรับ ผิดชอบในการปกป้อง ที่ประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยจะต้องมีความรับผิดชอบในการปกป้องประชาชนภายในประเทศ ให้พ้นจากอาชญากรรมร้ายแรง 4 ประเภท 1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 2. อาชญากรรมสงคราม 3. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และ 4. การกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

โดยหลักการนี้ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติในปี 2005 เป็นหลักการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและส่งเสริมให้รัฐปกป้องคุ้มครองประชาชนของตัวเอง

แต่ถ้าในกรณีที่รัฐไม่สามารถปฏิบัติ หรือล้มเหลวในการปกป้องประชาชน องค์การระหว่างประเทศสามารถเข้าไปแทรกแซงได้

โดยการแทรกแซงทำโดยการออกคำเตือน การเป็นตัวกลางเจรจา และการคว่ำบาตร

แต่มาตรการขั้นสุดท้ายที่สำคัญของหลักการนี้ คืออำนาจในการใช้กำลังทางทหารเข้าแทรกแซง ซึ่งองค์กรมีอำนาจในการตัดสินใจคือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ป้ายประท้วง R2P ของของชาวเมียนมา จึงหมายถึง พวกเขาเรียกร้องสหประชาชาติใช้กำลังเข้าแทรกแซงเพื่อยุติการกวาดล้างของดองทัพเมียนมาร์เป็นไปได้หรือไม่น้อยมาก

มาตรการนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็น ซึ่งมีสมาชิกถาวร 2 ชาติคือ จีนและรัสเซียคัดค้านหรือวีโต้อย่างแน่นอนเพราะหลังการยึดอำนาจ แค่เพียงการออกแถลงการณ์ประณามกองทัพ ยังถูกจีนและรัสเซียใช้อำนาจยับยั้ง

ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็นเคยใช้อำนาจนี้ มีมติให้แทรกแซงทางทหารในสงครามการเมืองลิเบียในปี 2011แต่โอกาสที่จะใช้กับเมียนมาน้อยมาก

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ