“ตาลีบัน” รุกคืบ 3 เมืองหลักอัฟกานิสถาน หลังยึดพื้นที่ได้ครึ่งประเทศ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การตัดสินใจถอนกำลังทหารของสหรัฐและพันธมิตร ออกจากอัฟกานิสถาน หลังจากประจำการอยู่เกือบ 20 ปี คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประเทศนี้ เนื่องจากกลุ่มตาลีบัน ซึ่งเคยปกครองอัฟกานิสถานด้วยความเข้มงวด สุดโต่ง อาจกลับคืนสู่อำนาจได้อีกครั้ง ล่าสุดยึดพื้นที่ได้ครึ่งประเทศแล้ว และกำลังรุกคืบเข้าสู่ 3 เมืองหลัก

ไบเดนสั่งถอนกำลังทหารในอัฟกานิสถาน หวังยุติสงครามที่ยาวนาน 20 ปี

มิ้นท์ I Roam Alone ดราม่าที่เธอต้องเจอทั้งโลกจริงและโลกออนไลน์

เมื่อสหรัฐฯ จากไป อัฟกานิสถานอาจจมดิ่งสู่ความวุ่นวาย  

ตาลีบันซึ่งหลุดจากอำนาจไปนับตั้งแต่สหรัฐฯ ส่งทหารเข้ามาในอัฟกานิสถานตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายน ปี 2001 ตอนนี้กำลังรุกคืบยึดคืนพื้นที่ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปราศจากกองกำลังสหรัฐและพันธมิตร ตัวหลักที่ต้านทานการรุกคืบของตาลีบัน คือ กองกำลังของรัฐบาลอัฟกานิสถานที่ได้รับการฝึกฝนจากสหรัฐฯ

การสู้รบระหว่างกองกำลังอัฟกานิสถานและตาลีบันเกิดขึ้นอย่างดุเดือดในหลายเมือง ล่าสุดกลุ่มตาลีบันยึดพื้นที่ได้ครึ่งประเทศแล้ว และกำลังรุกคืบเข้าสู่เมืองหลัก

ด้านอัชราฟ กานี ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ออกมากล่าวโทษสหรัฐฯ ที่ถอนกำลังทหารรวดเร็วเกินไปและสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่

 

ที่ เฮรัต เมืองทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังไม่อยู่ในความยึดครองของตาลีบัน ขณะที่เมืองรอบ ๆ ถูกยึดเกือบหมดแล้ว ที่นี่มีกองกำลังรัฐบาลอัฟกานิสถานตรึงอยู่ ติดอาวุธพร้อมรบตลอดเวลา

ทหารอัฟกันหลายนายที่ประจำการที่นี่ เปิดเผยว่า การรับมือการการรุกของตาลีบันไม่ง่าย นอกเหนือจากทักษะการรบและความพร้อมเรื่องอาวุธแล้ว ตาลีบันยังมีความสามารถในการแฝงตัว และพวกเขาเชื่อว่า ขณะนี้มีสมาชิกตาลีบันแทรกซึมเข้ามาปะปนกับประชาชนในเมืองนี้แล้ว

แผนที่จากเว็บไซต์ Long War Journal เผยให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ล่าสุด โดยกำหนดให้สีแดงเป็นพื้นที่ที่ตาลีบันยึดครองได้ สีส้มคือพื้นที่ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการสู้รบ ส่วนสีเทาคือพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุม จากภาพจะเห็นว่าตาลีบันยึดครองดินแดนมากกว่าครึ่งประเทศแล้ว โดยรายงานระบุว่า อัฟกานิสถานมีทั้งหมด 407 เขต แต่ขณะนี้ตาลีบันยึดไปแล้ว 223 เขต อีก 116 เขตอยู่ระหว่างการสู้รบ และมีเพียง 68 เขตเท่านั้นที่รัฐบาลควบคุมพื้นที่ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกรุงคาบูลเมืองหลวง

นอกจากเมืองเฮรัต ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดอันดับ 3 ของประเทศแล้ว ก็มี

- เมืองลัชคาร์กาห์ เมืองเอกของจังหวัดเฮลมันด์ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ

- และเมืองกันดาฮาร์ เมืองเอกของจังหวัดกันอาฮาร์ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเช่นกัน โดยเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 รองจากกรุงคาบูล

ที่เมืองเฮรัต ข่าวการรุกคืบของกลุ่มตาลีบันกำลังทำให้ผู้คนหวาดกลัว  แม้ผู้คนจะยังคงออกมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ลึกลงไปในจิตใจ หลายคนเล่าว่า รู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะบรรดาผู้หญิง ซึ่งหวาดกลัวตาลีบันมากเป็นพิเศษ รายงานจากหนึ่งในนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีของเมืองเล่าว่า ทุกวันนี้ผู้หญิงหลายคนเลือกไม่ออกไปทำงาน เพราะไม่อาจทราบได้ว่าตาลีบันจะบุกมาเมื่อไหร่

 

"ตาลีบัน" คือใคร? ทำไมจึงกลับมาผงาดอีกครั้ง?

กลุ่ม ตาลีบัน คือ ผลผลิตของเหตุการณ์ใหญ่ของโลก 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในปี 1979 เหตุการณ์แรกคือ ปฏิวัติอิสลาม ในปีนั้น อายาตุลลอฮ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี นำขบวนการปฏิวัติของประชาชนและนักศึกษาล้มล้างการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่นำโดย พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ เปลี่ยนอิหร่านให้กลายมาเป็นสาธารณรัฐอิสลาม การปฏิวัติในคราวนั้นส่งแรงกระเพื่อม พลิกโฉมหน้าการเมืองในตะวันออกกลางมาจนถึงทุกวันนี้

หนึ่งในประเทศที่รับแรงกระเพื่อมคือ ซาอุดิอาระเบีย ที่ภายหลังเริ่มหวาดระแวงต่อการส่งออกแนวคิดปฏิวัติอิสลามและเข้าสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของอิหร่าน หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำคือ การพาซาอุดิอารเบียเข้าสู่หลักของนิกายสุหนี่แบบวะฮาบีย์ ซึ่งมีการปฏิบัติและข้อห้ามที่เคร่งครัด

ซาอุดิอารเบียเผยแพร่แนวคิดสุหนี่แบบวะฮาบีย์ออกไปในหลายประเทศ หนึ่งในนั่นคือ ปากีสถาน เงินจากความรุ่งเรืองของการค้าน้ำมันของซาอุดิอารเบียถูกเทไปที่นั่น

ในปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตต้องการขยายขอบเขตของลัทธิคอมนิวนิสต์ ส่งกำลังเข้าอัฟกานิสถาน  สหรัฐฯที่นำโดยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ เข้าหนุนปากีสถานเพื่อใช้เป็นกำแพงสกัดการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์  งบประมาณจำนวนมหาศาลจากทั้งซาอุดิอารเบียและสหรัฐถูกเทไปที่นั่น พร้อม ๆ กับปฏิบัติการลับของ ซีไอเอ ในการฝึกนักรบมูจาฮิดีนเพื่อสกัดสหภาพโซเวียต

โควิดวันนี้!! ติดเชื้อ 20,200 ราย เสียชีวิต 188 คน อีก 4,910 โคม่า 'ชลบุรี ' วันเดียวพุ่ง 1,678 คน...

ปี 1989 หลัง 10 ปีของการสู้รบ สหภาพโซเวียตตัดสินใจถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน บรรดากลุ่มมูจาฮิดีน ที่ต่อต้านโซเวียตกลับก่อสงครามกลางเมืองขึ้นแย่งชิงอำนาจในการปกครองประเทศกันเอง  ตาลีบัน จึงถือกำเนิดขึ้นในช่วงนั้น  ด้วยความพร้อมด้านอาวุธ กำลังพล และการสนับสนุนจากปากีสถาน ปี 1996 ตาลีบัน สามารถยึดกรุงคาบูลและจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ภายใต้การปกครองของตาลีบัน แนวคิดเคร่งศาสนาแบบสุดขั้วถูกนำมาใช้ วัฒนธรรมแบบตะวันตกถูกห้าม ตามท้องถนนมีตำรวจศาสนาคอยตรวจตรา

มีไม่กี่ประเทศในโลกที่ยอมรับรัฐบาลตาลีบัน แต่ตาลีบันก็ครองอำนาจอยู่ได้ จนกระทั่งมาถึงอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญคือเหตุวินาศกรรม 9/11  สหรัฐฯร้องขอให้ปากีสถานและตาลีบันส่งอุซามะห์ บินลาเดน ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุวินาศกรรม ที่มีฐานปฏิบัติการในอัฟกานิสถานให้ เมื่อถูกปฏิเสธ สหรัฐฯ และพันธมัตรตัดสินใจส่งกำลังเข้าอัฟกานิสถาน รัฐบาลตาลีบันถูกโค่นเปลี่ยนสถานะมาเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ทหารสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานต้องรับมือกับการโจมตีจากตาลีบัน เคียงคู่ไปกับความพยายามตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการเลือกตั้ง หลายปีผ่านไป การสู้รบยังคงไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้น สหรัฐฯ ไม่อาจเอาชนะตาลีบันได้อย่างแท้จริง แม้ในช่วงที่ส่งทหารไปมากที่สุดถึง 100,000 นาย ในปี 2011 ที่ผ่านมาระเบิด เครื่องบินรบ และกองกำลังทหารคร่าชีวิตประชาชนชาวอัฟกันไป 111,000 คน ไม่ว่าพวกเขาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ เองก็สูญเสียทหารไปราว 2,400 คน จากการต่อสู้

 

หลายปีผ่านไปเมื่อไม่มีหนทางที่จะชนะ ทั้งสองฝ่ายเริ่มมองหาข้อตกลงหยุดยิง แนวคิดยุติสงครามในอัฟกานิสถานมีมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลบารัก โอบามา แต่เพิ่งเป็นรูปเป็นร่างในสมัยรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเน้นว่าพอกันทีกับการละลายงบประมาณและกำลังพลไปกับสงครามที่ไม่มีวันจบ กระบวนการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มตาลิบันเริ่มต้นขึ้นในสมัยทรัมป์ มีการเจรจาบ่อยครั้ง จนนำมาสู่ข้อสรุปของการถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมปี 2021

ตาลีบันซึ่งห่างหายไปจากพื้นที่สื่อมานาน เริ่มกลับมาเรืองอำนาจขึ้นอีกครั้งหลังกระบวนการถอนทหารต่างชาติออกจากอัฟกานิสถานเริ่มต้น

ภายใต้ข้อตกลงทั้งสหรัฐฯ และทหารต่างชาติทั้งหมดจะต้องถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานภายในวันที่ 11 กันยายนนี้ แลกกับการที่ตาลีบันให้คำมั่นว่าจะไม่ให้เครือข่ายกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ เติบโตขึ้นบนแผ่นดินอัฟกานิสถาน  กระบวนการถอนตัวเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งในตอนนั้นสถานการณ์ยังไม่วุ่นวาย แต่แล้วเมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน กลุ่มตาลีบันก็เริ่มยึดคืนพื้นที่เพิ่มขึ้น เคียงคู่กับการทยอยถอนทหารสหรัฐฯ

กต.ยันลาวไม่ได้ฉีดวัคซีนให้ 7 คนไทย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากฐานทัพบากรัม ฐานทัพสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดในอัฟกานิสถาน ปรากฏเป็นภาพฐานทัพที่โล่งที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน จวบจนวันนี้ คาดกันว่าสหรัฐฯ ถอนทหารออกไปแล้วร้อยละ 90 คงเหลืออีกแค่ราว 650 นายเท่านั้น ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานทูต และคาดกันว่าจะถอนเสร็จสิ้นในวันที่ 31 สิงหาคมที่จะถึงนี้

สหรัฐฯ คาดหวังว่า หากทำตามข้อตกลงที่ตาลีบันต้องการ คือถอนทหารต่างชาติออกไปทั้งหมดแล้ว อาจปูทางไปสู่การเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างกลุ่มตาลีบันและกองกำลังอัฟกัน  หรือหากไม่เป็นเช่นนั้น พวกเขาก็เชื่อว่าทหารอัฟกันมีศักยภาพและเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจากทหารต่างชาติ เพียงพอที่จะรับมือกับกลุ่มตาลีบัน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะความรุนแรงกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตาลีบันขยายขอบเขตการโจมตีกว้างขึ้น ขณะเดียวกันก็มีรายงานทหารอัฟกันหนีทัพข้ามชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การผงาดขึ้นอีกครั้งของกลุ่มตาลีบันสร้างความประหลาดใจ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเอง เพราะในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ กลุ่มตาลีบันก็สามารถยึดคืนพื้นที่ได้ค่อนประเทศ

นักวิเคราะห์มองว่า ปัญหาคอร์รัปชันส่งผลให้กองทัพอัฟกานิสถานอ่อนแอ โดยเฉพาะกับเมืองห่างไกล ส่งผลให้ถูกตาลีบันยึดครองได้ง่าย

อินเดียวิจัยวัคซีนโควิด-19 “โควาซิน” พบต้านเดลตา-เดลตาพลัสได้

ผู้นำอัฟกานิสถาน โทษสหรัฐฯ ถอนกำลังเร็วเกินไป

ล่าสุดท่ามกลางการผงาดขึ้นครั้งใหม่ของกลุ่มตาลีบัน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ผู้นำอัฟกานิสถานออกมากล่าวโทษสหรัฐฯ ที่ถอนกำลังเร็วเกินไป จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอัฟกานิสถาน

โดยระบุว่า ตัวเขาเตือนสหรัฐฯ แล้วว่าจะเกิดผลเช่นนี้ และขณะนี้การตัดสินใจของสหรัฐฯ กำลังทำให้อัฟกานิสถานตกที่นั่งลำบาก

ในวันเดียวกันทางสหรัฐฯ ก็ออกแถลง โดยเน็ด ไพรซ์ โฆษกรัฐบาลสหรัฐฯ รายงานความคืบหน้าของสถานการณ์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า ตาลีบันบุกเข้าไปยังเมืองลัชคาการ์ เมืองเอกของจังหวัดเฮลมันด์ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และได้ยึดอาคารรัฐบาลท้องถิ่นไว้ พร้อมฉายภาพรวมว่า ตาลีบันยึดเมืองที่อยู่ตามชนบทได้ แต่สำหรับเมืองใหญ่ที่ทีทหารอัฟกันตั้งกองกำลังไว้ บรรดากลุ่มตาลีบันยังไม่สามารถยึดได้

และในวันเดียวกัน แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงเกี่ยวกับโครงการผู้ลี้ภัยสำหรับชาวอัฟกัน ระบุว่า ทางรัฐบาลที่นำโดยโจ ไบเดน มีแผนจะขยายคุณสมบัติการรับผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้น เนื่องจากเห็นว่าตาลีบันกำลังขยายความรุนแรง

โดยความเปลี่ยนแปลงนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวอัฟกันที่ไม่ผ่านเกณฑ์จะลี้ภัย แต่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากตาลีบัน และควรได้รับความช่วยเหลือ เช่น บรรดาชาวอัฟกันที่ทำงานให้กับโครงการต่างๆ ของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน รวมถึงองค์กรเอกชนต่างๆ ซึ่งคาดกันว่าการกำหนดคุณสมบัติใหม่จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันในสหรัฐฯ อีกหลายพันราย

และหากย้อนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งจะอนุมัติงบฉุกเฉินมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,200 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากอัฟกัน

มิ้นท์ I Roam Alone ดราม่าที่เธอต้องเจอทั้งโลกจริงและโลกออนไลน์

โปรแกรมถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2020 วันนี้ ประจำวันพุธที่ 4 ส.ค. 2564

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ