อินเดียพบผู้ป่วย “เชื้อราดื้อยา” หลังฟื้นตัวจากโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ระลอกสองของอินเดียที่ค่อยๆ ดีขึ้น ชาวอินเดียที่ติดเชื้อหรือเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ต้องกังวลว่าตัวเองจะติดเชื้อราหรือไม่ก่อนหน้านี้อินเดียรายงานการพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อราดำ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่พบได้ยากที่ทำลายระบบทางเดินหายใจ การมองเห็น และสมอง นอกจากเชื้อราดำแล้ว มีรายงานว่า ผู้ที่หายป่วยจากโควิดบางรายติดเชื้อราอีก 2 ตัว คือ ราขาวและราเหลืองวิธีการรักษาผู้ติดเชื้อราก็การใช้ยา แต่ล่าสุดมีปัญหาตามมา เพราะมีรายงานว่า เชื้อราดื้อยา โดยเฉพาะเชื้อราขาวที่มีอัตราการเสียชีวิต

วานนี้ 1 มิ.ย. มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโควิดรายหนึ่งในเมืองโกลกัลตา เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องรักษาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของปอด

รักษาจนหายจากโควิดแล้ว แต่ปรากฏว่า ชายคนนี้ติดเชื้อราต่อ ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงเพราะยาไปกดเมื่อแพทย์ให้ยาฆ่าเชื้อราตามขั้นตอน ปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นเชื้อราที่ดื้อยา

ตกลงห้างไหน! ประชาชนตื่น ศบค.เปิดคลัสเตอร์ใหม่ ห้างเขตลาดพร้าว เซ็นทรัลแจงไม่ใช่จุดแพร่ระบาดโควิด

คิกออฟฉีดวัคซีน 7 มิ.ย.สัปดาห์นี้กระจายวัคซีนโควิด 2 ล้านโดสทุกจังหวัด

เชื้อราดื้อยาคืออะไร? และทำไมมันถึงน่ากังวล?

เชื้อราดื้อยาเรียกอีกชื่อว่า Superbug ตัวที่พบในผู้ป่วยอินเดียรายนี้มีชื่อว่า แคนดิดา ออริส (Candida Auris) เป็นเชื้อราที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เป็นตัวที่บรรดาบุคลากรทางการแพทย์กังวลมากที่สุดตัวหนึ่ง พบบ่อยที่สุดในแผนกไอซียูทั่วโลก ค่อนข้างอันตราย โดยมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ 70

อาการของการติดเชื้อราตัวนี้คือ มีไอและหายใจติดขัด มีคราบขาวในช่องปาก จมูก ปอด ท้อง เนื้อใต้เล็บ บางครั้งทำให้มีการติดเชื้อในกระแสเลือด

เชื้อราแคนดิดา ออริส ถูกเรียกว่าเชื้อราดื้อยา เพราะมันต่อต้านยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อราทั่วไป อย่างเช่น ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)

ไฟเซอร์ ยัน ไม่เคยตั้งเอกชนเป็นตัวแทนนำวัคซีนเข้าไทย

รวมถึงยาอีชิโนแคนดินส์ (Echinocandins) ยาที่ถูกพัฒนาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อราดื้อยาโดยเฉพาะการรักษาผู้ที่ติดเชื้อราชนิดนี้จึงยากมาก โอกาสเสียชีวิตสูง

แม้ตอนนี้อินเดียยังไม่เปิดเผยจำนวนชาวอินเดียติดเชื้อราดื้อยาทั้งหมด แต่หลายฝ่ายแสดงความกังวลเป็นพิเศษเพราะการติดเชื้อราดื้อยานั้นสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว และผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการพักฟื้น

ตรวจโควิด-19 คนเร่ร่อนไม่ได้ เหตุไม่มีบัตรปชช.

สาเหตุของการติดเชื้อราดื้อยาคืออะไร

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิดที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานๆ ใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสัมผัสกับความชื้น หรือห้องไอซียูไม่ถูกสุขอนามัย

อีกปัจจัยสำคัญคือ ได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ที่มากเกินไป แพทย์มักใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก เพื่อลดการอักเสบของปอดได้ แต่จะไปทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วหรือมีอาการติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อราดื้อยามากขึ้น

อินเดียมีจำนวนผู้ติดเชื้อราและเชื้อราดื้อยาเนื่องจากการใช้ยาสเตียรอยด์มากเกินไปรักษาผู้ป่วยโควิด-19

นอกจากนี้ยังมีบางคนไปซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เมื่อเกิดการใช้ยาสเตรียรอยด์ไม่เหมาะสมและพร่ำเพรื่อคือเหตุผลที่ทำให้เกิดการดื้อยา ที่ขณะนี้กำลังเป็นปัญหาที่ท้าทายสาธารณสุขของอินเดีย

สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ทั่วไปของอินเดีย ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อลดลง จากเดิมที่เคยมี 4 แสนต่อวัน เมื่อวานนี้ลดลงเหลือ 133,000 คน

ตอนนี้จึงเร่งปูพรมฉีดวัคซีนตอนนี้มีคน 167 ล้านคน หรือร้อยละ 12 ของประชากร 1,400 ล้านคนได้รับการฉีดวัคซีนโดสแรกแล้วและมี 43 ล้านคน หรือร้อยละ 2 ของประชากรที่ได้ฉีดวัคซีนครบสองโดสที่ทำได้ช้าเพราะขาดแคลนวัคซีน

ล่าสุดรัฐบาลอินเดียประกาศแล้วว่า กำลังเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีน โดยระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม จะผลิตวัคซีนให้ได้ 2 พันล้านโดส

หากทำได้ตามเป้า ก็จะมีวัคซีนเพียงพอสำหรับประชากรผู้ใหญ่ทุกคนในประเทศที่มีอยู่ 900-950 ล้านคน

อินเดียมียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 28 ล้าน 3 แสนราย เสียชีวิตแล้วกว่า 335,000 ราย

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ