สุทธิชัย หยุ่น : ทดสอบ "น้ำยา" อาเซียน ต่อวิกฤตเมียนมา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"สุทธิชัย หยุ่น" มองไปที่จาการ์ตา บนเวทีผู้นำอาเซียน วิเคราะห์ มองลึก การประชุมครั้งแรกหลังวิกฤตเมียนมา ชี้บทบาทที่ "ไทย" คือตัวละครสำคัญ

"สุทธิชัย หยุ่น" วิเคราะห์ มองลึก จับตาการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งแรกหลังวิกฤตเมียนมา

จับตาประชุมอาเซียน "มิน อ่อง หล่าย" บินตรงร่วมเจรจา

รบ. มอบเงินสภากาชาดไทย 5 ล้านบาท ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวเมียนมา

"สุทธิชัย หยุ่น" บอก วันนี้ทดสอบ "น้ำยา" อาเซียน ต่อวิกฤตเมียนมา จับจากการประชุมสุดยอดผู้นำ 10 ประเทศ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อย่างใกล้ชิด กับการประชุมนัดพิเศษ 

เสียดายที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ไปเอง แต่ส่ง "ดอน ปรมัตวินัย" รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นตัวแทน 

นี่เป็นงานใหญ่ นัดประชุมผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ครั้งแรกหลังวิกฤตเมียนมา ภายใต้วาระที่ตั้งไว้ ประเด็นภูมิภาค แต่จริงๆแล้วการประชุมในครั้งนี้ มีวาระเดียวคือวิกฤตในเมียนมา  

การประชุมครั้งนี้ เกิดดราม่าหนักเมื่อ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐประหารเมียนมา ได้รับเชิญและเดินทางไปร่วมประชุม

เขาไปในนามของเมียนมา  เท่ากับว่า งานนี้ ผู้นำจาก 9 ประเทศอาเซียน จะได้พบกับตัวแทน ประหารเมียนมา จะเรียกว่าผู้นำเมียนมาหรือไมา ไม่แน่ใจ แต่การได้รับเชิญ นั่นหมายถึงเข้าได้การรับรองจาก 9 ผู้นำอาเซียน 

ทำให้ฝ่ายอองซาน ซูจี ฝ่ายผู้เอกภาพแห่งชาติเมียนมา ที่เพิ่งตั้งขึ้น ฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร รัฐบาลคู่ขนานและชี้ว่าอาเซียนทำเช่นนี้ไม่ได้ เหตุใดไม่เชิญผู้นำรัฐบาลแห่งชาติ หรือ NUG จึงกลายเป็นเรื่องร้อนพอสมควร

เชื่อว่าเหล่าผู้นำอาเซียนที่พบปะครั้งนี้จะมีทางออก

ทั้งโลกกำลังจับจ้องมาที่อาเซียน อาเซียนจะมีน้ำยาแก้ปัญหาเมียนมาได้หรือไม่ ความเป็นอาเซียนศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นเสือกระดาษหรือเปล่า

เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำให้ฝ่ายของพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย กับฝ่าย อองซาน ซูจี ปรึกษาหารือกัน ยังมีฝ่ายชาติพันธุ์ติดอาวุธ ฝ่ายต่อต้านที่เรียกตัวเองอารยะขัดขืน

ที่ผ่านมามีคำเรียกร้องจากสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือจากประธานอาเซียน หรือจาก 2-3 ประเทศที่แถลงร่วมกัน อยากให้ 1.ยุติความรุนแรง ยุติการใช้อาวุธกับผู้ประท้วง 2.ให้หันหน้ามาหาทางออกที่สันติและมีเสถียรภาพ

ดังนั้น อาเซียนกำลังถูกจับจ้อง เพราะเป็นกลไกของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

จีน ก็เชียร์ให้อาเซียน เพระาไม่อยากให้อเมริกาเข้ามามีบทบาทมากเกินไป

หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน พูดว่า อยากให้ผู้นำอาเซียน หาซอฟท์แลนดิ้งให้เมียนมา

ซอฟท์ แลนดิ้ง คือการร่อนลงอย่างนิ่มๆ ซึ่งไม่ง่าย

ในภาวะนี้เมียนมา คือเครื่องบินที่กำลังร่อนลง ติดไฟ หนีอุบัติเหตุ ถ้าไม่รีบลงก็อาจเกิดระเบิด ถ้ารีบลงอาจมีฮาร์ดแลนดิ้ง กระแทกพื้นเสียหาย ตายหมดทั้งลำ สิ่งที่จีนต้องการคือ ค่อยๆร่อนลง อย่ากระแทกพื้นแรงนัก

ดังนั้นวันนี้แถลงการของผู้นำอาเซียน ก็ไม่ได้แปลกใจออะไร กว้างๆ มีการตกปากรับคำว่าความรุนแรงจะค่อยๆเบาลง

การหาทางลงที่นิ่มนวลไม่ใช่โจทย์ง่ายของอาเซียน

พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ไปร่วมเพราะติดภารกิจโควิด-19 แต่ในแถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศ มีถ้อยคำที่ค่อนข้างมีความหมาย "ประเทศไทย อยากจะเห็น การแก้ปัญหาเมียนมา พยายามทำเป็นขั้นเป็นตอน ให้ทุกฝ่ายในเมียนมาหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้มีรัฐบาลที่มีความสมัครสมานสามัคคี"

คาดหวังจากอาเซียนมาเท่าไหร่ คาดหวังจากไทยมากเท่านั้น!!

ท้ายที่สุดประเทศที่ใกล้ชิด เข้าใจ เชื่อมโยงกับเมียนมามากที่สุดในทุกมิติ ทุกฝ่าย คือไทย

ไทยจึงควรมีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อม เป็นคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

เวทีผู้นำอาเซียนครั้งนี้เพียงจุดเริ่มต้น บทบาทลึกๆยังเป็นของไทย

ดังนั้นไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาเพื่อนบ้านออกจากมุมมืด ที่หลายคนเกรงเป็นซีเรีย เป็นรัฐล้มเหลว อาจกลายเป็นประเทศล่มสลาย แตกสลายเป็นกลุ่มก้อน

เราไม่ต้องการเห็นภาพนั้นแน่นอน

ถ้าเพื่อนบ้านเราไม่สุขสบาย เพื่อนบ้านเป็นทุกข์ เราก็ทุกข์ด้วย

ไฟไหม้ข้างบ้าน ลามมาในบ้านเรา เราอยู่เฉยๆไม่ได้

เรามีผลประโยชน์ร่วมกันกับเมียนมา มากมายมหาศาล

ดังนั้นหลังการประชุมผู้นำอาเซียนที่จาการ์ตา เชื่อว่าไทยเราต้องรับลูกมา จะเป็นทางการหรือไม่ จะเป็นข่าวหรือไม่ ไม่สำคัญ

แต่ไทยจะเป็นตัวละครสำคัญที่สุดในวิกฤตครั้งนี้

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ