เรือขนส่งขนาดยักษ์ Ever Given ใหญ่กว่าไททานิค สูงกว่าหอไอเฟล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เรือขนส่งขนาดยักษ์ Ever Given ใหญ่กว่าไททานิค สูงกว่าหอไอเฟล กับภาพดาวเทียมเรือขนส่งลอยลำรอผ่านคลองสุเอซ ด้านอดีตกัปตันเรือ แนะวิธีที่พอจะเป็นไปได้

หลายคนคงได้ทราบข่าว เรือขนส่งขนาดยักษ์ Ever Given โดนพายุทะเลทรายพลัดจนกระทั่งลอยลำขวางคลองสุเอซ คลองที่มีความสำคัญทางการค้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ในละชั่วโมงที่เรือขวางคลองอยู่นั่นสร้างความเสียหายชั่วโมงละกว่า 12,000 ล้านบาท (400 ล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมง)  มีเรือกว่า 300 ลำที่รอการกู้เรือเพื่อขนส่งสินค้าผ่านคลอง ขณะที่บางรายยอมอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทางแอฟริกา แม้ว่าจะทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้าอออกไปเป็นเกือบสิบวันก็ตาม

นายกฯ จับตาปัญหาเรือเกยคลองสุเอซ ไทยไม่กระทบระยะยาว

ปรับแผนขนส่งสินค้า เหตุ "เรือขวางคลองสุเอซ" กระทบส่งออกไทยไปอียิปต์

ขณะที่ ความมหึมาของเรือลำนี้ที่ขวางคลองสุเอซก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถกู้สถานการณ์ได้ แม้ว่าทั้งสหรัฐและนิวซีแลนด์ จะระดมสมองผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

เรามาทำความรู้จัก เรือ Ever Given กันดีกว่าว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เริ่มกันที่ “ขนาดของเรือ”

รู้จัก "ขนส่งคลองสุเอซ" ถูกเรือยักษ์ขวางเสียหาย 400 ล้านดอลลาร์/ชม.

2 วันยังไม่หลุด ภาพกู้เรือยักษ์ยาว 400 ม.ขวางคลองสุเอซ

เรือ Ever Given มีความยาว 400 เมตร หรือเท่ากับสนามฟุตบอล 4 สนามมาต่อกัน ยาวกว่าเรือไททานิค ราวๆ 1.5 เท่า ส่วน ความกว้าง 59 เมตร สามารถบรรทุกสินค้าได้ถึง 219,079 ตัน ซึ่งถ้าจับเรือตั้งขึ้น จะมีขนาดสูงกว่าหอไอเฟล ( สูง 342 เมตร ) ถึง 100 เมตร สามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 20,000 ตู้

เจ้าของคือใคร

นายยูคิโตะ ฮิงากิ ประธานบริษัท โชอิ ไคเซน ไคชา ของญี่ปุ่น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทโชอิ ไคเซน ไคชา จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเรือดังกล่าว หลังหารือกับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง

โดยเรือลำนี้ถูกเช่าโดย เอเวอร์กรีน มารีน (Evergreen Marine Corporation) บริษัทสัญชาติไต้หวัน ซึ่งทำธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ ก่อตั้งโดย Yung-Fa Chang ส่วนการดูแลเรือโดยบริษัท Bernhard Schulte Shipmanagement (BSM)

หนึ่งในบริษัทขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ปัจจุบัน เอเวอร์กรีน มารีน มีมูลค่าบริษัทอยู่ประมาณ 236,000 ล้านบาท มีเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่กว่า 170 ลำ ให้บริการคลอบคลุม 240 ท่าเรือใน 80 ประเทศทั่วโลก

ด้าน อดีตกัปตันเรือท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Seksit Pratoomsri ในฐานะเคยเป็นกัปตันเรือคอนเทนเนอร์ (Container) มานาน ระบุจากประสบการณ์ที่น่าจะเป็นวิธีที่หลายฝ่ายกำลังเร่งทำ คือ

1. ขุดทรายที่หัวเรือออก ด้วยรถขุดหรืออื่นๆ ก็ต้องขุดทรายออกถึง 20,000 คิวบิกเมตร และลึกถึง 16 ม. Bow Bulbous เรือถึงจะหลุด เพราะด้วยโมเมนตัมของเรือ + ความเร็วของเรือ + แรงลม หัวเรือน่าจะเสียบเข้าไปที่ชายฝั่งลึกและแรงพอสมควรเลยทีเดียวครับ

2. ใช้เรือ Tug ช่วยดึง ให้พ้นที่ตื้น ดึงให้ตาย ก็ไม่น่าออกครับ ด้วยน้ำหนักเรือ + หัวเรือที่เสียบเข้าไปในทราย คงไม่น่ามี tug ที่มีแรงพอทีจะดึงออกได้

3. ใช้เรือดูดทรายใต้ท้องเรือออก ก็น่าจะพอช่วยได้บ้าง แต่ก็ต้องดูดไปทิ้งไกลๆ เดี๋ยวทิ้งไว้แถวๆ นั้นมีติดตื้นซ้ำสอง

4. ปั้มน้ำกับน้ำมันออกบ้าง ลดน้ำหนัก แต่ก็ต้องคำนวน ship stability ดีๆ เพราะว่าน้ำกับน้ำมันมันอยู่ด้านล่างของเรือ ไปปั้มเขาออก GM ของเรืออาจเสีย จากน้ำหนักตู้สินค้าที่หนักๆ อยู่ด้านบนได้ เรืออาจจะพลิกคว่ำได้

5. มุกสุดท้าย ขนเอาสินค้าลงจากเรือบ้าง เพื่อให้เรือเบาขึ้น แต่ดูจากสิ่งแวดล้อมแถวนั้น จะเอาขึ้นทางบก น่าจะยากๆ หน่อย เพราะมีแต่ทราย จะไปตั้งเครน เอารถหัวลากเข้าไป น่าจะลำบาก อีกทางก็ discharge เอาลงเรือ Barge หรือทำ ship to ship ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ก็กว่าจะเอาสินค้าลงจนเรือลอยได้ น่าจะอีกหลายวัน

6. อีกทางที่ผมคิดเอง ใช้ tug ดึงและดันท้ายเรือ ให้เรือมันขนานกับฝั่งด้านหนึ่ง แล้วเปิดการจราจรให้เรือขนาดเล็กๆ หน่อย ผ่านไปเลยครับ อย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรืออาจจะลองเอาถุงลมใหญ่ๆ ไปลอดใต้ท้องเรือแล้วปั้มลมเข้าไป ก็อาจจะช่วยเพิ่มแรงพยุงของเรือให้ลอยขึ้นได้อีกทางหนึ่ง แต่จะไปหาถุงลมขนาดนั้นได้ที่ไหน ?

7. และสุดท้าย ผมเคยใช้วิธีนี้ตอนเรือติดตื้นที่ท่าเรือสงขลาครับ “บนเสด็จเตี่ยด้วยประทัด 500 ดอก” ขอให้หลุดจากที่ตื้นครับ พูดแล้วขนลุก ได้ผลครับ !!! แต่แถวสุเอซไม่น่าจะรู้จักเสด็จเตี่ยของเรา

พร้อมกับทิ้งท้ายว่า

“ผมว่าตอนนี้ เขาคงทำทุกวิถีทางยกเว้นข้อ 6 กับ 7 แหละครับ ยังไงผมก็เอาใจช่วยนะครับ ขอให้ Ever Given กลับมาลอยได้อีกครั้งเร็วๆ ผมหล่ะเป็นห่วง Evergreen Line จริงๆ เกิดมีการฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทน แล้วคนฟ้องชนะขึ้นมา ประกันภัยทางทะเลในเรื่องของ P&I ที่ดูแลบุคคลที่ 3 น่าจะอ่วมแหละครับ เพราะน่าจะเกินความรับผิดของเจ้าของเรือในส่วน Owner Liability แน่ๆ เป็นเหตุการณ์ที่ต้องบันทึกไว้ในฐานะคนประจำเรือคนหนึ่งครับ”

ภาพ AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ